PERSPECTIVE OF AEC – การบ้านรัฐบาลใหม่ บทเรียนจาก AEC

0
540

หลังจากที่เราได้รัฐบาลใหม่ นายกฯคนใหม่ ซึ่งขณะเขียนบทความนี้ยังไม่ทราบว่าใครจะได้เป็น แต่ผมทราบว่ามีการบ้าน อะไรรออยู่บ้าง ก็เลยจะขอยกตัวอย่างบางประเทศใน AEC ที่พอมีผู้นำคนใหม่ที่มีความสามารถ ประเทศก็เปลี่ยนแปลงได้ อย่างน่าสนใจ

เริ่มต้นที่สิงคโปร์ ประเทศซึ่งพัฒนามากที่สุดและเป็นประเทศพัฒนาแล้วเพียงประเทศเดียวใน AEC แม้จะมีพื้นที่ราว 700  ตารางเมตรใหญ่กว่าเกาะภูเก็ตนิดเดียว ไม่มีทรัพยากรธรรมชาติ มีคนเพียง 5 ล้านคนและเคยโกงกันแหลกลาญ แต่วันนี้ สิงคโปร์กลายเป็นประเทศชั้นแนวหน้าของโลกไปได้แล้วด้วยการที่มีผู้นำเก่งเพียงคนเดียวที่ชื่อ ลีกวนยู

เมื่อสิงคโปร์ต้องแยกตัวออกจากมาเลเซียในปีพ.ศ. 2508 นั้น ลีกวนยู ทำอยู่ไม่กี่เรื่องหลักๆ ซึ่งเป็นเรื่องยากมาก เรื่องแรกก็ คือการปราบคอรัปชั่นอย่างจริงจัง เดิมเมื่ออยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ คอรัปชั่นในสิงคโปร์นั้นหนักไม่ต่างไปจาก ไทย แม้จะมีองค์กรปราบคอรัปชั่นที่ชื่อ Corrupt Practices Investigation Bureau  (CPIB) แต่ก็ไม่สามารถทำอะไรได้ เมื่อผู้ นำเบอร์หนึ่งยืนนิ่งเป็นกำแพงเหล็กให้เอาหลังพิงได้ CPIB ก็เลยกล้าจับคนโกงไม่ว่าจะใหญ่แค่ไหน การปราบคอรัปชั่น จึงสำเร็จได้ และวันนี้สิงคโปร์กลายเป็นประเทศโปร่งใสอันดับต้นๆ ของโลกไปได้อย่างเหลือเชื่อ

นอกจากสิงคโปร์แล้วประเทศที่ได้ผู้นำดีมือสะอาดและเอาจริงเอาจังเรื่องคอรัปชั่น จนทำให้ประเทศสามารถปราบ คอรัปชั่นได้ดียิ่งขึ้นก็มีฟิลิปปินส์ตั้งแต่ เบนิกโน อะกิโนที่ 3 ประธานาธิบดีคนที่แล้ว ที่มือค่อนข้างสะอาดไม่ค่อยโกง อัตราการคอรัปชั่นก็ลดลงทันที อินโดนีเซียพอได้โจโควี่ประธานาธิบดีมือสะอาดเข้ามา การโกงก็ลดลงฮวบอาบ เมียนมาพอได้ ด่อว์อองซานซูจิ เข้ามาเป็นผู้นำตัวจริง อัตราการโกงก็ลดลงอย่างเห็นได้ชัด แม้ประเทศในอาเซียนบวก 6 เช่นอินเดียพอได้ นเรนทรา โมดี คนมือสะอาดเข้ามา แม้ระบบจะยังเปิดช่องให้โกงและประชากรจะมีเป็นพันล้านคน แต่พอผู้นำเบอร์หนึ่งเอาจริงเอาจัง ก็ยังสามารถปราบคอรัปชั่นได้

ที่คอรัปชั่นหนักที่สุดและเหมือนเมืองไทยมากที่สุดก็คือเกาหลีใต้โดยเฉพาะการเป็นสังคมอุปถัมภ์ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญ ในการปราบคอรัปชั่นเพราะเจ้านาย ลูกน้อง นักการเมือง ข้าราชการและนักธุรกิจ จะร่วมมือกันโกงเป็นเครือข่ายแบบ บูรณาการและมักจะช่วยกันปกปิดข้อมูล การปราบโกงก็เลยทำได้ยากมากๆ ในประเทศสังคมอุปถัมภ์นอกจากต้องได้ ผู้นำดีมือสะอาดแล้ว ยังต้องการระบบที่ออกแบบมาเป็น พิเศษสำหรับการปราบโกงในสังคมอุปถัมภ์อีกด้วย ซึ่งเกาหลีใต้ ก็ทำได้จนสำเร็จ มีองค์กรปราบโกงที่ชื่อ Anti-Corruption and Civil Right Commission of Korea (ACRC) ซึ่งพัฒนาต่อมา จากองค์กรปราบโกงต้นแบบของหลายๆประเทศ ICAC ของฮ่องกง เข้มแข็งและสามารถจับประธานาธิบดีติดคุกไปหลาย คนแล้ว

ดังนั้นคนไทยที่สิ้นหวังกับการปราบคอรัปชั่นก็อย่าเพิ่งไปท้อแท้ เพราะประเทศที่ปราบคอรัปชั่นได้ก็ยังมีให้เห็นอยู่

PERSPECTIVE OF AEC - การบ้านรัฐบาลใหม่ บทเรียนจาก AEC
ที่มา https://nscr-nesdb-go-th.cdn.ampproject.org/c/nscr.nesdb.go.th/%e0%b8%a2%e0%b8%b8%e0%b8%97%e0%b8%98%e0%b8%a8%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%8a%e0%b8%b2%e0%b8%95%e0%b8%b4/amp/

เรื่องต่อมาซึ่งความจริงสำคัญที่สุดก็คือ การเขียนยุทธศาสต์ประเทศ แต่ผมเลือกยกเอาเรื่องการปราบคอรัปชั่นขึ้นมาก่อน เพราะบ้านเราถ้ายังปราบคอรัปชั่นไม่สำเร็จ การเขียนยุทธศาสตร์ก็จะผิดเพี้ยนไปได้

ลีกวนยูรู้ดีว่าประเทศตัวเองไม่มีทรัพยากรธรรมชาติมีแต่ทรัพยากรบุคคลที่ประเทศไทยเรียกแรงงาน  ขนาดประเทศก็เล็ก ประเทศไม่สามารถจะเป็นอะไรไปได้นอกจากจะวางตำแหน่งประเทศให้เป็นศูนย์กลางการค้าขาย เมื่อตำแหน่งประเทศชัด ลีกวนยูและคนทั้งประเทศจึงรู้ว่าพวกเขาจะต้องทำอะไรอย่างไรเมื่อไหร่ สิงคโปร์จึงจะสามารถเป็นศูนย์กลางการค้าขาย ของโลกตามยุทธศาสตร์ประเทศได้

สิงคโปร์จึงเร่งลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเช่นถนนและรถไฟ ด้านวิทยาศาสตร์ ด้านเทคโนโลยี ด้านการศึกษาและด้าน สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ครบ 5 ด้าน จนประเทศมีโครงสร้างพื้นฐานดีติดอันดับต้นๆของโลก รวมถึงการปรับปรุง กฎหมายเพื่อให้การลงทุนทำมาค้าขายทำได้ง่าย จนสิงคโปร์เป็นประเทศที่เริ่มต้นทำธุรกิจได้ง่ายที่สุดในโลก เมื่อเริ่มต้นทำ ธุรกิจได้ง่าย โครงสร้างพื้นฐาน 5 ด้านของประเทศมีความพร้อม ทรัพยากรบุคคลมีความสามารถและการคอรัปชั่นมีน้อย สิงคโปร์จึงกลายเป็นศูนย์กลางการค้าขายของโลกได้ในที่สุด

แม้ว่าไทยเราจะมียุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีกันแล้ว แต่ผมขอยืนยันตรงนี้อีกทีและเป็นครั้งที่นับไม่ถ้วนว่ายุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีนั้นไม่ใช่ยุทธศาสตร์ที่เขียนแบบถูกต้องตามหลักยุทธศาสตร์ที่ประเทศพัฒนาแล้วเขาเขียนกัน ซึ่งเรื่องนี้ผมได้เตือนมา ตั้งแต่ไทยเรายังไม่มียุทธศาสตร์มีแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งคนไทยส่วนมากเข้าใจว่ามันคือ ยุทธศาสตร์ชาติ เมื่อผมบอกว่าแผนสภาพัฒน์ฯนั้นไม่ใช่ยุทธศาสตร์คนไทยส่วนมากเลยงงว่าจะเป็นไปได้หรือ จนกระทั่ง ปีพ.ศ.  2558 ซึ่งอดีตเลขาฯสภาพัฒน์ฯออกมายอมรับว่าเรื่องยุทธศาสต์นั้นเป็นเรื่องใหม่ในการบริหารราชการแผ่นดิน สังคมไทยเลยเริ่มตระหนักว่าสิ่งที่ผมเตือนเรื่องไทยเราไม่มียุทธศาสตร์นั้นเป็นความจริง

แต่พอเห็นคณะที่ทำงานด้านยุทธศาสตร์ซึ่งก็คือคนหน้าเดิมๆที่ช่วยกันเขียนแผนสภาพัฒน์ฯมากันนมนาม ซึ่งก็เป็นไปตาม คาดเพราะพอประกาศออกมา ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ก็ไม่ได้ต่างอะไรไปจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 12 ฉบับที่เราเคยเขียนกันมาโดยตลอด นับเป็นโชคร้ายเพราะจนบัดนี้คนรับผิดชอบและรัฐบาลไทยก็ยังไม่เข้าใจเสียที ว่า “ยุทธศาสตร์ที่ดี” นั้นต้องเขียนอย่างไร?

นายกฯคนใหม่ต้องตั้งหลักให้ถูกและต้องรีบให้ทีมงานไปดูว่าประเทศที่เขาสามารถพัฒนาประเทศได้แซงหน้าเราไปแล้ว เช่นสิงคโปร์ มาเลเซีย หรือประเทศที่กำลังจะแซงเราในเวลาอันใกล้เช่น อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เขาเขียนยุทธศาสตร์ แตกต่างกับเราอย่างไร? หรือจะไปดูยุทธศาสตร์เวียดนามก็ได้ เพราะภายใน 30 ปีข้างหน้าเขาจะชนะเราในทุกๆด้าน หลังจากที่ยุทธศาสตร์ปฏิรูปการศึกษาของเขาทำให้เด็กเวียดนามเก่งกว่าเด็กไทยไปแล้ว

ยุทธศาสตร์ปลอมๆทำให้เราไม่มี “ตำแหน่งประเทศที่ชัดเจน” ส่งผลให้ประเทศซึ่งมีงบประมาณจำกัด ใช้เงินอย่างสะเปะ สะปะเป็นเบี้ยหัวแตก ประเทศเลยขาดโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น ขาดบุคลากรที่มีความสามารถสอดคล้องกับตำแหน่ง ทางการแข่งขันของประเทศ ต่างชาติไม่เข้ามาลงทุน เศรษฐกิจไม่เติบโต และเมื่อรวมเข้ากับการคอรัปชั่นที่ไม่ตั้งใจปราบ กันเสียที งบประมาณประเทศที่ใช้ไปในจุดที่ไม่ควรใช้ยังโดนโกงเสียอีก ไทยจึงติดกับดักประเทศรายได้ปานกลางและ อีกหลายๆกับดักอย่างที่เรากำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน

ในมุมโชคร้ายไทยยังมีโชคดี เพราะยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีแม้จะเขียนอยู่ในรูปแบบกฎหมายตายตัวแถมบังคับให้ทุกฝ่าย ต้องทำตามแบบไม่มีที่ไหนในโลกเขาทำกันนั้น แต่ด้วยการเขียนยุทธศาสต์ชาติแบบเขียนแผนสภาพัฒน์ฯ ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีก็เลยกว้างเคว้งคว้าง ใครทำอะไรก็ถูกหมด ใครสามารถคิดหรือทำอะไรนอกยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีของไทยได้น่าจะ เป็นคนที่คิดนอกกรอบได้แบบหลุดโลกจริงๆ

ดังนั้นนายกฯคนใหม่และรัฐบาลใหม่ก็เพียงแค่ตั้งหลักให้ถูก เลือกตำแหน่งประเทศที่ถูกต้องให้เป็น ถ้าเราได้นายกฯและ ทีมงานหน้าเดิม คนไทยก็ต้องช่วยกันอธิษฐานให้นายกฯเลือกทีมงานด้านยุทธศาสตร์ใหม่มาขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ใหม่ ไม่เช่นนั้นไทยเราจะไปไม่รอดเลยทีเดียว กลับตัวตอนนี้ยังพอทัน หรือจะเริ่มอธิษฐานตอนนี้เลยก็ได้ อีกเรื่องที่นายกฯคนใหม่ต้องเร่งทำควบคู่ไปกับการปราบคอรัปชั่น การเขียนยุทธศาสตร์ประเทศใหม่ก็คือการสร้างความ ปรองดองให้เกิดขึ้นให้จงได้ ผลการเลือกตั้งแม้จะยังไม่เป็นทางการแต่ก็พอเห็นแล้วว่าสองฝ่ายที่ขัดแย้งกันอย่างหนัก นั้น ได้รับความนิยมสูสีกัน แต่ความแตกแยก ความเกลียดชังระหว่างกันและกันได้ลามปามไปในทุกภาคส่วน ลามไปถึงคน ในทุกระดับชั้น มีการใช้ Hate Speech กันอย่างรุนแรงและน่ากลัว ฝ่ายตรงข้ามทำอะไรก็เลวก็โกงไปเสียทั้งหมด ถ้านายกฯ ใหม่ไม่สามารถพาไทยก้าวข้ามความขัดแย้งและเกลียดชังครั้งนี้ไปได้ เห็นทีเราจะต้องติดกับดักประเทศรายได้ปานกลาง ไปอีกนานแสนนาน

[smartslider3 slider="9"]