ยุทธศาสตร์สู่ AEC ตอนที่ 53 ปฏิรูปภาษี (1)

0
549

อย่างที่สัญญาไว้ว่าจากนี้ไป ผมจะเน้นเรื่องการปฏิรูปในด้านต่างๆเพื่อให้เป็นอาหารสมองของท่าน อาทิตย์นี้ ขอเริ่มด้วยการปฏิรูปภาษี เพราะหัวหน้าทีมเศรษฐกิจของ คสช.ท่านได้ไปเยี่ยมเยียนกระทรวงการคลังมาแล้ว และดูเหมือนว่าข้าราชการที่นั่นจะได้เสนอท่านแล้วว่าจะต้องทำอะไรกันบ้าง

ข้อสังเกตแรกของผมในเรื่องการปฏิรูปก็คือ คนที่ทำงานด้านนั้นๆมาเป็นเวลานานๆ มีโอกาสน้อยมากที่จะคิด ออกนอกกรอบหรือคิดอะไรที่จะเป็นการปฏิรูปได้ ซึ่งนี่เป็นเรื่องธรรมชาติเพราะคนปรกติทั่วโลก ไม่มีใครคิด อยากจะเปลี่ยนแปลงหรือปฏิรูปอะไร คนส่วนใหญ่ล้วนอยากที่จะทำงานในสภาพแวดล้อมเดิมๆ ทำงานเพื่อ บรรลุเป้าหมายเดิมๆที่ตัวเองคุ้นเคย

ดังนั้นนอกจากการไปเยี่ยมกระทรวงหรือหน่วยงานต่างๆแล้ว คสช.ควรจะไปเยี่ยมองค์กรอื่นที่เขาได้รับ ผลกระทบจากนโยบายและการปฏิบัติของหน่วยงานที่ผมกำลังจะปฏิรูป ไปฟังเขาโดยไม่เอาข้าราชการ หรือเจ้าหน้าที่ไปด้วย องค์กรอื่นๆเขาจะได้แสดงความเห็นอย่างเต็มที่ นอกจากนี้ควรไปเอางานวิจัยดีๆ มาดูว่าหน่วยงานแบบเดียวกันในต่างประเทศที่ทำงานได้ดีกว่าเรานั้นเขามีโครงสร้างองค์กรแบบไหน ทำงานกันอย่างไร KPI ตั้งกันแบบไหน

ข้อสังเกตอีกเรื่องหนึ่งก็คือ คนที่จะทำการปฏิรูปได้ดีนั้น ต้องตั้งคำถามที่ดีให้เป็น การตั้งคำถามที่ดีนั้นเป็นเรื่อง สำคัญมากๆ อัจฉริยะของโลกบอกเอาไว้ว่าถ้าหากเราตั้งคำถามถูกต้องเราจะสามารถเปลี่ยนแปลงโลกได้ ผมขอบอกว่าถ้าหาก คสช.ถามคำถามถูกต้อง คสช.ก็จะสามารถปฏิรูปประเทศได้

ผมขออนูญาตลองตั้งคำถามเกี่ยวกับการปฏิรูปภาษีให้คนที่เกี่ยวข้องลองตอบดูก่อนนะครับ

หนึ่ง ระบบภาษีปัจจุบันของไทย ทำไมประสิทธิภาพการจัดเก็บจึงต่ำกว่าประเทศอื่นๆ ธนาคารโลกเคยมาศึกษา แล้วบอกว่า การจัดเก็บภาษีของไทยเรานั้นต่ำกว่าที่ควรจะเป็นประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์ของ GPD นั้นกระทรวง การคลังได้ทำอะไรไปบ้างแล้วเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษี? นับตั้งแต่วันที่ธนาคารโลกเขาบอกมานั้น ประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีของไทยดีขึ้นหรือแย่ลงอย่างไร? เพื่อให้ท่านสนใจกับคำถามนี้เป็นพิเศษ ขอให้ข้อมูลว่า 5  เปอร์เซ็นต์ของ GPD นั้นคิดเป็นเม็ดเงินภาษีปีละ 5-600,000 ล้านบาทนะครับ ไม่ใช่เงินน้อยๆ

สอง ประเทศอื่นๆ ที่เขามีประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีที่ดีกว่าไทยเขาทำอย่างไร? มีอะไรที่เขาทำแล้วเราไม่ได้ทำ? โครงสร้างองค์กรหน่วยจัดเก็บภาษีของเขากับเราต่างกันอย่างไร?

ก่อนผมถามต่อ ขอขีดเส้นใต้ให้ระวังคำตอบในแนวที่ว่า “เราทำได้ดีแล้วเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่ทำได้แย่ กว่าเรา” เพราะเป้าหมายของการปฏิรูปนั้นคือเราต้องการทำให้ดีขึ้น ทำให้ดีที่สุด โดยเปรียบเทียบกับประเทศ ที่ทำได้ดีกว่าเรา ไม่ใช่ปลอบใจตัวเองว่าเราทำได้ดีแล้วโดยการเอาไปเปรียบเทียบกับประเทศที่ทำได้แย่กว่าเรา

สาม เป็นหน้าที่ของใคร? เป็น KPI  ของใครที่จะต้องเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีของไทย? มีการระบุไว้ ตรงไหนอย่างไรบ้างว่าถ้าหากคนๆนั้นหรือหน่วยงานนั้นทำได้สำเร็จอะไรคือรางวัลของเขา? และถ้าหากทำ ไม่สำเร็จอะไรคือบทลงโทษ? ที่ผ่านมาเคยมีการให้รางวัลหรือลงโทษที่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มประสิทธิภาพ การจัดเก็บภาษีของไทยหรือไม่?

ยังมีอีกหลายคำถามที่ควรจะถามเพื่อการปฏิรูปภาษีแต่ผมจะเก็บเอาไว้ถามในวันพุธหน้า วันนี้ขอจบด้วยคำถาม ที่คาใจผมมานานแล้วว่า “ไม่ว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโตหรือถดถอย ผมสังเกตเห็นว่าการจัดเก็บภาษีของไทยเรา มักจะเก็บได้ตามเป้าเสมอ คำถามจึงมีอยู่ว่าหน่วยงานจัดเก็บภาษี ของเราเก่งมากๆ หรือการตั้งเป้าการจัดเก็บ ภาษีของเรามีปัญหาครับ?”

[smartslider3 slider="9"]