Amazing AEC – ตะลุยญี่ปุ่น (2)

0
620

วัตถุประสงค์หลักอันหนึ่งของผมในการไปตะลุยญี่ปุ่นคราวนี้คือการไปดูตลาดโอตะ กรุงโตเกียว ตลาดประมูลผลไม้ ที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น
ผมและคณะออกจากโรงแรมตั้งแต่ตีห้าครึ่งเพราะต้องใช้เวลาเดินทางราวๆ 45 นาทีจากโรงแรมแถวกินซ่า พอไปถึงต้อง สารภาพว่าตกตะลึงเพราะตลาดโอตะนั้นมีพื้นที่กว้างใหญ่ถึง 400,000 ตารางเมตร ใหญ่โตมากกว่าที่ผมคาดเอาไว้มาก ภาพต่อมาที่เห็นก็คือภาพผลไม้และผักนานาชนิดที่ส่วนใหญ่จะบรรจุในกล่องกระดาษ วางไว้เป็นกองๆดูเป็นระเบียบ เรียบร้อย
พอเดินเข้าไปดูใกล้ๆ ผมก็ได้เห็นถึง “ความงาม” ของผลไม้และผักนานาชนิดที่สหกรณ์ญี่ปุ่นเขาส่งมาประมูลกันวันละ 2,000 ตัน ที่ผมใช้คำว่า “ความงาม” ก็เพราะคนญี่ปุ่นเวลาคัดผลไม้ระดับพรีเมี่ยมมาประมูลนอกจากความ “อร่อย” ซึ่งต้อง อร่อยสุดๆแล้ว ผลไม้แต่ละชนิดนั้นยังจะต้องมีผิวที่สวยงาม สีสันต้องถูกต้อง รูปทรงก็ต้องงดงามตามชนิดของผลไม้ ถ้าเป็นผลไม้ที่ออกมาเป็นพวงเช่นองุ่นนั้น แต่ละผลในพวงนั้นต้องมีผิวสีและรูปทรงต้องเหมือนๆกันเหมือนฝาแฝด แท้จึงจะถือเป็นองุ่นพรีเมี่ยม ส่วนเรื่องกลิ่นนั้นไม่ต้องพูดถึงเพราะพอผมเดินเข้าไปใกล้ผลไม้ชนิดใด กลิ่นก็หอมฟุ้งเตะ จมูกขึ้นมาเลย อยากจะแอบหยิบมาชิมเสียเหลือเกิน
ถ้าเป็น “ผัก” เกษตรกรญี่ปุ่นเขาก็จะล้างผักจนสะอาด ไม่มีขี้ดินให้เห็นเลยแม้จะเป็นแถวๆรากก็ตาม สะอาดจนผมรู้สึกว่า สามารถหยิบทานได้เลย และที่ไม่เหมือนบ้านเราเลยก็คือผักเกือบทั้งหมดใส่กล่องกระดาษมาให้คนประมูลเหมือนๆกับ ผลไม้ คุณเปิ้ลคุณหนึ่งผู้เชี่ยวชาญผลไม้พรีเมี่ยมญี่ปุ่นอธิบายให้ผมฟังว่า กล่องกระดาษที่ใส่ผักและผลไม้ของญี่ปุ่นนั้น คุณภาพสูงมาก สามารถเอาเก็บไว้ในห้องเย็นได้เป็นเวลานานๆ โดยกล่องจะไม่ชื้นแฉะหรือเปลี่ยนสภาพไปเลย
ที่น่าสนใจมากๆก็คือ ผักและผลไม้ของญี่ปุ่นนั้นเมื่อผลผลิตออกสู่ตลาด เกษตรกรจะคัดเฉพาะส่วนที่ “พรีเมี่ยม” ส่งไป ประมูลตามตลาดผักผลไม้ที่มีอยู่ทั่วประเทศ โดยมีสหกรณ์เป็นผู้ช่วยคัดเกรด ว่าเป็นพรีเมี่ยมเกรด 3A 2A หรือแค่ A เดียว ซึ่งต้องบอกว่าไม่ง่ายเลยที่เกษตรกร สหกรณ์และผู้บริโภคจะมีมาตรฐานเดียวกันว่าอะไรคือพรีเมี่ยมอะไรคือไม่ใช่ นอก จากเกรดความเป็นพรีเมี่ยมแล้ว สหกรณ์ของญี่ปุ่นเขายังเป็นผู้คัดขนาด รูปทรง สีสันและผิวของผักผลไม้ด้วยว่าจะ ต้องสวยงามและพรีเมี่ยม
ที่สำคัญที่สุดก็คือราคาเริ่มต้นสำหรับการประมูล ซึ่งสหกรณ์จะกำหนดมาให้เลยว่าด้วยคุณภาพระดับพรีเมี่ยมนี้เขาต้อง การขายที่ราคาขั้นต่ำเท่าไหร่ สหกรณ์และเกษตรกรจึงจะพอใจ
ที่น่าอะเมซิ่งก็คือข้อมูลทั้งหมดที่ผมเขียนไปแล้วนั้น รวมไปถึงจำนวนกล่องจำนวนผลที่อยู่ในเกรดเดียวกันและเมืองที่ ปลูก ก็จะถูกเขียนเอาไว้บนกล่องหรือไม่ก็เขียนไว้บนกระดาษใบเดียวที่แปะมาที่กล่อง เป็นการให้ข้อมูลที่สมบูรณ์ครบ ถ้วนอย่างเป็นระบบและมีมาตรฐานสำหรับผู้เข้าประมูล ซึ่งตลาดโอตะยังชอบที่จะใช้วิธีเขียนบนกระดาษหรือกล่องแบบ ดั้งเดิม ขณะที่ตลาดประมูลหลายแห่งในเมืองอื่นเริ่มใช้ระบบดิจิทัลมาให้ข้อมูลแล้ว
ตอนหกโมงเช้าเศษๆที่ผมไปถึงตลาดโอตะนั้น ก็ได้เห็นผู้เข้าประมูลซึ่งจะต้องเป็นบริษัทที่ลงทะเบียนกับตลาดให้เรียบ ร้อยเสียก่อนจึงจะมีสิทธิเข้าประมูล เดินตรวจคุณภาพผลไม้กันขวักไขว่ บ้างก็เลือกหยิบมาดูรูปทรง ผิวและ ดมกลิ่นกัน เท่าที่สังเกตเห็นการตรวจสอบคุณภาพผักและผลไม้นั้นผู้เข้าประมูลทำกันอย่างรวดเร็วมากๆ สะท้อนถึงความเชี่ยวชาญ อย่างมากของพวกเขา
อาทิตย์จะพาเข้าร่วมประมูลและพาไปชิมผลไม้เกรดพรีเมี่ยมของญี่ปุ่นกันนะครับ

[smartslider3 slider="9"]