Amazing AEC – ทำไมแรงงานเมียนมาคลั่งไคล้อองซาน ? (2)

0
526

วันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2531 ซึ่งเป็นวันแรกของการขึ้นเวทีปราศรัยของด่อว์อองซานซูจิ ที่พระมหาเจดีย์ชเวดากองต่อหน้าคนเมียนมาหลายแสนคน เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยจากทหารเมียนมา ซึ่งเป็นแรงกระเพื่อมทางการเมืองครั้งใหญ่ที่สุดของประเทศ จนทำให้อีกสามอาทิตย์ต่อมาทหารต้องตั้ง สภาฟื้นฟูกฎระเบียบแห่งรัฐหรือที่เราคุ้นเคยในชื่อสล็อคร์ อาทิตย์ต่อมาด่อว์อองซานกับคณะได้ร่วมกันก่อตั้งพรรคสันนิบาตเพื่อประชาธิปไตย (NLD) โดยเธอรับตำแหน่งเลขาธิการพรรค โดยตอนนั้นเธอคิดเพียงว่าเมื่อจัดพรรคเสร็จเรียบร้อยจะกลับไปใช้ภูฏานเพื่อใช้ชีวิตกับครอบครัวต่อไป แต่ก่อนที่เธอจะได้เดินทางออกนอกประเทศ รัฐบาลทหารก็ได้สั่งกักบริเวณเธอเป็นเวลา 3 ปี ก่อนที่จะขยายเวลากับบริเวณเธอเป็น 6 ปีโดยไม่มีเหตุผล

ด่อว์อองซานซึ่งชื่นชอบมหาตมคานธีจึงได้ใช้วิธีการต่อสู้แบบอหิงสาของคานธีมาใช้เป็นแนวทางในการต่อสู้กับรัฐบาลทหารจนโลกได้รับรู้การต่อสู้ของเธอจนทำให้เธอได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปี พ.ศ. 2534 โดยลูกชายทั้งสองของเธอเป็นคนไปรับรางวัลอันทรงเกียรติแทน

หลังจากครบ 6 ปี ในการโดนกักบริเวณครั้งแรก ด่อว์อองซานจึงมีโอกาสได้พบกับสามีและลูกทั้งสองที่มาเยี่ยมเธอในเมียนมา โดยไม่มีใครคาดคิดว่านั่นจะเป็นการพบกันครั้งสุดท้ายอย่างพร้อมพร้อมตาของครอบครัวนี้ เพราะเมื่อไมเคิลและลูกๆกลับไป อีกสองปีต่อมาไมเคิลจึงพบว่าเขาเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก แต่เขาก็ไม่ได้รับวีซ่าอนุญาตให้เดินเข้าเมียนมา จนกระทั่งอีก 2 ปีต่อมาคือปี พ.ศ. 2542 ซึ่งรัฐบาลทหารเมียนมาได้อนุญาตให้ด่อว์อองซานซูจิเดินทางออกนอกเมียนมาได้ แต่ด่อว์อองซานตัดสินใจที่จะไม่เดินทางออกนอกประเทศเพราะรู้ดีว่าถ้าเธอเดินทางออกนอกประเทศเธอจะไม่มีวันได้กลับมาช่วยพี่น้องประชาชนเรียกร้องประชาธิปไตยได้อีก เพราะรัฐบาลคงจะไม่อนุญาตให้เธอเดินทางกลับเข้าประเทศอย่างแน่นอน

เมื่อตัดสินใจจะอยู่สู้ต่อ ด่อว์อองซานจึงได้เดินทางไปบันทึกวิดิโอเทปที่สถานทูตอังกฤษในเมียนมาเพื่อส่งไปอำลาไมเคิลซึ่งหมอบอกว่าเข้าสู่ช่วงสุดท้ายของชีวิตแล้ว แต่เหมือนโชคชะตาจะกลั่นแกล้งเพราะวิดีโอเทปของเธอไปถึงสามีหลังจากที่เขาเสียชีวิตไปแล้วเพียงสองวัน เรื่องนี้สร้างความสะเทือนใจให้กับครอยครัวเธออย่างมากและทำให้ลูกชายทั้งสองน้อยใจและโกรธแม่ที่เห็นแก่ประชาธิปไตยของเมียนมาและทิ้งให้พ่อสู้กับมะเร็งร้ายตามลำพัง

จากนั้นต่อมาด่อว์อองซานก็ถูกสั่งกักบริเวณอีกสองครั้งคือในปี พ.ศ. 2543 และ 2546 ต่อมาในปีพ.ศ.2552  เมียนมามีการ เลือกตั้งใหญ่แต่พรรค  NLD ของเธอคว่ำบาตรการเลือกตั้งจนกระทั่งมีการเลือกตั้งซ่อมในเดือนเมษายนปี พ.ศ. 2555 ที่พรรค NLD ได้ส่งผู้สมัครลงแข่งขันและสามารถกวาดชัยชนะไปได้เกือบทุกเขต และนั่นเป็นสัญญาณแรกที่คนเมียนมาส่งออกมาบอกรัฐบาลว่าพวกเขาต้องประชาธิปไตยและด่อว์อองซานมาเป็นผู้นำของพวกเขาหลังจากได้ชัยชนะในการเลือกตั้งซ่อมครั้งนั้น ด่อว์อองซานได้รับบอนุญาตให้เดินทางได้ ประเทศแรกที่เธอเดินทางมาก็คือไทยของเรานี่เอง

ปีนั้นเธอเข้ามาร่วมประชุมเวิร์ลด์อีโคโนมิคฟอรั่มที่กรุงเทพฯ ซึ่งผมยังจำได้แม่นว่าเมื่อเธอขึ้นเวที CNN ถึงกับตัดเป็นการถ่ายทอดสดเธอพูดจากกรุงเทพฯไปทั่วโลก เมื่อโดนนักธุรกิจชาวตะวันตกถามว่าทำไมเธอจึงมาชวนนักธุรกิจไปลงทุนในประเทศที่เป็นเผด็จการไม่เป็นประชาธิปไตยและยังเต็มไปด้วยคอร์รัปชั่น เธอยิ้มๆ และตอบว่า เพราะประเทศเรายังเป็นเผด็จการและยังไม่เป็นประชาธิปไตยและยังเต็มไปด้วยคอร์รัปชั่น การที่พวกคุณไปลงทุนในประเทศของเราจะทำให้ประเทศของเราก้าวหน้าไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้นและพวกคุณก็จะมาช่วยทำประเทศนี้ให้โปร่งใสมากขึ้น เมื่อวันนั้นมาถึงทั้งพวกท่านและประเทศเมียนมาก็จะได้ประโยชน์ร่วมกัน และนี่ไม่ใช่สิ่งที่พวกท่านต้องการหรอกหรือ? วินาทีนั้นเธอสามารถจะตอบแบบเอาดีเข้าตัวเอาชั่วให้รัฐบาลก็ได้ แต่เธอเลือกที่จะตอบช่วยประเทศ ใจของเธอใหญ่ ไม่ธรรมดาใช่มั้ยครับ?

[smartslider3 slider="9"]