เมื่อต้นเดือนมีนาคมที่ผ่ามา ผมได้เดินทางไปร่วมงาน CLMVT Logistic Conference และกิจกรรม Business Matching ที่จังหวัดขอนแก่นซึ่งจัดโดยสภาอุตสาหกรรมจังหวัดขอนแก่น และองค์กรภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในจังหวัดขอนแก่นแต่ยังรวมไปถึงจังหวัดต่างๆในภาคอีสาน และรวมถึงภาควิชาการอีกด้วย ผมขึ้น เวทีเสวนาในหัวข้อโอกาสการค้า การลงทุนด้านโลจิสติกส์ในกลุ่มประเทศ กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา เวียดนาม และไทย ที่เริ่มรู้จักกันมากขึ้นในนาม CLMVT เลยขอหยิบประเด็นสำคัญๆมาเขียนให้อ่านกัน
ประเด็นแรกที่ผมพูดทันทีและพูดมาหลายที่แล้วคือผม “ไม่ชอบ” คำว่า CLMVT เพราะตั้งแต่เราเริ่มรวมตัวกันและพัฒนา ความสัมพันธ์ต่อเนื่องมาเป็นประชาคมอาเซียนนั้น กลุ่ม 4 ประเทศซึ่งประกอบไปด้วยกัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และ เวียดนาม นั้น ยังนับว่ามีการพัฒนาน้อยกว่าอีก 6 ประเทศที่เหลือซึ่งรวมหมายถึงประเทศไทยของเราด้วย จึงมีการเรียก 4 นี้ให้เป็นกลุ่มเดียวกัน เพราะในหลายๆกรณีอาเซียนมีพันธกิจจะต้องช่วยเหลือสนับสนุน CLMV เป็นพิเศษเพื่อที่เราทั้ง 10 ประเทศจะได้เจริญก้าวหน้าทัดเทียมกัน ดังนั้นในอีกนัยหนึ่ง CLMV จึงสะท้อนถึงพัฒนาการทางเศรษฐกิจที่ยังล่าช้ากว่า กลุ่มประเทศอื่นๆ
ต่อมาเมื่อรัฐบาลไทยเริ่มเห็นแล้วว่าถ้าเมืองไทยไม่ร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน CLMV อย่างจริงจังและจริงใจ ไทยเราจะไม่มีโอกาสพลิกฟื้นเศรษฐกิจขึ้นมาได้ ซึ่งประเด็นนี้ต้องขออนุญาตเอาหน้าหน่อยเถอะว่าผมเองก็เป็นคนหนึ่งซึ่งทั้งพูด ทั้งเขียนเน้นย้ำความสำคัญของประเทศเพื่อนบ้าน CLMV มาโดยตลอด จนเกิดกระแสอยากไปร่วมมือกับเขา
รัฐบาลไทยจึงได้เริ่มมีโครงการบางอย่างร่วมกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยใช้คำว่า “CLMVT” ซึ่งจนบัดนี้ผมก็ยังนึกไม่ว่าออกว่าคนที่เขาคิดเรื่องนี้ เขาคิดอะไรอยู่ เพราะถ้าดูแนวคิดการตั้งชื่อกลุ่มของ CLMV เด็กเรียนภาษาอังกฤษใหม่ๆก็คงพอ จะเดาได้ว่าเขาเรียงลำดับตามอักษรภาษาอังกฤษ A B C D
ดังนั้นถ้าไทยเราจะไปรวมกับเขา และเขายอมรับจะให้เราไปรวม มันก็ต้องเป็น CLMTV ไทยต้องไปขอแทรกอยู่ระหว่าง เมียนมากับเวียดนาม ซึ่งโลกก็คงจะงงๆว่าเกิดอะไรขึ้นกับ Thailand เราก็เลยขอแค่ไปต่อท้ายกับเขาเป็น CLMVT
ถ้ามองในแง่พัฒนาการทางเศรษฐกิจซึ่งตั้งแต่ต้นที่มีการรวมตัวเป็น CLMV นั้น โลกและ 4 ประเทศกลุ่มนี้เขาก็ยอมรับกัน อยู่แล้วว่าพวกเขายังตามหลังอยู่ ดังนั้นถ้าไทยเราเลือกที่จะไปเติมตัว T Thailand ไปในกลุ่มนี้ โลกก็อาจจะคิดได้ว่าวันนี้ ไทยเราได้ประกาศตัวเองชัดเจนพัฒนาประเทศขึ้นมาได้ทัดเทียมใกล้เคียงกับกลุ่มประเทศนี้แล้ว??
นอกจากคนคิดคำว่า CLMVT คงลืมคิดประเด็นนี้ไปแล้ว เขาอาจจะไม่รู้จักหรือลืมคิดถึงคำว่า GMS : Greater Mekong Subregion อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งมีทั้ง 4 ประเทศใน CLMV ประเทศไทยและรวมมณฑลหยุนหนานและเขตปกครองตนเองกว่างสีซึ่งอยู่ทางจีนตอนใต้เข้ามาด้วย
GMS นี่เริ่มคิดเริ่มร่วมมือกันมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2535 โดนตั้งเป้าร่วมมือกัน 9 ด้านด้วยกันเช่น คมนาคมขนส่ง โทรคมนาคม พลังาน การค้า การลงทุน การเกษตร สิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยวและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ครบถ้วนทุกด้านตามที่ประเทศใกล้ชิดพึงจะร่วมมือกัน เงินทุนที่จะใช้เพื่อพัฒนา GMS เข้าด้วยกันทางจีนก็ลงเงินก้อนใหญ่ก่อนแถมชวนประเทศต่างๆให้ไปลงขันเพื่อถือหุ้นใน AIIB : Asian Infrastructure Investment Bank เพื่อให้สมาชิก GMS มีแหล่งกู้เงิน มาลงทุนพัฒนาประเทศ ซึ่งไทยเราเองก็ลงขันกับเขาด้วย
ที่จีนเขาให้ความสำคัญกับ GMS เพราะเขาคิดไกลว่าจะใช้หยุนหนานและกว่างสี เป็นประตูของจีนทะลุออกมาเอเซียผ่าน 5 ประเทศ CLMV และประเทศไทย ซึ่งทุกประเทศตรงนี้น่าจะได้ประโยชน์ร่วมกันถ้าคิดทัน
Amazing AEC – CLMVT vs GMS
[smartslider3 slider="9"]