AEC for Happy Family : ระบบการศึกษาในสิงคโปร์และเวียดนาม

0
358
AEC for Happy Family : ระบบการศึกษาในสิงคโปร์และเวียดนาม

AEC for Happy Family กับเกษมสันต์ /  มกราคม 2560

ระบบการศึกษาในสิงคโปร์และเวียดนาม

คุณแม่คุณพ่อครับผลการทดสอบความสามารถของเด็กซึ่งเขาจัดทำกันทุก 3 ปีจากเด็กอายุ 15 ปีจำนวนกว่า ครึ่งล้านคนทั่วโลก ที่เรียกว่า PISA หรือ โครงการประเมินนักเรียนร่วมกับนานาชาติ (Programme for International Students Assessment) ขององค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ของปี ล่าสุดคือ ปีพ.ศ. 2558 ออกมาแล้วครับ โดยการทดสอบนั้นเขาเน้นที่ 3 วิชาซึ่งมีความสำคัญอย่างสูงต่อการพัฒนา ประเทศในอนาคตคือ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และการอ่านครับ

เด็กสิงคโปร์ซึ่งเคยสอบได้ที่สองเมื่อ 3 ปีที่แล้ว มาถึงปีนี้แสดงฝีมือได้ดีเยี่ยมด้วยการแซงเด็กทั้งโลกสอบได้ที่ 1 ตามด้วยเด็กญี่ปุ่น เอสโตเนีย ไต้หวันและฟินแลนด์ ซึ่งได้ที่ 2 ถึง  5 ตามลำดับ ส่วนเด็กจีนซึ่งคราวที่แล้วสอบได้ ที่ 1 นั้นเป็นเด็กจีนเฉพาะที่อยู่ในเซี่ยงไฮ้เท่านั้น คราวนี้พอไปเอาเด็กอีก 3 สามเมืองคือปักกิ่ง เซียงจูและกวางตุ้ง เพิ่มเข้ามา เล่นทำเอาอันดับของจีนตกลงไปอยู่ที่  10 เลยทีเดียวครับ ส่วนเด็กไทยเรานั้นตกทั้งสามวิชาได้คะแนน น้อยกว่าคะแนนเฉลี่ยเหมือนเคย ปีล่าสุดได้ที่ 54 แย่พอๆกับการทดสอบสองครั้งล่าสุดในปี พ.ศ. 2555 และพ.ศ. 2552 ซึ่งสอบเด็กไทยตกได้ที่ 50 ทั้งสองครั้ง

แต่ที่คะแนนและอันดับดีขึ้นมากจนโลกตะลึงคือเด็กเวียดนามซึ่งเพิ่งเข้าร่วมทดสอบ PISA ครั้งแรกในปี 2555 ซึ่งเด็กเวียดนามสอบได้ที่ 17  ของโลกได้คะแนนวิชาวิทยาศาสตร์ 525 การอ่าน 487 คณิตศาสตร์ 495 สูงกว่า คะแนนเฉลี่ยทั้งสามวิชาคือ 493, 493และ490 คะแนน  สูงกว่าเด็กไทยซึ่งได้ 438  438 และ 427 คะแนนตามลำดับ ทำให้เด็กเวียดนามสอบได้ที่ 8 ของโลกในปีนี้ พุ่งแซงแม้กระทั่งเด็กฮ่องกง จีน เกาหลีใต้ อังกฤษ เยอรมนีและ สหรัฐได้อย่างน่าทึ่ง คะแนนประเทศที่เหลือที่ผมคิดว่าน่าสนใจดังตารางข้างล่างนี้ครับ

ผลการทดสอบของ PISA 2558

ประเทศ             วิทยาศาสตร์      การอ่าน            คณิตศาสตร์

1 สิงคโปร์          556                  535                  564

2 ญี่ปุ่น             538                  516                  532

3 เอสโตเนีย       534                  519                  520

4 ไต้หวัน         532                  497                  542

5 ฟินแลนด์        531                  526                  511

8 เวียดนาม        525                  487                  495

15 อังกฤษ         509                  498                  492

16 เยอรมนี        509                  509                  506

25 สหรัฐฯ         496                  497                  470

คะแนนเฉลี่ย      493                  493                  490

54 ไทย             421                  409                  415

62 อินโดนีเซีย    403                  397                  386

รวบรวมจาก โครงการประเมินนักเรียนร่วมกับนานาชาติ

(Programme for International Students Assessment : PISA)

ทีนี้มาดูกันครับว่าทำไมเด็กสองประเทศคือสิงคโปร์และเวียดนามถึงทำการทดสอบได้ดีเหลือเกิน เริ่มกันที่ สิงคโปร์ซึ่งเขาถือว่าการศึกษาคือหัวใจสำคัญในการพัฒนาประเทศตามแนวทางที่อดีตนายกฯ ลี กวนยิว วางแนว ทางเอาไว้ให้ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งประเทศ แถมการเรียนการสอนแบบ Bilingual ซึ่งใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักและ ให้เลือกเรียนภาษาแม่ที่มีอยู่อีก 3 ภาษาคือภาษาจีนแมนดาริน ภาษามลายูและภาษาทมิฬ มาบังคับใช้ในโรงเรียน ทำให้เด็กสิงคโปร์กว่า 90% นั้นรู้หนังสือและสามารถพูดได้สองภาษาหรือมากกว่า แถมวิธีการสอนในสิงคโปร์ ก็เน้นให้เด็กได้มีโอกาสเรียนรู้ในสิ่งที่พวกเขาชอบและอยากจะเรียนจริงๆ และเน้นให้ฝึกการคิดวิเคราะห์มากกว่า ที่จะให้ท่องจำ ที่เรียกว่า Teach Less, Learn More

แต่เรื่องสำคัญที่สุดซึ่งทำให้ระบบการศึกษาของสิงคโปร์มีความยอดเยี่ยมได้ถึงขนาดนี้ก็คือมาตรฐานของการ สอน ซึ่งสิงคโปร์ได้ลงทุนอย่างมากเพื่อให้ได้ระบบการสอนที่มีมาตรฐานสูงที่สุดด้วยวิธีที่ทำให้อาชีพครูเป็น อาชีพที่มีเกียรติและมีรายได้สูงจนเกิดแรงดึงดูดให้คนที่เรียนเก่งที่สุด 5%  แรกของประเทศอยากจะมาเป็นครู พอได้คนที่เก่งเข้ามาเป็นครูแล้ว สิงคโปร์ยังเน้นการเตรียมความพร้อมให้ครูให้ดีเยี่ยม ด้วยการบังคับให้ครูทุกคน จะต้องผ่านการฝึกอบรมที่สถาบันการศึกษาแห่งชาติของสิงคโปร์ก่อนจะได้ไปลงสนามไปสอนจริง การบังคับ เช่นนี้ทำให้สิงคโปร์สามารถควบคุมคุณภาพครูได้อย่างเต็มที่ และครูใหม่ทุก คนก็จะสามารถที่จะเดินเข้าห้อง เรียนไปสอนเด็กได้ด้วยความมั่นอกมั่นใจ วิธีการทั้งหมดนี้ที่ผมเขียนมานี้สิงคโปร์เขาทำกันต่อเนื่องและ สม่ำเสมอเป็นระยะเวลานานหลายสิบปีเลยทีเดียว กว่าจะมาถึงจุดนี้ที่เป็นที่หนึ่งของโลกได้

ส่วนที่เวียดนามนั้น ปัจจัยที่ทำให้เวียดนามประสบความสำเร็จในการปฏิรูปการศึกษาก็คือวัฒนธรรมของ เวียดนาม เช่น การทำงานหนักของครู ความขยันของนักเรียนและบทบาทของคุณแม่คุณพ่อครับ ครูที่นั่นจะต้อง สอนภายใต้ระเบียบวินัยที่เคร่งครัด มีเสรีภาพน้อยเพราะครูจะถูกส่วนกลางควบคุมอย่าง เข้มงวด โดยครูจะต้อง รับผิดชอบงานสอนเป็นสำคัญและต้องเน้นผลการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นหลัก ส่วนนักเรียนเวียดนามนั้นโดย พื้นฐานเป็นคนขวนขวายมีความขยันขันแข็งสู้กับชีวิตและถูกปลูกฝังทัศนคติตั้งแต่ยังเล็กว่าความสำเร็จทางการ ศึกษาเป็นเป้าหมายสำคัญที่สุดของชีวิต เด็กเวียดนามจึงขยันเรียนทุ่มเทอย่างจริงจังมากกว่าเด็กชาติอื่นๆ ขณะที่ คุณแม่คุณพ่อเวียดนามก็มักจะตั้งความหวังไว้สูงกับลูกๆ พวกเขาจึงคอยติดตามผลการเรียนของลูกรักอย่างใกล้ชิด แถมยังยินดีให้ความร่วมมือกับครูในเรื่องต่างๆและยังเต็มใจช่วยกันระดมทุนให้โรงเรียนอีกด้วย

แม้ว่าเวียดนามจะมีจำนวนโรงเรียนน้อยกว่าประเทศอื่นๆ แต่ทุกโรงเรียนของเขากลับมีมาตรฐานสูงเทียบเท่า สากล เหมือนกับคอมพิวเตอร์แม้ว่าจะมีจำนวนน้อยกว่าประเทศอื่นๆแต่คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องของโรงเรียน วิทยาลัยและมหาวิทยาลัย ในเวียดนามสามารถต่ออินเทอร์เน็ตผ่านเคเบิลใยแก้วซึ่งรัฐบาลร่วมกับภาคเอกชน ช่วยกันวางรากฐานเอาไว้ให้ ธนาคารโลกเคยเข้ามาศึกษาเรื่องนี้และพบว่านักเรียนมัธยมของเวียดนาม 99.9% นั้นสามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ แต่เวียดนามไม่ได้หยุดอยู่แค่การต่ออินเตอร์เน็ตให้กับสถาบันการศึกษาเท่านั้น วันนี้เขามองไปไกลถึงโครงการ มหาวิทยาลัยเสมือน (Virtual University) โดยไปขอให้เกาหลีใต้เข้ามาช่วยเหลือ ในโครงการมหาวิทยาลัยเสมือนที่ มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งฮานอยและโปรแกรม e-Learning ของมหาวิทยาลัยเปิดแห่งฮานอย โดยเวียดนามมีเป้าหมายที่จะใช้  ICT มาพัฒนานวัตกรรมและมาตรฐานของการ เรียนการสอนให้ดียิ่งขึ้นไปอีก และมีนโยบายที่จะส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของคนทั้งประเทศ โดยตั้งเป้าที่จะ ทำให้นักเรียน และประชาชนสามารถเรียนรู้ได้ทุกที่และทุกเวลาที่พวกเขาต้องการ แม้ว่าเศรษฐกิจจะพัฒนาน้อยกว่าประเทศอื่นๆ แต่เวียดนามก็กล้าจัดงบประมาณเพื่อการศึกษาเอาไว้สูงมากคิด เป็น 24% ของงบประมาณของรัฐบาลหรือคิดเป็น 6.3% ของ GDP แม้ว่าเมื่อคิดเป็นเม็ดเงินจริงๆแล้วจะยังน้อย กว่างบประมาณเพื่อการศึกษาของประเทศอื่นๆแต่เขาก็เน้นการใช้จ่ายให้มีประสิทธิภาพ  เมื่อรัฐบาลมีวิสัยทัศน์ และยุทธศาสตร์ เด็กคุณแม่คุณพ่อและครูมีวัฒนธรรมที่ดีแถมมีเป้าหมายชัดเจน เด็กเวียดนามเลยเก่งแซงหน้า เด็กไทยไปนานหลายปีแล้วครับ

[smartslider3 slider="9"]