ตอนที่แล้วผมเขียนมาจนถึงตอนหกโมงเช้าเศษๆที่ผมไปถึงตลาดโอตะนั้น ก็ได้เห็นผู้เข้าประมูลซึ่งจะต้องเป็นบริษัทที่ลง ทะเบียนกับตลาดให้เรียบ ร้อยเสียก่อนจึงจะมีสิทธิเข้าประมูล เดินตรวจคุณภาพผลไม้กันขวักไขว่ บ้างก็เลือกหยิบมาดูรูป ทรง ผิวและดมกลิ่นกัน เท่าที่สังเกตเห็นการตรวจสอบคุณภาพผักและผลไม้นั้นผู้เข้าประมูลทำกันอย่างรวดเร็วมากๆ สะท้อนถึงความเชี่ยวชาญอย่างมากของพวกเขา
ในแต่ละวันตลาดประมูลผลไม้โอตะ เขาจะมีตารางการประมูลที่ระบุลงไปเลยว่า เจ็ดโมงตรงประมูลอะไร เจ็ดโมงสิบห้า นาทีประมูลอะไร โดยเขาจะแบ่งพื้นที่เป็นส่วนๆสำหรับการประมูลผลไม้ชนิดต่างๆและผัก สำหรับผลไม้นั้นผลไม้เกือบ ทุกชนิดจะมีเวทีประมูลเป็นชั้นๆสำหรับผู้เข้าประมูล ส่วนเมล่อนนั้นเขาจะแยกวงประมูลออกไปต่างหาก โดยจะมีสาย พานตรงหน้าผู้เข้าประมูล แล้วเขาก็ค่อยๆปล่อยกล่องเมล่อนซึ่งแต่ละกล่องจะมีเมล่อนอยู่กล่องละ 2 ผลที่จะประมูลให้ ค่อยๆไหลผ่านหน้าผู้เข้าประมูล แล้วทำการประมูลกันทีละกล่อง
ส่วนการประมูลผักนั้นเนื่องจากมีปริมาณมากกว่า เขาจะแยกพื้นที่ไว้ประมาณ 3 ถึง 4 พื้นที่ แล้วก็เอาผักซึ่งอยู่ในกล่อง กระดาษมาวางเรียงเอาไว้ ผู้เข้าประมูลก็จะเอารถขนผักมาจอดรอตรงบริเวณประมูลเลย เมื่อประมูลเสร็จพนักงานตลาด โอตะก็จะใช้เวลาอีกเพียงไม่กี่นาทียกกล่องผักเหล่านั้นขึ้นรถผู้ประมูลได้จนหมด
เนื่องจากในตลาดโอตะนั้นเขามีระบบการจัดเกรดคุณภาพผลไม้และผักที่เป็นระบบ การจัดเรียงจัดเก็บก็เป็นระบบ การทำ การประมูลก็เป็นระบบ และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต่างก็ทำงานกันแบบมืออาชีพ ดังนั้นการประมูลผลไม้และผักวันละ 2,000 ตันนั้นตลาดโอตะใช้เวลาเพียงชั่วโมงเศษๆเท่านั้นก็จะประมูลกันเสร็จเรียบร้อย หลังจากนั้นเขาก็จะใช้เวลาอีกราวๆหนึ่ง ชั่วโมงสำหรับการขนผลไม้และผักออกจากบริเวณประมูล เพราะฉะนั้นภาพผลไม้และผักจำนวนมหาศาลที่ผมเห็นตอน หกโมงเช้าเศษๆนั้น พอถึงตอนสิบโมงเช้าผลไม้และผักต่างๆเหล่านั้นก็หายไปเหมือนเสกให้หายไปเลยทีเดียว
เมื่อผลไม้และผักมาถึงมือผู้ประมูลได้ เขาก็จะลำเลียงไปบริเวณที่โอตะจัดไว้ให้แต่ละบริษัท ใหญ่เล็กตามขนาดของบริษัท พนักงานของแต่ละบริษัทก็จะทำการตรวจคัดเลือกความสมบูรณ์แบบของผลไม้อีกครั้ง วันที่ผมไปดูการประมูลนั้น หลัง การประมูลผมเห็นพนักงานของบริษัทมัทสุเก็นซึ่งเป็นยักษ์ใหญ่ของผู้เข้าประมูล ซึ่งประมูลเชอรี่ให้กับนักธุรกิจจาก ฮ่องกงได้สำเร็จตามคำสั่งซื้อ ค่อยๆดูความสมบูรณ์ของเชอรี่ทุกผล ผลไหนมีตำหนิเขาก็จะคัดเอาออกแล้วเอาผลที่สวย และสมบูรณ์กว่าใส่ลงไปในกล่องแทน เสร็จแล้วก็จะส่งกล่องสวยงาม
ถ้าเป็นคนไทย ใครได้รับกล่องอันนี้ไม่ต้องดูภายในก็ย่อมจะดีใจแล้วเพราะดูดีมีราคาอยู่แล้ว แต่พนักงานของมัทสุเก็นยัง ไม่หยุดเพียงแค่นั้น เพราะเขายังเอาไปห่อกระดาษของขวัญแบบญี่ปุ่นให้ดูดียิ่งขึ้นไปอีก เมื่อห่อทุกกล่องและปิดสติ๊กเกอร์ การันตีว่าเชอรี่กล่องนี้ประมูลมาจากไหนแล้ว เขาก็จะเอาเชอรี่ทั้งหมดใส่กล่องกระดาษใบใหญ่ แล้วเอาไปจัดเรียงบน พาเลท เมื่อเรียงสินค้าเรียบร้อย พนักงานก็จะเอาพลาสติคมาแร็บผลไม้ทุกกล่องบนพาเลทแบบจะไม่ยอมให้กล่องเสียหาย เลย และแน่นอนที่สุดว่าก่อนที่จะแร็บพลาสติคนั้น พนักงานจะเอาพลาสติคแข็งมาเข้ามุมทั้งสี่ด้านของพาเลท เพื่อป้องกัน มิให้มุมกล่องผลไม้ทุกกล่องเสียหายหรือยุบตัวเมื่อมีการขนส่ง กิจกรรมทั้งหมดที่ผมเขียนถึงมานี้เสร็จสิ้นก่อน 11 โมงเช้า
เมื่อผมเดินมาดูห้องเย็นที่อยู่ชั้น 2 ของตลาดโอตะ ผมได้เห็นพาเลทซึ่งเต็มไปด้วยกล่องผลไม้ซึ่งแร็บด้วยพลาสติคเรียบ ร้อยเหมือนของฮ่องกงวางไว้บนรถบรรทุกพร้อมจะนำไปส่งยังสนามบิน น้องหนึ่งและน้องเปิ้ลสามีภรรยาเจ้าของบริษัท โตโยดะ ผู้นำเข้าผลไม้ระดับประมูลของตลาดโอตะมาขายให้กับคนไทยก็วิ่งเข้าไปถ่ายรูปพาเลทนั้น เสร็จแล้วเขาก็บอก ผมว่าพาเลทนี้แหล่ะคือผลไม้ของเขาที่ขอให้มัทสุเก็นประมูลให้เมื่อเช้านี้เอง อีกสักพักรถก็จะส่งพาเลทนี้ไปสนามบิน ซึ่งอีกไม่กี่ชั่วโมงต่อมาผลไม้ระดับตลาดโอตะก็จะถึงมือคนไทยให้ได้ลิ้มรสความอร่อยอย่างน่าอะเมซิ่ง
Amazing AEC – ตะลุยญี่ปุ่น (3)
[smartslider3 slider="9"]