ยุทธศาสตร์สู่ AEC ตอนที่ 99 เปเปอร์ VS กระเบื้อง

0
548

พลันที่ปานามาเปเปอร์หลุดออกมาสู่สายตาของโลก ประเทศทั้งหลายก็มีปฏิกริยาตอบสนองแตกต่างกันออกไป ประเทศที่พัฒนาแล้วเห็นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่มาก ประเทศกำลังพัฒนาบอกเรื่องนี้ต้องหาข้อเท็จจริง ประเทศเผด็จการบางประเทศ บอกเรื่องนี้ไร้สาระ

ขณะที่ในประเทศพัฒนาแล้ว คนระดับนายกฯต้องลาออก บางคนโดนซักฟอกในสภา อีกหลายคนกำลังโดนขุด คุ้ยอย่างหนัก แต่ในประเทศไทยของเรา คนที่มีรายชื่ออยู่ในปานามาเปเปอร์บางคนกลายเป็นทองไปแล้ว เพราะ “ทองไม่รู้ร้อน” ไม่ปฏิเสธไม่ต้องแก้ข่าว ฉันจะมีชื่ออยู่ที่ไหนจะไปทำอะไรก็เรื่องของฉัน ใครจะทำไม บางคนก็ ออกมาแก้ต่างว่าไม่รู้ว่าชื่อตัวเองไปอยู่ได้อย่างไร บางคนก็บอกว่าอ่านเอกสารกันดีหรือยัง เขาเขียนเอาไว้ด้วยนะ ว่าคนที่มีชื่อไม่ได้แปลว่าเขาทำอะไรผิดกฎหมาย หน่วยงานสองสามหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ก็ออกมาบอก ว่าจะตรวจสอบข้อเท็จจริง แต่สุ้มเสียงดูเกรงอกเกรงใจอย่างไรก็ไม่รู้

ขอขีดเส้นใต้ไว้ตรงนี้ก่อนนะครับว่าที่ประเทศพัฒนาแล้วเขาเป็นเดือดเป็นแค้นคนที่มีรายชื่อในปานามาเปเปอร์นี่ ไม่ใช่เรื่องของ “การทำผิดกฎหมาย” นะครับ แต่เป็น “การเลี่ยงกฎหมาย เลี่ยงภาษี” และ “การมีพฤติกรรม อำพราง” เพราะการไปตั้งบริษัทในบรรดาหมู่เกาะที่เป็นสวรรค์ของการเลี่ยงภาษี นี่เป็นการปิดบังว่า คนผู้นั้นเป็น เจ้าของบริษัทหรือทรัพย์สินอะไรบ้าง เมื่อบริษัทเหล่านั้นไปลงทุนที่ไหนก็จะไม่มีใครรู้ว่าเป็นใครกันแน่ที่มา ลงทุน แถมเมื่อมีกำไรก็ยังสามารถหลบเลี่ยงภาษีในประเทศตัวเองได้ง่ายอีกด้วย

คนในประเทศพัฒนาแล้วเขาถือว่าพฤติกรรมแบบนี้เป็นสิ่งที่พวกเขา “รับไม่ได้” เพราะมันสะท้อนถึง “จริยธรรม อันเลวร้าย” โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่คนผู้นั้นเป็นคนสาธารณะ ผู้บริหารบ้านเมือง หรือเป็นผู้นำองค์กรธุรกิจ ที่สำคัญ คนในประเทศพัฒนาแล้วเขาถูกปลูกฝังความคิดว่า “จริยธรรม” เป็นเรื่องสำคัญ และไม่ว่าจะเป็นคนจนหรือคน รวย ทุกคนต้องอยู่ภายใต้กฎกติกาเดียวกัน สำหรับคนไทยแล้ว ผมเชื่อว่าคนชั้นกลางและคนชั้นล่างส่วนมากก็รู้ สึก “รับไม่ได้” กับพฤติกรรมนี้แต่ก็คงไม่รู้จะทำอย่างไร ส่วนคนชั้นสูงที่เขาสนิทและทำธุรกิจร่วมกันก็คงคิด คล้ายๆ กันว่าเป็นเรื่องธรรมดาทางธุรกิจ ใครๆ เขาก็ทำกัน ไม่เห็นจะมีอะไรผิด

การที่ผู้บริหารผู้นำองค์กรธุรกิจและคนชั้นสูงมีจริยธรรมต่ำกว่าคนชั้นอื่นๆในสังคม และชอบเล่นเกมบนกติกา ที่ได้เปรียบชนชั้นที่ด้อยกว่า เป็นอีกอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ไทยเราปราบคอร์รัปชั่นไม่สำเร็จเสียที ก็ลองดูสิครับ คนที่เป็นผู้นำในการรณรงค์ปราบปรามคอร์รัปชั่นทั้งองค์กรอิสระหรือภาคประชาชนก็ล้วนแต่เป็นคนที่เรา “คิด” ว่าเป็นคนดีๆ เก่งๆ ทั้งสิ้น แต่ทำไมถึงปราบคอร์รัปชั่นไม่ได้ซักที ผมว่าถึงเวลาแล้วที่การปราบคอร์รัปชั่น ของไทย เราจะต้องหันมาพึ่ง “ระบบ” และ “ยุทธศาสตร์” ซึ่งหลายประเทศทำแล้วได้ผล เดี๋ยวพุธหน้าจะมาเขียนต่อ

เราต้องเลิกหวังพึ่งคนดีคนเก่งคนชั้นนำกันได้แล้ว ขนาดปานามาเปเปอร์ที่เขย่าโลกทั้งใบจนสะเทือนไปหมด พอมาถึงไทยก็เป็นได้แค่ “เปเปอร์” ซึ่งไทยเราไม่นิยมแต่เราชื่นชม “กระเบื้องอย่างหนา” ครับ

[smartslider3 slider="9"]