PERSPECTIVE OF AEC – ยอดคนคานธี

0
543

เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา อินเดียได้เฉลิมฉลองเอกราชของตนเองอีกครั้งหนึ่ง ผมจึงอยากเขียนถึงคนสำคัญที่มีส่วนอย่างมาก ที่สุดในการกอบกู้เอกราชและการสร้างชาติของอินเดีย คนๆนั้นคือ คานธี ครับ

คานธีนั้นเกิดมาเป็นลูกคนเล็กในครอบครัวชนชั้นกลางเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2412 ในยุคที่อินเดียยังเป็นอาณานิคมของ อังกฤษอยู่ พ่อของเขาเป็นนักการเมืองท้องถิ่นส่วนแม่เป็นแม่ที่เคร่งศาสนา ตอนเด็กๆคานธีมีนิสัยเกเรเหมือนลูกคนเล็ก ทั่วไป เมื่ออายุได้ 13 ปีเขาถูกจับแต่งงานกับเจ้าสาววัยเดียวกันชื่อ “คาสตวา” ซึ่งการแต่งงานครั้งนั้นได้เปลี่ยนคานธี จากเด็กชายจอมเกเรให้กลายเป็นสามีขี้หึงซึ่งถือว่า เจ้าสาวนั้นเป็นเสมือนข้าวของของเขาเหมือนๆกับที่ชายอินเดียคนอื่นๆ คิดกันในสมัยนั้น

เมื่อคานธีอายุได้ 16 ปี พ่อของเขาป่วยหนัก เขาและพี่น้องจึงต้องแบ่งเวรนอนเฝ้าพ่อ คานธีด้วยความที่ยังเด็ก เขาจึงยัง เกเรและไร้ความรับผิดชอบ ถึงขนาดที่ว่าเขาทิ้งพ่อให้นอนคนเดียวและย่องขึ้นห้องตัวเองไปหลับนอนกับภรรยาของเขา ซึ่งปรากฎว่าพ่อของเขาสิ้นใจในคืนนั้นนั่นเอง นั่นเป็นจุดแรกที่คานธีเริ่มคิดถึงความไร้ความรับผิดชอบของตัวเอง

เมื่ออายุได้ 17 ปี คานธีตัดสินใจไปเรียนกฎหมายที่ลอนดอน ประเทศอังกฤษ  ด้วยความที่ใฝ่ฝันที่อยากจะเป็นผู้ดีอังกฤษ เมื่อเรียนจบจึงเขาจึงกลับมาว่าความในอินเดีย แต่ด้วยความที่เขาเป็นคนขาดความเชื่อมั่นในตัวเอง อย่างรุนแรง คานธีไม่สามารถจะว่าความได้ เขารู้สึกอับอายมากจึงตัดสินใจหนีไปทำงานที่แอฟริกาใต้

เมื่อไปถึงแอฟริกาใต้ซึ่งตอนนั้นยังเป็นอาณานิคมของอังกฤษเช่นกัน เขาจึงได้รู้ว่าคนผิวดำและคนอินเดียที่อพยพมา อยู่ที่นั่นมีค่าเพียงแค่ “เศษคน” เพราะพวกเขาเหล่านั้น ไม่มีสิทธิออกเสียง ไม่มีสิทธิครอบครองทรัพย์สิน ไม่มีแม้กระทั่ง สิทธิแม้กระทั่งที่จะออกมาเดินถนนในยามค่ำคืน ไม่มีสิทธิทำตัวเสมอคนผิวขาว คานธีเจอเข้าด้วยตัวเองเมื่อครั้งหนึ่ง ที่เขาซื้อตั๋วรถไฟชั้นหนึ่งแต่มีผู้โดยสารผิวขาวเห็นเข้าจึงโวยวายกับพนักงาน คานธีจึงโดนย้ายลงไปนั่งที่ชั้นสาม ซึ่งเขาก็ไม่ยอม สุดท้ายเมื่อถึงสถานีถัดไปเขาจึงโดนพนักงานจับโยนออกจากรถไฟ คานธีอับอายมากและคิดจะหนี กลับอินเดีย แต่เมื่อได้นั่งไตร่ตรองอยู่คนเดียวทั้งคืนที่สถานีรถไฟแห่งนั้น คานธีก็คิดได้และตัดสินใจที่จะอยู่ที่ แอฟริกาใต้ต่อเพื่อจะต่อต้านการกระทำของคนอังกฤษที่กระทำต่อคนผิวดำและคนอินเดีย ซึ่งเขาได้เปิดเผยในภายหลังว่า คืนนั้นนับเป็นคืนที่เขาได้รับประสบการณ์ที่สร้างสรรค์ที่สุดในชีวิตคืนหนึ่งเลยทีเดียว

หลังจากเหตุการณ์ที่สถานีรถไฟในคืนนั้น คานธีจึงเริ่มจัดการประชุมกับคนอินเดียและคนผิวดำเพื่อหาทางเรียกร้อง ต่อสู้เพื่อสิทธิของพวกเขา ในช่วงแรกเขาได้พยายามใช้ความรู้ด้านกฎหมายที่เขามีอยู่แก้กฎหมายต่างๆที่ริดรอนสิทธิ และไม่เป็นธรรม แต่เขาก็ยังไม่สามารถที่จะเอาชนะอังกฤษซึ่งเก่งกฎหมายมากกว่าเขาได้ คานธีจึงได้เปลี่ยนวิธีการ มาเป็นการรวมพลังคนต่างเชื้อชาติศาสนา ให้รวมตัวกันให้สามัคคีกันเพื่อการต่อสู้แทน

แม้ว่าในด้านหนึ่งคานธีจะพยายามเรียกร้องสิทธิให้คนอินเดียและคนผิวดำ แต่ตอนนั้นในใจลึกๆของเขาซึ่งอยู่ในวัย สามสิบปลายๆ เขาก็ยังรู้สึกจงรักภักดีกับอังกฤษ เขายังร้องเพลงชาติอังกฤษ God Save The Queenและสอนลูกๆให้ ร้องเพลงนี้ด้วยความภาคภูมิใจ ดังนั้นเมื่อพวกซูลูลุกฮือขึ้นมาต่อต้านอังกฤษ คานธีมีโอกาสจึงได้เข้าร่วมกับกองทัพ อังกฤษเพื่อร่วมปราบ พวกซูลูนั้นมีเพียงหอกเป็นอาวุธขณะที่ทหารอังกฤษมีอาวุธปืนครบมือ การปราบพวกซูลูจึงไม่ต่าง กับการสังหารหมู่พวกซูลูนั่นเอง ภาพทหารอังกฤษยิงพวกซูลูคนแล้วคนเล่า อย่างสนุกสนานนั้นสร้างความสะเทือนใจ อย่างมากแก่คานธี และทำให้เขาสำนึกได้ถึงการกดขี่ข่มเหงที่อังกฤษกระทำ ต่อคนแอฟริกาใต้และคนอินเดียทั้งที่ใน แอฟริกาใต้และที่อินเดียบ้านเกิดของเขาเอง นอกจากนั้นเหตุการณ์ครั้งนั้นยังทำให้คานธีได้ตระหนักและรู้สึกผิดเป็น อย่างยิ่งถึงการที่เขาได้กดขี่ภรรยาเป็นอย่างมากอีกด้วย คานธีจึงคิดถึงการที่จะอุทิศตัวเองเพื่อรับใช้เพื่อนมนุษย์ให้ดีที่สุด โดยคิดว่าเขาจะทำเช่นนั้นได้ดีที่สุดก็ต่อเมื่อเขา สามารถบังคับความต้องการตัวเองให้ได้เสียก่อน คานธีจึงปาวารณาตนเอง ว่าจะถือเพศพรหมจรย์ตลอดไป

ในปี พ.ศ. 2499  แอฟริกาใต้ได้ออกกฎหมายใหม่กำหนดให้คนอินเดียทุกคนต้องจดทะเบียน ต้องพิมพ์ลายนิ้วมือ และถ้าเป็นผู้หญิงถึงกับขั้นจะต้องเปลื้องผ้าให้ตำรวจผิวขาวตรวจตำหนิรูปพรรณในการจดทะเบียนอีกด้วย คนอินเดียกว่า 3,000 คนจึงมาชุมนุมกันในโยฮันเนสเบิร์ก ในการชุมนุมครั้งนั้นมีพ่อค้ามุสลิมคนหนึ่งได้ตะโกนออกมาว่า “ข้าแต่พระเป็นเจ้า เราจะยอมเข้าคุกก่อนที่จะยอมแพ้ให้กฎหมายฉบับนี้” คานธีซึ่งไม่เคยนึกถึงเรื่องการเข้าคุกมาก่อน แต่เมื่อได้ยินเช่นนั้นเขาก็รู้โดยสัญชาตญานทันทีว่านี่อาจจะเป็นทางออกที่ดีที่สุดในสถานการณ์เช่นนั้น คานธีจึง ประกาศว่า “เราจะสวดขอต่อพระเป็นเจ้าว่าเราจะเข้าคุก และเราจะอยู่ในนั้นจนกว่ากฎหมายจะถูกยกเลิก”

เมื่อตำรวจบุกเข้ามาเพื่อสลายการชุมนุมและได้ใช้ความรุนแรงทุบตีคานธี เขาได้แต่นั่งนิ่งๆให้ตำรวจทุบตี เมื่อผู้ชุมนุมได้เห็นเช่นนั้นจึงยอมอยู่นิ่งๆยอมให้ตำรวจทุบตีตามคานธี  ในตอนนั้นคานธีคิดว่า “ถ้าหัวใจคนเหล่านั้นปิด เราก็จะไม่สามารถสัมผัส ได้ว่าพวกเขาคิดอะไรอยู่ และจะไม่สามารถใช้เหตุผลอะไรกับเขาได้” สุดท้ายเขาก็คิดได้ว่า การใช้ความรุนแรงต่อสู้นั้น ไม่ใช่หนทางที่ถูกต้อง และนั่นคือที่มาของแนวคิด “วิธีต่อต้านแบบอหิงสา” ซึ่งเป็นการ ยืนหยัดต่อต้านผู้มากดขี่ โดยผู้ต่อต้านจะบอกผู้กดขี่ว่าเราจะไม่ยอมแพ้ไม่ว่าจะโดน กระทำอย่างไร รุนแรงขนาดไหน ขณะเดียวกันผู้ต่อต้านก็จะแสดงออกให้ผู้กดขี่รู้และมั่นใจว่า ผู้ต่อต้านจะไม่มีวันใช้ ความรุนแรงหรือทำร้ายผู้มากดขี่กลับ

คานธีได้นำแนวคิดการต่อต้านแบบอหิงสามาใช้ในการต่อต้านการกดขี่ที่คนอินเดียและคนผิวดำในแอฟริกาใต้โดนกระทำมาโดยตลอด และในปีพ.ศ. 2456 แอฟริกาใต้ได้ออกกฎหมายใหม่กำหนดให้การแต่งงานระหว่างชาวฮินดูและมุสลิมเป็น “โมฆะ” คนงานกว่า 50,000 คนไม่พอใจกฎหมายใหม่นี้จึงได้นัดกันหยุดงานประท้วงตามแนวทางของคานธี  สุดท้าย แอฟริกาใต้จำต้องยอมยกเลิกกฎหมายในที่สุด คานธีจึงบอกว่านี่คือการพิสูจน์ว่าพลังมวลชนนั้นสามารถเอาชนะ การกดขี่ข่มเหงได้

ตอนนั้นบทบาทการต่อต้านการกดขี่ข่มเหงและชื่อเสียงของคานธีโด่งดังมากในแอฟริกาใต้ และได้โด่งดังกลับมาถึงอินเดีย ซึ่งกำลังโดนอังกฤษกดขี่ข่มเหงอย่างมาก ดังนั้นเมื่อคานธีตัดสินใจกลับอินเดียในปี พ.ศ. 2458 ตอนนั้นเขาอายุ 46 ปี คนอินเดียที่ได้ทราบข่าวการกลับประเทศของเขาจึงแห่แหนมารอรับคานธีกันจนล้นหลาม สภาพของคนอินเดียภายใต้ การเป็นอาณานิคมของอังกฤษในสมัยนั้นน่าสงสารมาก เพราะตอนนั้นอินเดียถูกกดขี่เป็นอย่างมาก ทรัพยากรต่างๆของ อินเดียถูกอังกฤษดูดกลับไปหมด อินเดียตกต่ำมากจนมีคำกล่าวว่า แม้ว่าอินเดียอยากจะผลิตเข็มกลัดเล็กๆสักอันก็อาจจะ ไม่มีปัญญาผลิต อ่อนแอขนาดนั้นเลยทีเดียว ตอนนั้นคานธีได้แต่คิดว่าทำไมคนอินเดียที่มีมากมายถึง 300 ล้านคนจึงต้อง ยอมคนอังกฤษเพียงแสนคนที่เข้ามาปกครอง อย่างเอารัดเอาเปรียบ คานธีจึงเริ่มชักชวนให้คนอินเดียเริ่มต่อต้านคนอังกฤษ

ในปี พ.ศ. 2462 คนอินเดียกว่า 2,000 คนได้รวมตัวกันชุมนุมประท้วงกฎหมายใหม่โดยมีการชุมนุมในเมือง “อำมริสา”  โดยผู้มาร่วมชุมนุมไม่รู้ว่านายพลชาวอังกฤษได้สั่งให้ทหารอังกฤษเอาปืนมายิงผู้ชุมนุมได้ เมื่อทหารมาถึงที่ชุมนุม ก็เริ่มยิงกราดใส่ผู้ชุมนุม ทหารยิงผู้ชุมนุมที่ไม่มีอาวุธจนกระสุนหมดทำให้ผู้มาร่วมชุมนุมตายเกือบ 400 คน ที่เหลืออีกนับพันคนล้วนได้รับบาดเจ็บ นายพลชาวอังกฤษได้ออกมาประกาศหลังเหตุการณ์สังหารหมู่คราวนั้นว่า “คนอินเดียมีสองทางเลือก คือยอมคลานเป็นหนอนหรือจะยอมโดนโบยโดนเฆี่ยนจนตาย” นั่นหมายความว่าคนอินเดียมีสองทางเลือกคือยอมให้อังกฤษกดขี่ต่อไปหรือถ้าไม่ยอมก็ต้องยอมตายนั่นเอง

ตอนนั้นทุกคนในอินเดียต่างคิดว่าต่อไปจะต้องเกิดการนองเลือดขึ้นอย่างแน่นอน เพราะถ้าคนอินเดียซึ่งกำลังเคียด แค้นลุกขึ้นมาต่อสู้ และคิดได้ว่าถ้าคนอินเดียที่มีมากกว่า 300 ล้านคนเดินเข้าไปฆ่าคนอังกฤษที่มีเพียง 100,000 คนเศษเพื่อล้างแค้น โดยคิดเอาว่าคนอังกฤษ 1 คนจะต้องฆ่าคนอินเดีย เกือบ 4,000  คนให้ตายก่อนที่คนอินเดีย จะเข้าถึงตัวได้เท่านั้น คนอังกฤษจึงจะรอดได้ แต่การนองเลือดก็ไม่เกิดขึ้นเพราะคานธี คานธีทำอย่างไรจึงสามารถเปลี่ยนความเคียดแค้นของคนอินเดียให้กลายเป็นความสามัคคีและต่อสู้จนได้รับเอกราชในที่ สุด รออ่านฉบับหน้านะครับ 

[smartslider3 slider="9"]