Amazing AEC – ยังดี เปอร์ตวน อากง

0
558

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมาถือเป็นวันมงคลของเพื่อนมาเลเซียนะครับ เพราะมาเลเซียมีพิธีบรมราชาภิเษกสมเด็จพระราชาธิบดี หรือกษัตริย์พระองค์ใหม่ สมเด็จพระราชาธิบดี มูฮัมหมัด ที่ 5 ซึ่งนับเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีลำดับที่ 15 เป็นการครอง ราชย์ต่อจากสมเด็จพระราชาธิบดี ตวนกู อับดุล ฮาลิม มูอัซซัม ชาห์ แห่งรัฐเกดะห์ ซึ่งหมดวาระลงเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม

สมเด็จพระราชาธิบดีพระองค์ใหม่มีพระชนมายุเพียง 47 พรรษานับเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีที่ขึ้นครองราชย์ในพระชนม พรรษาที่น้อยที่สุดพระองค์หนึ่งในประวัติศาสตร์ ทรงประสูติเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2512 ที่เมืองโกตาบารู รัฐกลันตันซึ่งเป็น รัฐอยู่ทางตอนเหนือของมาเลเซียติดอยู่กับประเทศไทย ทรงศึกษาขั้นต้นในเมืองโกตาบารู เมืองเอกของรัฐกลันตัน และ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ก่อนที่จะทรงไปศึกษาต่อที่ ประเทศอังกฤษ ทั้งทางด้านการทูตและมุสลิมศึกษา

เมื่อพระราชบิดาสุลต่าน ตวนกู อิสมาอิล เปตรา ประชวรและชราภาพ พระองค์จึงได้รับการสถาปนาเป็นสุลต่านแห่งรัฐ กลันตันองค์ที่ 29 แทน ในปีพ.ศ. 2553 เนื่องจากเป็นพระองค์เป็นพระราชโอรสองค์โต ขณะทรงเป็นสุลต่านของรัฐ กลันตันนั้น ทรงได้รับการยอมรับเป็นอย่างมากจากประชาชน เนื่องจากพระองค์มีความใกล้ชิดประชาชนอย่างมาก ภาพที่ ทรงขับรถด้วยพระองค์เองเป็นภาพที่ประชาชนในรัฐกลันตันจะเห็นได้บ่อยๆ ด้านการศาสนาพระองค์ทรงสามารถนำ ละหมาดได้ด้วย  นอกจากนี้ยังทรงสามารถเชือดวัวกุรบ่านซึ่งเป็น กิจสำคัญของคนมุสลิมด้วยพระองค์เองได้อีกด้วย

รัฐกลันตันนั้นว่าไปแล้วมีความใกล้ชิดกับไทยเราอย่างมาก มีเพียงแม่น้ำโกลกที่กั้นเราสองประเทศเอาไว้ มีคนไทยจำนวน ไม่น้อยอาศัยอยู่ในรัฐกลันตันในหลายเขต แถมภาษาพูดที่เรียกว่าภาษา “เจ๊ะเห” ที่คนในรัฐกลันตันพูดก็ยังเป็นภาษาเดียว กับคนในปัตตานีและนราธิวาสพูดเช่นกัน แถมยังมีวัดไทยอีกหลายวัด และที่สำคัญในบ้านจำนวนไม่น้อยเราจะยังได้เห็น พระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 สมเด็จพระราชินีนาถ และพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวรัชกาลที่ 5 อีกด้วย

การสถาปนาสมเด็จพระราชาธิบดีของมาเลเซียนั้นตามรัฐธรรมนูญ  จะเป็นการหมุนเวียน กันมาเป็นของสุลต่านทั้ง  9 รัฐ  คราวละ 5 ปี รัฐที่มีสุลต่านทั้ง 9 ได้แก่ 1 รัฐเนกรีเซมบิลัน 2 รัฐสลังงอร์ 3 รัฐปะลิส 4 รัฐตรังกานู 5 รัฐเกดะห์ 6 รัฐกลันตัน 7 รัฐปะหัง 8 รัฐยะโฮร์ และ 9 รัฐเประ โดยตอนเริ่มแรกนั้น สุลต่านทั้ง 9 รัฐได้ร่วมกันเลือกสุลต่านจากรัฐเนกรีเซมบิลัน ให้เป็นสมเด็จพระราชาธิบดีพระองค์แรก จากนั้นก็ได้เวียนสลับตามรัฐต่างๆที่ผมได้เรียงลำดับให้ดูข้างต้น ส่วนรัฐที่ไม่มี สุลต่านที่มีอยู่ 4 รัฐ ได้แก่รัฐปีนัง รัฐมะละกา รัฐซาบา รัฐซาราวักมีแต่ข้าหลวงเป็นผู้บริหารสูงสุด ไม่มีสุลต่าน รัฐทั้ง 4 นี้จึงไม่มีสิทธิเข้าร่วมเลือกสมเด็จพระราชาธิบดี

เมื่อเวียนครบ 9 รัฐ สมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ 10 จึงกลับมาเริ่มต้นที่รัฐเนกรีเซมบิลันอีกรอบ และตามด้วยรัฐสลังงอร์  รัฐปะลิส  รัฐตรังกานู รัฐเกดะห์ซึ่งเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่แล้ว คราวนี้จึงถึงรอบของสุลต่านจากรัฐกลันตัน สำหรับสมเด็จพระราชาธิบดีพระองค์ที่แล้วคือสมเด็จพระราชาธิบดี ตวนกู อับดุล ฮาลิม มูอัซซัม ชาห์ แห่งรัฐเกดะห์นั้น ทรงสร้างประวัติศาสตร์ไว้เช่นกันคือทรงเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีถึง 2 ครั้งเป็นพระองค์แรกในประวัติศาสตร์คือครั้ง ล่าสุด ธันวาคม พ.ศ. 2554 ถึง เดือนธันวาคม พ.ศ. 2559  และครั้งแรกเมื่อเดือนกันยายน 2513 ถึง เดือนกันยายน พ.ศ. 2518 ตำแหน่งกษัตริย์หรือสมเด็จพระราชาธิบดีนั้นในภาษามลายู เขาเรียกว่า “ยังดี เปอร์ตวน อากง” ซึ่งมีความหมายว่าผู้ที่ได้ รับเลือกให้เป็นเจ้าหรือผู้ปกครองสูงสุด ส่วนพระอัครมเหสีในยังดี เปอร์ตวน อากงนั้น ในภาษามลายูจะเรียกว่า “รายา ประไหมสุหรี อากง” ส่วนตำแหน่งสุลต่านในรัฐต่างๆนั้น ภาษามลายูเขาเรียกว่า “ยังดี เปอร์ตวน เนเกอรี” ครับ

[smartslider3 slider="9"]