Amazing AEC – อะเมซิ่งมหาตมะคานธี (2)

0
407



หลังจากเหตุการณ์สังหารหมู่พวกซูลูซึ่งสร้างความสะเทือนใจอย่างรุนแรงแก่คานธีจนเขาปาวารณาตนเองว่าจะถือพรหมจรรย์ตลอดไปแล้ว ในปี พ.ศ. 2499 ตอนที่เขาอายุประมาณ 37 ปี แอฟริกาใต้ได้ออกกฎหมายใหม่กำหนดให้คนอินเดีย ทุกคนต้องจดทะเบียน พิมพ์ลายนิ้วมือ และถ้าเป็นผู้หญิงจะต้องเปลื้องผ้าให้ตำรวจผิวขาวตรวจตำหนิรูปพรรณในการ จดทะเบียนอีกด้วย คนอินเดียกว่า 3,000 คนจึงมาชุมนุมกันในโยฮันเนสเบิร์ก ในการชุมนุมครั้งนั้นมีพ่อค้ามุสลิมคนหนึ่ง ตะโกนออกมาว่า “ ข้าแต่พระเป็นเจ้า เราจะยอมเข้าคุกก่อนที่จะยอมแพ้ให้กฎหมายฉบับนี้” คานธีซึ่งไม่เคยนึกถึงเรื่อง การเข้าคุกมาก่อน แต่ในตอนนั้นเขาก็รู้โดยสัญชาตญานว่านี่อาจจะเป็นทางออกที่ดีที่สุดในสถานการณ์เช่นนั้น คานธีจึง ประกาศว่า “เราจะสวดขอต่อพระเป็นเจ้าว่าเราจะเข้าคุก และเราจะอยู่ในนั้นจนกว่ากฎหมายจะถูกเพิกถอน และเราจะยอม”
เมื่อตำรวจบุกเข้ามาสลายการชุมนุมและได้ลงมือทุบทีคานธี เขาก็นั่งนิ่งๆให้ตำรวจทุบตี ผู้ชุมนุมก็ยอมอยู่นิ่งๆ ตามคานธี
ในตอนนั้น คานธีคิดว่า ถ้าหัวใจคนเหล่านั้นปิด เราก็จะไม่สามารถสัมผัสได้ว่าพวกเขาคิดอะไร ไม่สามารถใช้เหตุผล อะไรกับเขาได้ สุดท้ายคานธีก็คิดได้ว่าการใช้ความรุนแรงต่อสู้นั้นไม่ใช่หนทางที่ถูกต้อง และนั่นคือที่มาของแนวคิด
“วิธีต่อต้านแบบอหิงสา” ซึ่งเป็นการยืนหยัดต่อต้านผู้มากดขี่ โดยผู้ต่อต้านจะบอกผู้กดขี่ว่าเราจะไม่ยอมแพ้ไม่ว่าจะโดน กระทำอย่างไร รุนแรงขนาดไหน ขณะเดียวกันผู้ต่อต้านก็จะแสดงออกให้ผู้กดขี่รู้และมั่นใจว่า ผู้ต่อต้านจะไม่มีวันใช้ ความรุนแรงหรือทำร้ายผู้มากดขี่กลับ
คานธีได้นำแนวคิดการต่อต้านแบบอหิงสามาใช้ในการต่อต้านการกดขี่ที่คนอินเดียและคนผิวดำในแอฟริกาใต้โดนกระทำมาโดยตลอด ในปีพ.ศ. 2456 แอฟริกาใต้ได้ออกกฎหมายใหม่กำหนดให้การแต่งงานระหว่างชาวฮินดูและมุสลิมถือเป็น “โมฆะ” คนงานกว่า 50,000 คนไม่พอใจกฎหมายใหม่นี้จึงได้หยุดงานประท้วงตามแนวทางของคานธี สุดท้ายแอฟริกาใต้ จึงต้องยอมยกเลิกกฎหมายในที่สุด คานธีบอกว่านี่คือการพิสูจน์ว่าพลังมวลชนนั้นสามารถเอาชนะการกดขี่ข่มเหงได้
ถึงตอนนั้นบทบาทการต่อต้านการกดขี่ข่มเหงและชื่อเสียงของคานธีโด่งดังมากในแอฟริกาใต้ แถมโด่งดังมาถึงอินเดีย ซึ่งกำลังโดนอังกฤษกดขี่ข่มเหงอย่างมาก ดังนั้นเมื่อคานธีตัดสินใจกลับอินเดียในปี พ.ศ. 2458 ตอนที่เขาอายุได้ 46 ปี คนอินเดียที่ทราบข่าวการกลับประเทศของอินเดียจึงแห่แหนมารอรับคานธีกันจนล้นหลาม สภาพของคนอินเดียภายใต้ การเป็นอาณานิคมของอังกฤษในสมัยนั้นน่าสงสารมาก เพราะตอนนั้นอินเดียถูกกดขี่เป็นอย่างมาก ทรัพยากรต่างๆของ อินเดียถูกอังกฤษดูดกลับไปหมด อินเดียตกต่ำมากจนมีคำกล่าวว่า แม้ว่าอินเดียอยากจะผลิตเข็มกลัดเล็กๆสักอันก็อาจจะ ไม่มีปัญญาผลิต อ่อนแอขนาดนั้นเลยทีเดียว ตอนนั้นคานธีได้แต่คิดว่าทำไมคนอินเดียที่มีมากมายถึง 300 ล้านคนจึงต้อง ยอมคนอังกฤษเพียงแสนคนที่เข้ามาปกครอง อย่างเอารัดเอาเปรียบ คานธีจึงเริ่มชักชวนให้คนอินเดียเริ่มต่อต้านคนอังกฤษ
ในปี พ.ศ. 2462 คนอินเดียกว่า 2,000 คนได้รวมตัวกันชุมนุมประท้วงกฎหมายใหม่โดยมีการชุมนุมในเมือง “อำมริสา” โดยไม่รู้ว่านายพลชาวอังกฤษได้สั่งให้ทหารอังกฤษเอาปืนมายิงผู้ชุมนุมได้ ทหารมาถึงที่ชุมนุมก็เริ่มยิงกราดใส่ผู้ชุมนุม ทหารยิงผู้ชุมนุมที่ไม่มีอาวุธจนกระสุนหมดทำให้ผู้มาร่วมชุมนุมตายเกือบ 400 คน ที่เหลืออีกนับพันคนล้วนได้รับบาดเจ็บ นายพลชาวอังกฤษได้ออกมาประกาศหลังเหตุการณ์สังหารหมู่คราวนั้นว่า “คนอินเดียมีสองทางเลือก คือยอมค้อมตัวให้ เป็นหนอนหรือจะยอมโดนโบยโดนเฆี่ยนจนตาย” นั่นก็คือคนอินเดียมีสองทางเลือกคือยอมให้อังกฤษกดขี่ต่อไปหรือ ไม่ก็ต้องยอมตายนั่นเอง
ตอนนั้นทุกคนในอินเดียต่างคิดว่าต่อไปจะต้องนองเลือดอย่างแน่นอนเพราะถ้าคนอินเดียซึ่งกำลังโกรธแค้นลุกขึ้นมาต่อสู้ และคิดว่าคนอินเดียที่มีมากกว่า 300 ล้านคนเดินเข้าหาคนอังกฤษที่มีเพียง 100,000 คนเศษ เพื่อล้างแค้นโดยคิดเอาว่าคน อังกฤษ 1 คนจะต้องฆ่าคนอินเดีย 4,000 คนให้ทันก่อนที่คนอินเดียจะเข้าถึงตัวคนอังกฤษจึงจะรอด
คานธีทำอย่างไรจึงสามารถเปลี่ยนความโกรธแค้นของคนอินเดียให้กลายเป็นความสามัคคีและต่อสู้จนได้รับเอกราชในที่สุด โปรดติดตามตอนต่อไป

[smartslider3 slider="9"]