AEC for Happy Family : ทำบุญเข้าพรรษาเพื่อนบ้าน

0
482
AEC for Happy Family : ทำบุญเข้าพรรษาเพื่อนบ้าน

AEC for Happy Family กับเกษมสันต์ / สิงหาคมและกันยายน 2559
ทำบุญเข้าพรรษาเพื่อนบ้าน

เทศกาลเข้าพรรษาและวันอาสาฬหบูชาเพิ่งจะผ่านพ้นไป ผมเลยจะขอเก็บตกการทำบุญของเพื่อนบ้านของเราว่ามีอะไร แตกต่างไปจากไทยเราบ้างหรือไม่นะครับ เพื่อให้คุณแม่และคุณพ่อเก็บเอาไปสอนลูกรัก
เริ่มกันที่กัมพูชา ประเทศซึ่งผู้คนมีนิสัยใจคอเหมือนคนไทยมากๆ ไม่ว่าจะเป็นการถูกปลูกฝังให้ลูกมีความกตัญญูต่อ บุพการี คนกัมพูชาถูกเลี้ยงให้มีความคิดว่าเกิดเป็นลูกต้องดูแลพ่อแม่ ทำงานได้เงินเท่าไหร่ก็ตามแม้จะน้อยนิดแค่ไหนก็ ต้องส่งเสียให้พ่อแม่ได้ใช้ แต่เขาอาจจะกตัญญูมากกว่าคนไทยในแง่ที่ว่าถ้าพ่อแม่ใครเสียแล้วลูกส่งร่างที่ไร้วิญญาณของ พ่อหรือแม่ไปสวดศพที่วัดนี่ถือเป็นลูกอกตัญญูนะครับ ต้องจัดพิธีสวดศพในบ้านตนเองเลยถึงจะเป็นลูกกตัญญูครับ
นอกจากความกตัญญูซึ่งมีเหมือนคนไทยเราแล้ว คนกัมพูชายังชอบเข้าวัดทำบุญเมื่อถึงโอกาสอันควรเหมือนคนไทยอีก ด้วย แต่ก็มีบางเรื่องที่แตกต่างกันอย่างน่าอะเมซิ่ง อย่างแรกก็คือเครื่องสังฆทานที่คนกัมพูชาเขาเรียกว่า “สังฆเทียน” นั่น แหล่ะครับ คนกัมพูชานิยมถวายเครื่องสังฆเทียนชุดใหญ่มาก ใหญ่ขนาดที่คุณแม่ไม่มีทางยกขึ้นก็แล้วกันครับ แต่สำหรับ คุณพ่อที่แข็งแรงน่าจะยกไหว ที่ชุดสังฆเทียนของเขาใหญ่โตขนาดนี้ก็เพราะข้างใน เขาจะใส่ข้างของจำเป็นเอาไว้ครบจน พระสงฆ์ใช้ดำรงชีพได้ เริ่มกันตั้งแต่เครื่องนอนที่มีหมอน มุ้งและผ้าห่ม สำหรับชุดปรุงอาหารซึ่งเป็นของจำเป็นเพราะ ของสดที่นั่นถูกแต่อาหาร ตามร้านค้าทั้งหลายแพงมากเมื่อเปรียบเทียบกับรายได้ของคน ดังนั้นในชุดสังฆทานจึงมีตั้งแต่ เขียง มีดใหญ่มีดเล็ก หม้อ ใหญ่หม้อเล็ก ทัพพี กระทะตะหลิว เตาแก๊สพร้อมแก๊สกระป๋อง จานชาม แก้วน้ำ ช้อนส้อม กาต้มน้ำ ถังพลาสติก กาละมัง ขัน ฯลฯ เรียกว่าพระสงฆ์เมื่อได้รับเครื่องสังฆเทียนชุดใหญ่นี่อยู่ได้สบายๆเลยๆครับ
การทำบุญด้วยการถวายเงินของคนกัมพูชาก็ต่างจากคนไทยเราที่ส่วนมากจะเอาเงินที่อยากจะทำบุญหยอดตู้ที่ทางวัดจัดวาง เอาไว้แต่คนกัมพูชาเขาจะนิยมเอาธนบัตรไปวางไว้ในมือขององค์พระพุทธรูปมากกว่าที่จะใส่ขันที่วางเอาไว้ที่หน้าองค์ พระ บางคนก็ชอบเอาธนบัตรไปเสียบไว้ตามองค์พระพุทธรูปเลย ตรงไหนเสียบได้เสียบเลย ซอกมือซอกแขนเสียบได้ เป็นเสียบหมด เวลาเดินเข้าไปในวัดดังๆคุณแม่คุณพ่อก็อย่าแปลกใจนะครับถ้าเห็นพระพุทธรูปของกัมพูชามีธนบัตรเสียบ เต็มไปหมด


วิธีการไหว้พระขอพรนั้นแตกต่างจากคนไทยเรานิดหน่อยตรงที่คนกัมพูชาส่วนมากจะนิยมยกมือไหว้ อธิษฐาน เสร็จแล้ว จะเอามือไปลูบที่องค์พระแล้วเอามือนั้นมาลูบหน้าลูบศรีษะของตนเองเพื่อความเป็นสิริมงคล ส่วนเสียงสวดมนต์ของพระ กัมพูชานั้นคล้ายคลึงกับของไทยและพระใน สปป.ลาวมาก ฟังแล้วคุ้นเคยเลยพอสวดตามได้ ต่างไปจากการสวดพระของ เมียนมาซึ่งฟังดูแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดเจน
ในสปป.ลาวคนที่นั่นนอกจากจะยังนิยมใส่ซิ่นสวยงามไปวัดและยังนิยมตักบาตรด้วยข้าวเหนียวเหมือนเดิมไม่เปลี่ยน แปลงแล้ว เวลาไปวัดในวาระสำคัญเช่นวันเข้าพรรษา คนสปป.ลาวจะนิยมเอาของที่จะถวายพระใส่พานเงินพานทอง สวยงามไปด้วย และเวลาจะหยิบข้าวของใส่บาตรมือข้างซ้ายก็จะถือพานหนีบไว้ข้างตัว แล้วเขาก็ใช้มือขวาข้างเดียว หยิบเอาของหรือเงินที่จะถวายขึ้นมาแตะหน้าผากเป็นการ “จบ” ก่อนที่จะใส่ลงไปในบาตร เหมือนกับการที่คนไทยเรา ใช้สองมือยกของขึ้นเพื่อ “จบ” ของก่อนจะถวายพระนั่นเอง
ถ้าคุณแม่คุณพ่อมีโอกาสพาลูกรักไปเวียนเทียนในสปป.ลาวนี่จะเห็นความแตกต่างจากเมืองไทยเราอยู่สองเรื่องด้วยกันนะครับคือเทียนที่คนสปป.ลาวนิยมใช้เวียนเทียนนั้นไฟจะลุกโพลนสว่างไสวมาก ลุกโพลนจนมองไกลๆนึกว่าเขาจุดไต้เดิน เวียนเทียนกันเลยก็แล้วกัน ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะเขานิยมใช้เทียนที่มีใส้เทียนใหญ่ๆ เปลวไฟจะได้สว่างไสวนั่นเอง อีกเรื่อง ที่ต่างจากเราก็คือคนสปป.ลาวเขาจะรอเวียนเทียนพร้อมๆกัน แต่ละวัดจะมีเวลานัดหมายอย่างแน่นอนว่าจะเวียนเทียนกัน ตอนกี่โมง ผู้คนก็จะไปให้ถึงวัดก่อนเวลานัดหมายเพราะที่นั่นเขาเวียนเทียนสามรอบโบสถ์เหมือนไทยเราแต่เขาจะ เวียนเทียนกันครั้งเดียวและพร้อมๆกัน ใครมาไม่ทันเขาจะไม่ไปเวียนเทียนคนเดียวหรือกลุ่มเดียวไม่เหมือนเมืองไทย ที่ใครไปถึงตอนไหนอยากเดินเวียนเทียนตอนไหนก็ทำได้เลย
การรอเวียนเทียนพร้อมๆกันนี้สะท้อนให้เราเห็นว่าคนสปป.ลาวเขามีความคิดว่าคนทุกคนเท่าเทียมกัน จะทำอะไร ก็ต้องทำพร้อมๆกันถึงจะดี เหมือนการเต้นบั๊ดสะโล้ป ซึ่งทุกคนจะเต้นท่าเดียวกันเหมือนกันและพร้อมๆกัน เป็นทัศนคติ ของเขาที่เชื่อว่าคนทุกคนในโลกนี้มีความเท่าเทียมกัน เป็นเพื่อนกันหมด ไม่มีพี่ไม่มีน้อง ไม่มีบ้านพี่เมืองน้อง มีแต่ประเทศเพื่อนบ้านครับ อย่างที่ผมเคยเขียนและพูดถึงบ่อยๆว่าเราต้องเลิกเรียกบ้านพี่เมืองน้องกับเขาเสียที
ส่วนที่เมียนมานั้น มีความน่าสนใจมากถ้าคุณแม่คุณพ่อมีโอกาสควรจะได้พาลูกรักไปดูว่าคนเมียนมาเขาเป็น “คนพุทธ ตัวพ่อ” อย่างไร เริ่มกันตั้งแต่การถอดรองเท้าเข้าวัดซึ่งยังเข้มแข็งและยังทำกันอยู่ทุกสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา เลยไปถึงการไม่นิยมสวมใส่พระเครื่องหรือเตรื่องรางของขลังใดๆทั้งสิ้น เพราะเขาถือว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ใช่แก่นแท้ของพระ พุทธศาสนา เวลาคนเมียนมาเขาไปไหว้พระหรือพระเจดีย์ เขาจะไปไหว้ไปสวดมนต์เพียงอย่างเดียว เขาจะไม่อธิษฐานขอ อะไรเยอะแยะเหมือนที่คนไทยเราชอบทำ เมื่อมาวัดหรือพระเจดีย์เขามาเพื่อการสวดมนต์ นั่งสมาธิ ทำบุญหรือกระทั่งนั่ง เล่นนอนเล่นรอบๆเหมือนกับคนไทยชอบไปนั่งเล่นในห้างสรรพสินค้าหรือสวนสาธารณะนั่นเอง ที่เราเห็นพวกเครื่องราง ของขลังที่วางๆขายอยู่นั้น ผมสอบถามแล้วคนเมียนมาเขาบอกว่ามีคนไทยมาสอนให้ทำเอาไว้ขายคนไทยที่มาเที่ยวครับ พวกเขาไม่นิยมแต่ถ้าคนไทยอยากได้อยากจ่ายเขาก็ทำขายให้ได้ ขำๆปนเศร้ากับความเป็นคนพุทธแบบไทยๆเราดีนะครับ


ทุกวันพระคนเมียนมาเขาจะไปทำบุญและฟังเทศน์ฟังธรรมที่โรงธรรมะหรือ “ด่ะหม่ะโย่ว” ที่มีในทุกหมู่บ้าน แถมยังถือ ศีล 8 ศีล 10 อีกด้วย เช่นเดียวกับช่วงเข้าพรรษาที่คนส่วนใหญ่จะถือศีล 8 ศีล 10 กันยาวเต็มพรรษา และมีคนอีกไม่น้อยที่ จะถือโอกาสกินเจในช่วงนี้ด้วย ที่น่าอะเมซิ่งก็คือคนเมียนมาเขาจึงจะไม่จัดงานมงคลใดๆทั้งสิ้นในช่วงเข้าพรรษาไม่ว่าจะ เป็นงานแต่งงาน งานทำบุญขึ้นบ้านใหม่ เปิดบริษัทใหม่ ฯลฯ เพราะจะได้ไม่ต้องนิมนต์พระออกจากวัดด้วยความที่เขาไม่ ต้องการจะรบกวนพระสงฆ์และอยากให้พระสงฆ์ได้ศึกษาพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าได้อย่างเต็มที่
ในช่วงเข้าพรรษา เมื่อไม่มีงานเลี้ยงงานทำบุญต่างๆ การค้าขายของห้างร้านค้าจึงดูจะหงอยๆ ดังนั้นเมื่อถึงวันออกพรรษา ห้างร้านต่างๆจึงไม่รอที่จะแข่งกันจัดกิจกรรมลดแลกแจกแถมและกิจกรรมส่งเสริมการขายทั้งหลายโดยจะเริ่มกันตั้งแต่วันออกพรรษาเลยทีเดียวซึ่งเรียกว่า “ตะดิงจุ๊ดเซลส์” หรือออกพรรษาเซลส์นั่นเอง และถือเป็นเทศกาลขายที่สำคัญที่สุดของปี สำหรับห้างร้านในเมียนมาเลยทีเดียว และที่ต่างไปจากไทยเราก็คือในเมียนมานั้นงานทำบุญออกพรรษาจะดูคึกคักและ จริงจังกว่างานทำบุญเข้าพรรษาอยู่มาก
เวลามีงานทำบุญใหญ่เช่นคุณแม่คุณพ่อจะเห็นคนเมียนมาเขาแต่งกายแล้วจะมีผ้าสะพายบ่าพาดจากบ่าด้านซ้ายไปยังเอวด้านขวา เพราะเขามีความเชื่อว่ามงคลของผู้ชายอยู่ที่บ่าขวาส่วนมงคลของผู้หญิงอยู่ที่ผมผู้หญิงเมียนมาส่วนมากจึงนิยมไว้ผม ยาว ส่วนบ่าซ้ายนั้นถือเป็นบ่าของ “กิเลส” ดังนั้นในงานบุญใหญ่ๆเขาจึงต้องเอามาสะพาย พาดบ่าซ้ายเอาไว้ ถือเป็นเคล็ด ว่าเป็นการกดกิเลสเอาไว้ไม่ให้มันมีมากในช่วงนั้น
ที่อาจจะแปลกตาลูกรักและคุณแม่คุณพ่ออาจจะโดนถามได้ก็คือในตอนเช้าเวลาพระเมียนมาออกเดินบิณฑบาตนั้น ทำไม พระจะต้องถือพัดมาด้วย? พัดที่พระเมียนมาถือนั้นเป็นพัดใบตาลหรือ “ตาลปัตร” บ้านเรานั่นเอง ความจริงตาลปัตรถ้า แปลแล้วก็หมายถึงพัดที่ทำจากใบตาลนั่นเอง และที่ต้องถือพัดใบตาลก็เพื่อที่จะเอาไว้บังไม่ให้พระมองเห็นในสิ่งที่พระไม่ ควรจะมองนั่นเอง รวมไปถึงเอาไว้บังไม่ให้มองผู้หญิงมาตักบาตรด้วย เรียกว่าเมียนมาเขายังรักษาแนวคิดของตาลปัตรแต่ เดิมซึ่งเอาไว้พัดคลายร้อนเฉยไว้ได้อย่างใกล้เคียง ส่วนเมืองไทยเรามีการพัฒนาตาลปัตรไปไกลทั้งรูปแบบและวิธีการใช้
ที่ทั้งสามประเทศมีเหมือนกันและต่างจากไทยเราก็คือธงศาสนาครับ ขณะที่ไทยเราใช้ธงธรรมจักร ทั้งสามประเทศนี้ใช้ ธงพุทธศาสนาสากลหรือธงฉัพพรรณรังสีซึ่งเป็นธง 6 สี ที่แต่ละสีมีความหมายถึงคำสอน ทางสายกลางและพระมหากรุณา ธิคุณของพระพุทธเจ้า
แม้ชายแดนจะติดต่อกันและนับถือศาสนาพุทธเป็นหลักเหมือนกัน แต่เพื่อนบ้านทั้งสามประเทศนี้ก็ยังมีวัฒนธรรมดีๆ น่ารักๆ แตกต่างน่าเรียนรู้มากพอที่จะรอให้คุณแม่คุณพ่อพาลูกรักไปเยี่ยมชมนะครับ

[smartslider3 slider="9"]