Amazing AEC – ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (2)

0
572

อาทิตย์ที่แล้วผมทิ้งท้ายว่าประเทศเราแค่เริ่มเขียนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (2561 – 2580) ก็เขียนกันไม่เป็นเสียแล้วเพราะ วิสัยทัศน์ประเทศไทยที่เขียนเอาไว้ว่า “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้วด้วยการ พัฒนา ตามหลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง” แล้วขยายความเอาไว้ยาวเหยียด

วิสัยทัศน์ประเทศไทยที่เขียนไว้ยาวๆนั้น ทุกประเทศในโลกล้วนอยากเป็นอย่างนั้นเหมือนกับเราทั้งนั้น ไม่แปลกอะไร แต่ที่ประเทศอื่นๆ ไม่เหมือนเราก็คือเขามี “ตำแหน่งประเทศที่สั้นกระชับชัดเจน” ส่วนไทยเราไม่มี

เมื่อไทยเราไม่มีตำแหน่งประเทศที่สั้นกระชับชัดเจนนั้นทำให้ กระทรวงทบวงกรมต่างๆจึงสามารถเลือกทำงานที่พวกเขา อยากทำได้ตามอำเภอใจ การทำงานของหน่วยราชการต่างๆจึงเป็นการทำงานแบบต่างคนต่างทำ แต่ทำถูกต้องตามวิสัย ทัศน์ประเทศหมดทุกหน่วยงาน ลองคิดดูสิครับว่างานไหนของกระทรวงไหนที่จะไม่สอดคล้องกับความมั่นคง มั่งคั่งและ ยั่งยืน ฯลฯ บ้าง ใครอยากทำอะไรจึงสามารถเขียนของบประมาณได้หมด ผลที่ตามมาก็คืองบประมาณของประเทศซึ่งมีอยู่ อย่างจำกัดนั้นจึงถูกใช้กันแบบ “เบี้ยหัวแตก”

ประเทศที่มีตำแหน่งประเทศชัดเจน การจัดสรรงบประมาณก็จะทำได้ง่ายชัดเจน เรียงลำดับกันตามสำคัญ หน่วยงานไหน ที่มีหน้าที่ตามตำแหน่ง ประเทศก็จะได้รับการจัดสรรงบประมาณมากกว่าและได้ก่อนหน่วยงานอื่นๆ

ส่วนประเทศไทยเมื่อนอกจากจะใช้งบประมาณแบบ “เบี้ยหัวแตก” แล้วยังไม่พอ ยังถูกซ้ำเติมด้วย “การคอร์รัปชั่น” เสียอีก เม็ดเงินที่มีอยู่อย่างน้อยนิดจึงใช้ได้จริงน้อยลงไปอีก “เบี้ยหัวแตก” จึงกลายเป็น “เบี้ยหัวแบะ” แย่ลงไปอีก

เมื่อมาเลเซียเขามีตำแหน่งประเทศที่วางเอาไว้อย่างชัดเจนว่าจะใช้ “นวัตกรรม” เป็นเครื่องมือหลักในการขับเคลื่อน ประเทศ เขาก็ทุ่มเทงบประมาณภาครัฐไปเพื่อยกระดับ “นวัตกรรม” ของประเทศ จนวันนี้มาเลเซียกำลังจะกลายไปเป็น ประเทศที่แข่งขันด้วยนวัตกรรมเหมือนกับประเทศพัฒนาแล้วทั้งหลาย เช่นสหรัฐ เยอรมัน สิงคโปร์ ทิ้งให้ไทยอยู่ในกลุ่ม ประเทศที่แข่งขันด้วยประสิทธิภาพการผลิตซึ่งด้อยกว่าเขาอยู่หนึ่งขั้นทั้งๆที่เราก็เขียนกันในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติกันมาโดยตลอด

ตำแหน่งประเทศที่ดีและสั้นกระชับชัดเจนนั้นต้องถูกกำหนดมาจากการวิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจสังคมการเมืองของโลกและภูมิภาคว่าจะเกิดอะไรขึ้น เพราะถ้าเราวิเคราะห์ไม่ทะลุว่าจะเกิดอะไรขึ้นในอนาคต เราก็จะบอกไม่ได้ว่าเราต้อง เตรียมตัวอย่างไร เหมือนกับคุณพ่อคุณแม่ถ้ามองภาพไม่ออกว่าสังคมไทยจะเป็นอย่างไรในอนาคต เราก็จะไม่สามารถ เตรียมลูกเราได้ถูกต้อง เหมือนกับนักธุรกิจถ้ามองตลาดในอนาคตไม่ขาดก็ต้องเจ๊งในที่สุด

เมื่อวิเคราะห์สถานการณ์ในอนาคตได้แล้ว ก็ต้องทำการวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อนโอกาสและความท้าทายหรือ SWOT ของประเทศ เพื่อจะหาว่าไทยเรามีความสามารถอะไรที่เก่งกว่าประเทศอื่นๆ และความเก่งที่ว่านั้นจะยังเป็นความเก่งที่มี ประโยชน์ในอนาคตอีกหรือไม่ และถ้าหากมีประเทศอื่นๆอยากจะมาแข่งขันกับเราในด้านที่เราเก่งนั้น เราจะยังเก่งกว่า และจะสามารถเอาชนะคู่แข่งได้อยู่หรือไม่

เมื่อวิเคราะห์ทั้งสองเรื่องนี้ได้ชัดเจน ไม่หลอกตัวเองแล้ว เราก็จะสามารถเลือกตำแหน่งประเทศได้ชัดเจน ว่าเราจะเป็น ประเทศแบบไหน แข่งขันด้วยอะไร

เมื่อมีตำแหน่งประเทศชัดเจน เรื่องที่สามที่ต้องมีในการเขียนยุทธศาสตร์ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมากๆ แต่ไทยเราไม่เคยมีเลย ก็คือ “นโยบายกำหนดแนวปฏิบัติ” ที่จะกำหนดกรอบแนวทางว่าหน่วยงานไหนต้องทำอะไรอย่างไรเมื่อไหร่ใช้งบ ประมาณเท่าไหร่และต้องประสานกับหน่วยงานอื่นอย่างไร จึงจะทำให้ประเทศเดินหน้าไปตามยุทธศาสตร์ที่วางเอา ไว้ได้จริง

[smartslider3 slider="9"]