เหลือพรุ่งนี้อีกเพียงแค่วันเดียวก็จะขึ้นปีใหม่กันแล้ว อะเมซิ่ง AEC ฉบับนี้เลยอยากขอถือโอกาสสวัสดีปีใหม่ และขอ ขอบคุณผู้อ่านที่ได้ติดตามอ่านกันมาโดยตลอดทั้งทางหนังสือพิมพ์เดลินิวส์และทางแฟนเพจ KasemsantAec ครับ
ปีพ.ศ. 2561 เศรษฐกิจไทยเราได้นับอานิสงฆ์จากการที่การค้าและเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว แม้ในช่วงท้ายๆของปีจะเริ่มมี ปัญหาเรื่องสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐอยู่บ้าง แต่ก็ยังทำให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ในช่วง 4.0 ถึง 4.2 เปอร์เซ็นต์ ดีกว่าปีพ.ศ. 2559 และปีพ.ศ. 2560 ที่โตได้ 3.3 และ 3.9 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับอยู่บ้าง และดีกว่าช่วงปีพ.ศ. 2554 ถึงพ.ศ. 2558 ที่เศรษฐกิจไทยเติบโตได้เฉลี่ยเพียง 2.6 เปอร์เซ็นต์
แต่เมื่อมองไปข้างหน้า ประเทศทั้งหลายทั่วโลกที่เคยกระตุ้นเศรษฐกิจตัวเองด้วยการอัดฉีดเม็ดเงินอย่างมหาศาลเข้าสู่ ระบบเศรษฐกิจของต่างก็หยุดการอัดฉีดเงินแล้ว แถมจีนกับสหรัฐยังมีทีท่าฮึ่มๆใส่กันต่อไปอีก เศรษฐกิจโลกในปีหน้า จึงดูท่าว่าจะไม่สดใสเหมือนปีที่ผ่านมา การค้าของโลกคงจะชะลอตัวลงกว่าปีนี้ ทำให้ปีหน้าเศรษฐกิจไทยซึ่งพึ่งพาการ ส่งออกเป็นหลักคงจะต้องลุ้นกันหน่อยว่าจะเติบโตได้ถึง 4 เปอร์เซ็นต์หรือไม่
ในปีพ.ศ. 2562 และ พ.ศ. 2563 ถ้าเราโชคดี เศรษฐกิจไทยเติบโตได้ปีละ 4.0 เปอร์เซ็นต์ นั่นหมายความว่าในช่วง 10 ปีระหว่าง พ.ศ. 2554 ถึง 2563 เศรษฐกิจไทยเราเติบโตเฉลี่ยได้เพียง 3.2 เปอร์เซ็นต์ ต่ำกว่าในช่วงพ.ศ. 2534 ถึง 2543 และช่วงพ.ศ. 2544 ถึงพ.ศ. 2553 ซึ่งเศรษฐกิจไทยเติบโตเฉลี่ย 4.6 และ 4.4 เปอร์เซ็นต์ อัตราการเจริญเติบโตที่ต่ำกว่า ศักยภาพและต่ำจนน่าตกใจนี้เองที่ทำให้เราเห็นคนยากคนจนยังเดือดร้อนอยู่เต็มเมือง และรัฐบาลนี้จึงต้องเร่งช่วยเหลือ ในรูปแบบต่างๆจนดูเหมือนเอาเงินสดมาหว่านแจกคนจนกันเลยทีเดียว ในมุมหนึ่งซึ่งช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของ คนจนก็เป็นเรื่องที่ควรจะทำ แต่ในอีกมุมหนึ่งการไล่แจกเงินแบบนี้ไม่ได้ช่วยเสริมสร้างศักยภาพของคนจนเหล่านั้นไม่ ได้ช่วยเสริมสร้างศักยภาพของประเทศแต่อย่างใด จึงทำให้ไม่เกิดประโยชน์ในระยะยาว
สำหรับการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศเพื่อนๆอาเซียนด้วยกันนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็นกลุ่มๆ ดังนี้คือ กลุ่มที่เติบ โตรวดเร็วคือกลุ่ม CLMV กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมาและเวียดนาม ซึ่งเติบโตกันในช่วง 6 เปอร์เซ็นต์ปลายๆไปจนถึง 7 เปอร์เซ็นต์ และประเทศคนป่วยของเอเชียซึ่งตอนนี้พลิกฟื้นกลับมาเป็นดาวรุ่งดวงใหม่ของเอเชียได้แล้วคือฟิลิปปินส์ก็ อยู่ในกลุ่มนี้เพราะเติบโตได้ในอัตรา 6 เปอร์เซ็นต์ปลายๆเช่นกัน ส่วนในปีพ.ศ. 2562 และพ.ศ. 2563 คาดกันว่าเศรษฐกิจ ของทั้ง 5 ประเทศนี้จะยังเติบโตต่อเนื่องในอัตรา 6 ถึง 7 เปอร์เซ็นต์ต่อไป
มี 2 ประเทศซึ่งในปีพ.ศ. 2561 เติบโตรองลงมาจากกลุ่มแรกคือโตได้ในอัตรา 5 เปอร์เซ็นต์เศษๆ คืออินโดนีเซียและ มาเลเซีย สำหรับบรูไนซึ่งร่ำรวยไปด้วยน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ และรายได้เกือบทั้งหมดของประเทศได้มาจากการขาย ทรัพยากรธรรมชาติทั้งสองชนิดนี้ ดังนั้นอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของบรูไนจึงขึ้นอยู่กับราคาน้ำมันและก๊าซ ธรรมชาติ ซึ่งในช่วงหลายๆปีที่ผ่านมาราคาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติตกเอาๆ เลยทำให้เศรษฐกิจบรูไนแกว่งอยู่ในช่วงลบ 1 ถึงบวก 1 เปอร์เซ็นต์ แต่ด้วยความที่มีประชากรไม่ถึงห้าแสนคนและมีการส่งออกน้ำมันและก๊าซธรรมชาติมาก คนบรูไน เลยมีรายได้เฉลี่ยต่อคนสูงเป็นที่ 2 ของอาเซียนเป็นรองเฉพาะสิงคโปร์และมากกว่าคนไทยราว 4 เท่า บรูไนจึงไม่ต้องห่วง เรื่องการเติบโตทางเศรษฐกิจแบบปีต่อปีเหมือนประเทศอื่นๆ แต่ต้องห่วงว่าในช่วง 20 ปีเศษข้างหน้าที่น้ำมันและก๊าซ ธรรมชาติจะหมดลง บรูไนจะหารายได้มาจากที่ไหนมากกว่า
ส่วนสิงคโปร์ซึ่งเป็นประเทศพัฒนาแล้วนั้น จะเอาอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของเขามาเปรียบเทียบกับประเทศกำลัง พัฒนาเช่นพวกเรา 9 ประเทศที่เหลือในอาเซียนไม่ได้ เพราะประเทศพัฒนาแล้วทั้งหลายหากเศรษฐกิจเติบโตได้ในระดับ 2 เปอร์เซ็นต์ก็นับว่าสูงแล้ว สำหรับปีพ.ศ. 2561 เศรษฐกิจสิงคโปร์เติบโตได้ราว 3 เปอร์เซ็นต์ และคาดว่าจะเติบโตได้ต่อ เนื่องในอัตรา 3 เปอร์เซ็นต์ในช่วงสองปีข้างหน้าคือปีพ.ศ. 2562 และพ.ศ. 2563
ปีหน้าก็ได้แต่ภาวนาว่าหลังเลือกตั้ง รัฐบาลใหม่จะมียุทธศาสตร์ประเทศที่ถูกต้องกันเสียที