Amazing AEC – ตะลุยญี่ปุ่น (1)

0
573


ผมเพิ่งกลับจากญี่ปุ่น หลังจากไปตะลุยดูวิธีการสร้างราคาผลไม้พรีเมี่ยมและเทคโนโลยีในอนาคตของหลายๆบริษัท ระดับโลกของญี่ปุ่นมานาน 9 วัน วันนี้เลยจะขอเก็บตกสิ่งที่ได้เห็นมาเล่าสู่กันฟัง
เมื่อเครื่องลงที่สนามบินนาริตะ กรุงโตเกียว ผมและคณะตัดสินใจที่จะเดินทางเข้าเมืองโดยรถชัทเทิลบัสเนื่องจากมี สัมภาระพะรุงพะรังเพราะมีของฝากเอาไปฝากผู้บริหารตลาดผลไม้ และบริษัทต่างๆที่เราจะไปเยี่ยมชม พอเดินผ่าน ตรวจคนเข้าเมืองและศุลกากรออกประตูมา ผมก็เห็นป้ายบอกทางทันทีว่าถ้าจะเข้าเมืองโดยรถบัส แท็กซี่หรือรถไฟ เรื่อง ป้ายชี้ทางไปไหนมาไหนนี่ ญี่ปุ่นทำได้ดีมากเพราะชัดเจนง่ายแก่การทำความเข้าใจ แม้แต่คนที่เพิ่งจะมาญี่ปุ่นเป็นครั้งแรก
พอถึงเคาน์เตอร์พนักงานก็จะถามเราว่าอยากไปรถบัสเที่ยวกี่โมง พอได้เวลาเราก็จ่ายค่ารถบัสไปคนละ 1,000 เยน หลังจาก นั้นพนักงานก็จะบอกเราว่าให้เดินไปที่ประตูเบอร์อะไรซึ่งจะอยู่ราวๆ 500 เมตรจากจุดขายตั๋ว พอเดินมาถึงจุดขึ้นรถก็จะมี พนักงานมาขอดูตั๋วและจัดแถวให้เราเพราะมีรถบัสเข้าเมืองหลายสายอยู่ หลังจากนั้นจะมีพนักงานมาเอากระเป๋าของเราไป ติดป้ายเหมือนเวลาที่เราจะขึ้นเครื่องบินนั่นหล่ะครับ และเอาขั้วป้ายกระเป๋าให้เรา พอรถบัสมาถึงซึ่งแน่นอนว่าตรงตาม เวลาเป๊ะ เราก็เดินฉิวตัวปลิวขึ้นรถไปได้เลย
บนรถก็เป็นรถบัสธรรมดาๆ แต่สะอาดสะอ้าน มีการอธิบายตลอดเวลาทั้งโดยระบบและคนขับ คนขับรถสาธารณะของ ญี่ปุ่นนั้นเขาจะใช้ความเร็วตามกฎหมายกำหนดเป๊ะๆ ขับสุภาพไม่หวาดเสียว นั่งแล้วสบายใจ ที่สำคัญการนั่งรถบัสนั้น เราจะเห็นถนนหนทางแปลกตาไปจากการนั่งรถไฟและจะได้เห็นระบบทางด่วน โดยเฉพาะระบบจ่ายเงินอัตโนมัติ ETC ของเขาว่ามีประสิทธิภาพวิ่งผ่านฉุยๆ ไม่ต้องถอยเข้าถอยออกเหมือนบางประเทศ นั่งสบายๆมาได้ราวหนึ่งชั่วโมงรถ ก็มาถึงโตเกียวสเตชั่นใจกลางกรุงโตเกียวเลย เราก็เดินลงมายื่นขั้วตั๋วกระเป๋าให้พนักงานแล้วก็รับกระเป๋าไปได้เลย
ขากลับคณะผมก็ใช้วิธีเดียวกันคือนั่งแท็กซี่จากโรงแรมมาที่โตเกียวสเตชั่นแล้วมาต่อรถบัส สะดวกเหมือนกันแต่ราคา ขาออกจากเมืองจะอยู่ที่คนละ 1,900 เยน อาจจะช้ากว่ารถไฟนิดหน่อยแต่สบายมากกว่าแน่ถ้ามีกระเป๋าหลายๆใบ
ว่าไปแล้วการมีของฝากหรือที่คนญี่ปุ่นเรียกว่า “โอมิยาเกะ” ติดไม้ติดมือไปฝากกันนั้น เป็นธรรมเนียมที่ดีงามของทั้งไทย และญี่ปุ่นเหมือนๆกัน คนญี่ปุ่นเวลาเขาไปเที่ยวที่ไหนก็มักจะซื้อโอมิยาเกะกลับมาฝากคุณพ่อคุณแม่ คนที่บ้านและเพื่อน ฝูงเหมือนๆคนไทย
ดังนั้นเมื่อไปเที่ยวสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆในประเทศญี่ปุ่นเราจะเห็นร้านขายของที่ระลึกเต็มไปหมด แต่สิ่งหนึ่งซึ่งญี่ปุ่นยัง คงรักษาเอาไว้ได้อย่างน่าชื่นชมและน่าทำตามก็คือเขายังรักษา “เอกลักษณ์” ของฝากของแต่ละเมือง แต่ละวัดเอาไว้ได้ อย่างเหนียวแน่น แต่ละเมืองแต่ละวัดแต่ละสถานที่ในญี่ปุ่นจะมีของฝากที่เป็นเอกลักษณ์หาซื้อที่อื่นไม่ได้ขายอยู่ แม้กระ ทั่งการเดินทางด้วยรถไฟระหว่างเมือง เมื่อผ่านเมืองไหนก็ตามบนรถเขาก็จะมี “โอเบนโตะ” หรือกล่องอาหารที่มีอาหาร เด่นๆของจังหวัดนั้นมาขายให้เราเลือกซื้อเลือกทานอีกด้วย ตามสถานที่จอดพักรถระหว่างเมืองก็เช่นกันพอเข้าไปแล้ว เขาก็จะมีของฝากและอาหารเฉพาะท้องถิ่นให้เราเลือกซื้อเลือกทาน แต่ละที่จะมีของเด่นๆแตกต่างกันทุกที่
เรื่องแบบนี้ไทยเราก็เคยมีแต่เดี๋ยวนี้หายไปแล้ว น่าเสียดาย ไปเที่ยวที่ไหนก็มีของฝากเหมือนๆกันไปหมด ขายข้ามเมือง ข้ามภาคกัน จนไม่รู้ว่าอะไรคือของฝากที่ควรจะซื้อ ที่สำคัญก็คือทำให้เสน่ห์ที่เราอยากจะไปท่องเที่ยวที่ต่างๆหายไปด้วย ปีที่แล้วผมไปอุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน จังหวัดลำปาง ที่นั่นเขามีข้าวเกรียบปลาจากปัตตานีวางขายด้วย อึ้งไปเลย
ส่วนคำว่า “โอเบนโตะ” นั้นที่มีเสียงคล้ายๆกับ “ปิ่นโต” ของไทยเรา จนหลายคนเข้าใจว่าญี่ปุ่นเอาคำไทยไปใช้นั้นเป็น ความเข้าใจที่ผิด เพราะทั้งไทยและญี่ปุ่นต่างก็ขอยืมมาจากโปรตุเกสที่ออกเสียงว่า “ปิ่นโต” เหมือนไทยมากกว่า

[smartslider3 slider="9"]