ต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ผมได้รับเชิญไปร่วมงาน CLMVT Logistic Conference และกิจกรรม Business Matching ที่จังหวัดขอนแก่นซึ่งจัดโดยสภาอุตสาหกรรมจังหวัดขอนแก่น และองค์กรภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ในจังหวัดขอนแก่นและจังหวัดต่างๆในภาคอีสานและรวมถึงภาควิชาการอีกด้วย
ผมต้องอภิปรายบนเวทีเสวนาในหัวข้อ “โอกาสการค้า การลงทุนด้านโลจิสติกส์ในกลุ่มประเทศ กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา เวียดนาม และไทย” ที่คนไทยเริ่มรู้จักกันมากขึ้นในชื่อ CLMVT เลยขอหยิบประเด็นสำคัญๆมาเขียนให้อ่านกัน
ประเด็นแรกที่ผมพูดทันทีและพูดมาหลายที่แล้วด้วยก็คือผม “ไม่ชอบ” คำว่า CLMVT เลย เพราะตั้งแต่อาเซียนเราเริ่ม รวมตัวกันและพัฒนาความสัมพันธ์ต่อเนื่องมาเป็นจนประชาคมอาเซียนนั้น กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมาและเวียดนามนั้น ยังมีระดับของการพัฒนาน้อยกว่าอีก 6 ประเทศที่เหลือซึ่งรวมถึงประเทศไทยของเราด้วย จึงมีการเรียก 4 ประเทศนี้ให้เป็น กลุ่มเดียวกัน เพราะในหลายๆข้อตกลงอาเซียนมีพันธกิจจะต้องช่วยเหลือสนับสนุน CLMV เป็นพิเศษเพื่อที่เราทั้ง 10 ประเทศจะได้เจริญก้าวหน้าทัดเทียมกัน ดังนั้น CLMV จึงเป็นคำที่แอบมีนัยยะของความเจริญที่ยังน้อยกว่าอยู่
เมื่อผมเดินสายบรรยาย AEC ผมมักจะบอกกับคนที่เข้ามาฟังผมว่า
หนึ่ง)ไทยเราไม่สามารถฟื้นได้โดยลำพังเราต้องอาศัย AEC
สอง) อาเซียน 5 ประเทศ มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย บรูไนและฟิลิปปินส์นั้น วันนี้เขามียุทธศาสตร์ชัดเจนไปได้ ดีทุกประเทศและ “ขนาดของกำลังซื้อของชาติ” กำลังจะแซงไทยกันทุก ประเทศยกเว้นบรูไนเพราะมีประชากรน้อยมากๆ
ในขณะเดียวกัน CLMV นั้นก็กำลังพัฒนาดีวันดีคืนกันทุกประเทศโดยเฉพาะเวียดนาม แถมจีนก็กำลังปรับทิศทางการ พัฒนาประเทศ โดยจีนเล็งจะใช้มณฑลหยุนหนานและเขตปกครองตนเองกว่างสีเป็นประตูมาสู่ AEC ซึ่ง จีนจะลงทุน สร้างถนนและรถไฟความเร็วสูงจากจีนลงมายังเมียนมา สปป.ลาว และเวียดนามมาออกกัมพูชา ทุกเส้นทางล้วนมาจ่ออยู่ ชายแดนประเทศไทย ซึ่งนั่นหมายความว่าจีนจะลงมา AEC ได้เส้นทางทั้งหมดที่ว่าต้อง “ผ่าน” ไทยทั้งสิ้น ดังนั้นถ้าไทย เราร่วมมือกับ CLMV ในการเจรจาต่อรองกับจีนซึ่งใหญ่มากเกินกว่าเราประเทศใดประเทศหนึ่งจะต่อรองกับเขาโดยลำพัง ทั้ง 5 ประเทศรวมจีนตอนใต้ก็จะได้ประโยชน์สมกัน มิเช่นนั้นพวกเราจะเสียเปรียบจีนทุกการเจรจาเลย
นอกจากนี้เศรษฐกิจไทยนั้นแอบพึ่งพิง CLMV โดยที่เราไม่รู้ตัว ถ้าตัดเอาการค้าขายกับกลุ่มประเทศนี้ออกไป รับรองไทย เราเจ๊งทันที จึงเป็นเรื่องจำเป็นและสำคัญอย่างยิ่งที่ไทยจะต้องจับมืออย่างจริงใจให้เหนียวแน่นกับ CLMV เพื่อทำมาค้าขาย และทำธุรกิจร่วมกับจีน ไทยเราถึงจะฟื้นได้
เดินสายบรรยายและเขียนเรื่องนี้จนหลายคนรวมถึงรัฐบาลไทยเห็นความสำคัญของการร่วมมือกับ CLMV รัฐบาลไทยจึง ได้เริ่มมีโครงการบางอย่างร่วมกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยใช้คำว่า “CLMVT” ซึ่งจนบัดนี้ผมก็ยังนึกไม่ว่า ออกว่าคนที่เขา คิดเรื่องนี้ เขาคิดอะไรอยู่ เพราะถ้าดูแนวคิดการตั้งชื่อกลุ่มของ CLMV เด็กเรียนภาษาอังกฤษใหม่ๆก็คงพอจะเดาได้ว่าเขา เรียงลำดับตามอักษรภาษาอังกฤษ A B C D
ดังนั้นถ้าไทยเราจะไปรวมกับเขา และเขายอมรับจะให้เราไปรวม มันก็ต้องเป็น CLMTV ไทยต้องไปขอแทรกอยู่ระหว่าง เมียนมากับเวียดนาม ซึ่ง CLMV และโลกก็คงจะงงๆว่าเกิดอะไรขึ้นกับ T-Thailand เราก็เลยขอแค่ไปต่อท้ายกับเขาเป็น CLMVT ถ้ามองในแง่พัฒนาการทางเศรษฐกิจซึ่งตั้งแต่ต้นที่มีการรวมตัวเป็น CLMV นั้น โลกและ 4 ประเทศนี้เขาก็ยอม รับกันอยู่แล้วว่าพวกเขายังตามหลังอยู่ ดังนั้นถ้าไทยเราเลือกที่จะไปเติมตัว T-Thailand ไปในกลุ่มนี้ โลกก็อาจจะคิดได้ว่า วันนี้ไทยเราได้ประกาศตัวเองชัดเจนพัฒนาประเทศขึ้นมาได้ทัดเทียมใกล้เคียงกับกลุ่มประเทศนี้แล้ว??
คนคิดคำว่า CLMVT คงคิดถึงประเด็นนี้น้อยไปหน่อยและอาจจะไม่รู้จักคำว่า GMS : Greater Mekong Subregion อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งมีทั้ง 4 ประเทศใน CLMV ประเทศไทยและรวมมณฑลหยุนหนานและเขตปกครอง ตนเองกว่างสีซึ่งอยู่ทางจีนตอนใต้เข้ามาด้วย
GMS นี่เริ่มคิดเริ่มร่วมมือกันมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2535 โดยตั้งเป้าร่วมมือกัน 9 ด้านด้วยกันเช่น คมนาคมขนส่ง โทรคมนาคม พลังาน การค้า การลงทุน การเกษตร สิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยวและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ครบถ้วนทุกด้านตามที่ ประเทศใกล้ชิดพึงจะร่วมมือกัน เงินทุนที่จะใช้เพื่อพัฒนา GMS เข้าด้วยกันทางจีนก็ลงเงินก้อนใหญ่ก่อนแถมยังชวน ประเทศต่างๆให้ไปลงขันเพื่อถือหุ้นใน AIIB : Asian Infrastructure Investment Bank เพื่อให้สมาชิก GMS มีแหล่งกู้เงิน มาลงทุนพัฒนาประเทศ ซึ่งหลายประเทศต่างก็ร่วมลงเงินรวมทั้งประเทศไทยด้วย
ดังนั้นถ้าจะขอแอบๆไปรวมกับ CLMV นี่ผมว่าไปให้ถึง GMS ซึ่งรวมเอาจีนตอนให้หยุนหนานและกว่างสี ด้วยจะดูเท่ และดูมีอนาคตมากกว่ากันเยอะ ที่สำคัญลองดูแผนที่ GMS ดูก็จะเห็นได้ชัดว่าไทยเราอยู่ตรงกลางเป๊ะเลย เราสามารถเป็น ศูนย์กลาง GMS ได้สบายๆเลยถ้ามองออก บริหารเป็นและรักเพื่อนบ้านอย่างจริงใจ
ประเด็นต่อมาที่อภิปรายบนเวทีก็คือผู้เชี่ยวชาญด้านโลจิสติกส์และการค้าชายแดนสี่ท่านที่ขึ้นเวทีกับผมได้แชร์ประสบ การณ์ค้าขายกับประเทศเพื่อนบ้านว่าไม่ง่ายอย่างที่หลายๆคนคิด ทุกคนบนเวทีล้วนเคยเจ็บตัวจากการขาดทุน และการโดน เบี้ยวมาแล้ว แต่สุดท้าย ทุกคนก็ประสบความสำเร็จและยืนยันว่าอย่างไรเสียตลาดประเทศเพื่อนบ้านก็ยังน่าสนใจมากๆ สำหรับคนไทย
ข้อสังเกตของผมในเรื่องที่คนไทยส่วนมากที่ไปมีปัญหาในการทำธุรกิจในประเทศเพื่อนบ้านก็คือเราหลงตัวเองจนชะล่าใจมากจนเกินไปเพราะคิดว่าคนไทยเก่งกว่าเพื่อนบ้าน สินค้าไทยดีกว่าสินค้าเพื่อนบ้าน เวลาออกไปลงทุนหรือค้าขายกับ CLMV ก็เลยไม่ค่อยเตรียมตัวทำการบ้านและศึกษาให้ดีพอเหมือนกับเวลาที่ต้องไปลงทุนในประเทศอื่นๆ ก็เลยต้องเจ็บ ตัวเป็นธรรมดา จะว่าไปแล้วคนไทยที่ไปเอาเปรียบและโกงเพื่อนบ้าน CLMV ก็มีอยู่ไม่น้อยเหมือนกัน
การค้าขายกับกลุ่ม CLMV ของปีพ.ศ.2561 มูลค่ารวม 1.34 ล้านล้านบาทนั้นแม้ว่าจะเป็นเพียง 8.3% ของมูลค่าการค้า ต่างประเทศรวมของไทย 16.2 ล้านล้านบาทอาจจะดูไม่ค่อยสำคัญ แต่ถ้าดู “ดุลการค้า” ซึ่งจะบอกว่าการค้าต่างประเทศ ของไทยกับประเทศอื่นๆนั้นไทยได้กำไรหรือขาดทุน จะเห็นโดยทันทีเลยว่า การค้ากับ CLMV นั้นมีความสำคัญกับ เศรษฐกิจไทยอย่างยิ่ง เพราะเราได้เปรียบดุลการค้าหรือได้กำไรอยู่ในหลักสี่แสนถึงห้าแสนล้านบาทมาโดยตลอด ยิ่งปีล่าสุด 2561 ที่ดุลการค้า ต่างประเทศรวมแล้วไทยขาดทุนอยู่ 4,656 ล้านบาทนั้น แต่ค้าขายกับ CLMV ไทยกลับได้ กำไรสูงถึง 550,000 ล้านบาท
ที่ประเทศเพื่อนบ้านมีกำลังซื้อสูง มีเงินมาซื้อสินค้าไทยได้อย่างต่อเนื่องได้ก็เพราะเศรษฐกิจของทั้งสี่ประเทศนี้สามารถ เติบโตได้อย่างต่อเนื่องในอัตราที่สูงระดับ 6-7 เปอร์เซ็นต์ มาอย่างต่อเนื่องและจะเติบโตในอัตราสูงระดับนี้ต่อไปได้อีก หลายปี โดยเฉพาะเวียดนามจะติดอันดับหนึ่งในสามประเทศที่เติบโตสูงที่สุดในโลก
การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment : FDI) ซึ่งเป็นการลงทุนในอุตสาหกรรมต่างๆจากต่าง ประเทศนั้นเป็นเงินทุนก้อนมหึมาซึ่งเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญที่ประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายรวมไทยต่างก็ต้องการ ตัวอย่างที่ชัดเจนก็เช่น สิงคโปร์ที่สามารถพัฒนาแซงหน้าทิ้งห่างประเทศ อื่นๆใน AEC ได้ก็เพราะเขาสามารถดึงดูด FDI ได้มากกว่า ประเทศอื่นๆ ทั้งๆที่ตอนแยกประเทศกับมาเลเซียในปีพ.ศ. 2508 นั้น สิงคโปร์นั้นดูแย่กว่าไทยเสียด้วยซ้ำไป
ในปีพ.ศ. 2553 FDI ที่ไหลเข้าไทยมีมูลค่าสูงราว 470,000 ล้านบาท FDI ที่ไหลเข้า CLMV มีมูลค่าแค่ 361,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 77 เปอร์เซ็นต์ของ FDI ของไทยเท่านั้นเอง แต่พอถึงปีพ.ศ. 2560 ที่ FDI ซึ่งไหลเข้ามาลงทุนในไทยลดลง เหลือเพียง 291,000 ล้านบาท แต่ FDI ที่หลั่งไหลเข้าไปลงทุนใน CLMV กลับมี มูลค่าสูงถึง 729,000 ล้านบาท มากกว่า ไทยถึง 250 เปอร์เซ็นต์
ที่เวียดนามสามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็วจนโลกทึ่งก็เพราะ FDI ที่เคยไหลเข้าไทยเพียงประเทศเดียวในภูมิภาคนี้กลับทิศ กลับทางหันไปไหลเข้าเวียดนามมากกว่าไทยนั่นเอง ในปีพ.ศ. 2556 FDI ของไทยมีมูลค่า 508,800 ล้านบาท ส่วน FDI ของเวียดนามมีมูลค่าเพียง 284,800 ล้านบาท แต่หลังจากนั้นเป็นต้นมา FDI ของเวียดนามก็เริ่มแซงไทยได้มาอย่างต่อ เนื่องจนถึงปัจจุบัน ในช่วงปีพ.ศ. 2557 ถึง 2560 FDI ของ ไทยมีมูลค่ารวม 835,000 ล้านบาท แต่ FDI ของเวียดนามมี มูลค่ารวม 1,526,000 ล้านบาท สูงมากกว่าไทยเกือบๆ 2 เท่า และนี่คือเหตุผลสำคัญที่ทำให้ผมจึงย้ำมาโดยตลอดว่า เวียดนามกำลังจะแซงไทย และที่ไทยต้องจำยอมให้มีเลือกตั้งนี่ก็เพราะต้องการ FDI ให้ไหลกลับเข้ามาเหมือนเดิม เหมือนตอนก่อนจะมีคสช.นั่นเอง จากข้อมูลคงจะเห็นแล้วว่า CLMV มีความสำคัญกับไทยเรามากแค่ไหน คนไทยรัฐบาลไทยจะต้องเลิกดูถูกดูแคลน เพื่อนบ้านกันเสียที และต้องหันไปร่วมมือกับเขาอย่างจริงใจ แต่ไม่ใช่ในรูปแบบ CLMVT แต่จะต้องร่วมมือในรูปแบบ GMS โดยด่วนเพราะจะเป็นโอกาสทองของทั้ง 5 ประเทศอย่างแท้จริง