มองมุมเกษมสันต์ ตอน ด่อว์อองซานซูจิ

0
606

วันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายนที่ท่านผู้อ่านกำลังอ่านบทความนี้อยู่นั้น เมียนมากำลังมีการเลือกตั้งทั่วไปเพื่อจะชี้ชะตาว่า พรรคของด่อว์อองซานซูจิ จะเป็นแกนนำรัฐบาลบริหารประเทศต่ออีกสมัยหนึ่งหรือไม่? วันนี้จึงจะแนะนำให้รู้จักบางส่วนของชีวิตผู้หญิงแกร่งคนนี้กันหน่อย

เมื่อเธออายุได้สองขวบหนึ่งเดือน ปู่โช่ว์อองซานบิดาของเธอโดนสังหารเพราะความขัดแย้งทางการเมือง ต่อมาเมื่อมารดาต้องไปรับตำแหน่งทูตที่อินเดีย เธอจึงได้ไปศึกษาที่นั่นและไปเรียนต่อในอังกฤษจนพบรักกับไมเคิล อริส นักศึกษารุ่นน้อง ในมหาวิทยาลัยเดียวกัน เมื่อเรียนจบเธอก็ได้ทำงานที่องค์การสหประชาชาติและมีชีวิตครอบครัวที่มีความสุขกับไมเคิล และลูกชายสองคน อเล็กซานเดอร์และคิม เมื่อได้ข่าวว่ามารดาซึ่งอยู่ในย่างกุ้งป่วยหนัก เธอจึงกลับมาเยี่ยมในเดือน มีนาคม พ.ศ. 2531

เหมือนโชคชะตาจะกำหนดให้เกิดมาเป็นวีรสตรีของชาติคนที่สองต่อจากบิดาของเธอ รัฐบาลทหารของพม่าได้ใช้ความ รุนแรงจัดการกับนักศึกษาและประชาชนในการชุมนุมเมื่อวันที่ 8 เดือน 8 ปีค.ศ. 1988 หรือที่เรียกกันว่าการชุมนุม 8888 ในขณะนั้นนักศึกษาและประชาชนยังไม่มีผู้นำก็เลยไปชวนด่อว์อองซานมาขึ้นเวทีปราศรัยด้วยเมื่อ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2531 นั่นป็นครั้งแรกของการขึ้นเวทีปราศรัยของด่อว์อองซานที่พระมหาเจดีย์ชเวดากอง ต่อหน้าคนเมียนมาหลายแสนคนเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวทางการเมืองครั้งใหญ่ที่สุดของประเทศ

อีกสามอาทิตย์ต่อมาทหารได้ตั้งสภาฟื้นฟูกฎระเบียบแห่งรัฐหรือสล็อคร์ อาทิตย์ต่อมาด่อว์อองซานกับคณะก็ได้ร่วมกันก่อ ตั้งพรรคสันนิบาตเพื่อประชาธิปไตย (NLD) โดยเธอรับตำแหน่งเลขาธิการพรรค ตอนนั้นเธอคิดเพียงว่าเมื่อจัดพรรคเสร็จ เรียบร้อยจะกลับไปใช้ภูฏานเพื่อใช้ชีวิตกับครอบครัวต่อไป แต่ก่อนที่เธอจะได้เดินทางออกนอกประเทศ รัฐบาลทหารก็ ได้สั่งกักบริเวณเธอเป็นเวลา 3 ปี ก่อนที่จะขยายเวลากักบริเวณเธอเป็น 6 ปีโดย ไม่มีเหตุผล

ด่อว์อองซานซึ่งเมื่อตอนอยู่อินเดียได้มีโอกาสศึกษาวิธีการต่อสู้แบบอหิงสาของมหาตมะคานธี จึงได้ใช้วิธีการต่อสู้แบบของเขามาเป็นแนวทางในการต่อสู้กับรัฐบาลทหาร จนโลกได้รับรู้และทำให้เธอได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปี พ.ศ. 2534

หลังจากครบ 6 ปีในการโดนกักบริเวณครั้งแรก ด่อว์อองซานจึงมีโอกาสได้พบกับสามีและลูกทั้งสองที่มาเยี่ยมเธอใน เมียนมา โดยไม่มีใครคาดคิดว่านั่นจะเป็นการพบกันครั้งสุดท้ายอย่างพร้อมพร้อมตาของครอบครัวนี้ เพราะเมื่อไมเคิลและ ลูกๆกลับไป อีกสองปีต่อมาเขาเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากและก็ไม่ได้รับวีซ่าอนุญาตให้เดินเข้าเมียนมา จนกระทั่งอีก 2 ปีต่อ มาคือปีพ.ศ. 2542 ซึ่งรัฐบาลทหารเมียนมาได้อนุญาตให้ด่อว์อองซานเดินทางออกนอกเมียนมาได้ แต่เธอตัดสินใจที่จะไม่ เดินทางออกนอกประเทศเพราะรู้ดีว่าถ้าเดินทางออกนอกประเทศวันนั้นเธอจะไม่มีโอกาสได้กลับมา ช่วยพี่น้องประชาชน เรียกร้องประชาธิปไตยได้อีก

เมื่อตัดสินใจจะอยู่สู้ต่อ ด่อว์อองซานจึงได้เดินทางไปบันทึก วิดิโอเทป ที่สถานทูตอังกฤษในเมียนมาเพื่อส่งไปอำลาไมเคิล แต่เหมือนโชคชะตาจะกลั่นแกล้งเพราะวีดิโอเทปของเธอ ไปถึงมือสามีหลังจากที่เขาเสียชีวิตไปแล้วเพียงสองวัน

ต่อมาด่อว์อองซานก็ถูกสั่งกักบริเวณอีกสองครั้งคือในปี พ.ศ. 2543 และ 2546 ในปีพ.ศ. 2552 เมื่อเมียนมามีการเลือกตั้ง ใหญ่ พรรค NLD ของเธอคว่ำบาตรการเลือกตั้ง จนกระทั่งการเลือกตั้งซ่อมในเดือนเมษายนปี พ.ศ. 2555 พรรค NLD จึงได้ส่งผู้สมัครลงแข่งขันและสามารถกวาดชัยชนะไปได้เกือบทุกเขต และนั่นเป็นสัญญาณแรกที่ชัดเจนที่สุดซึ่งคนเมียนมา ส่งออกมาบอกรัฐบาลว่า พวกเขาต้องการประชาธิปไตยและต้องการให้ด่อว์อองซานมาเป็นผู้นำของพวกเขา

เมื่อพรรค NLD ของเธอชนะการเลือกตั้งครั้งที่แล้วเมื่อปีพ.ศ. 2558 อย่างถล่มทลายจนพรรค USDP ของทหารต้องยอม แพ้และถอยกับเข้ากรมกองอย่างสงบนั้น แทนที่ด่อว์อองซานจะใช้ไม้แข็งเดินหน้าลุยกับทหาร เธอกลับใช้ไม้อ่อนใช้วิธี เดินเข้าหาและพูดคุยกับกองทัพถึงการถ่ายโอนอำนาจอย่างนุ่มนวล ไม่แข็งกร้าวเสมือนหนึ่งว่าเธอไม่เคยโดนกองทัพกัก บริเวณและกดขี่ข่มเหงเธอ มาโดยตลอดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531

แม้ว่าลึกๆแล้วกองทัพอาจจะยังไม่สบายใจนักกับการก้าวขึ้นมามีอำนาจของด่อว์อองซาน แต่เมื่อเธอใช้ความนุ่มนวลและ การเจรจาเป็นตัวนำ กองทัพจึงจำต้องยอมรับกับผลเลือกตั้งที่เกิดขึ้น แม้ว่าในความเป็นจริงกองทัพจะยังมีอำนาจเต็มอยู่ เหมือนเดิมและสามารถจะทำอะไรก็ได้ แต่กองทัพก็เลือกที่จะอยู่นิ่งๆปล่อยให้เธอบริหารประเทศต่อไปได้
ห้าปีที่ผ่านมา ต้องถือว่าด่อว์อองซานบริหารประเทศได้ดีกว่าที่หลายฝ่ายคาด และประเทศทำท่าจะไปได้สวยกว่าหลายๆประเทศ จนกระทั่งเกิดการระบาดของโควิด-19 ซึ่งทำให้เธอเสียคะแนนนิยมไปพอสมควร แต่ก็ไม่น่าจะทำให้พรรค NLD ของเธอไม่ชนะการเลือกตั้งในครั้งนี้

Cover image by : www.frontiermyanmar.net

[smartslider3 slider="9"]