Home Mix Magazine - Perspective of AEC 2017-2016 PERSPECTIVE OF AEC – การเสด็จพระราชดำเนินเยือน AEC

PERSPECTIVE OF AEC – การเสด็จพระราชดำเนินเยือน AEC

0
567
[smartslider3 slider="7"]

ตลอดระยะเวลา 70 ปี ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงครองสิริราชสมบัติ พระองค์ท่านเสด็จ พระราชดำเนินเยือนประเทศต่างๆ ทั้งในทวีปเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ รวมทั้งสิ้น 27 ประเทศ ในช่วงปีพ.ศ. 2502 จนถึงพ.ศ. 2510 โดยได้เสด็จฯเยือนประเทศใน AEC รวม 6 ประเทศคือ เวียดนามใต้ อินโดนีเซีย  เมียนมา มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสปป.ลาว

ประเทศแรกที่เสด็จฯเยือนอย่างเป็นทางการคือประเทศเวียดนามใต้ ในระหว่างวันที่ 18 ถึงวันที่ 21 ธันวาคม 2502 ตามคำ กราบบังคมทูลเชิญของประธานาธิบดีโงดินห์เดียม ในการเสด็จฯครั้งนั้นมหาวิทยาลัยไซ่ง่อนได้ทูลเกล้าฯถวายปริญญา ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ด้านกฎหมายแด่พระองค์ท่าน ในการเสด็จฯครั้งนั้นทั้งสองพระองค์ได้เสด็จไปยังเมืองหลวงเดิม “เว้” และเมืองตากอากาศชื่อดัง “ดาลัด” ของเวียดนามอีกด้วย

ประเทศที่สองที่เสด็จฯเยือนคือสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ในระหว่างวันที่ 8 จนถึงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2503 ประธานาธิบดีซูการ์โน ได้กราบทูลในการรับเสด็จ มีใจความสำคัญตอนหนึ่งว่า “…ไทยกับอินโดนีเซียได้มีประวัติศาสตร์ แห่งความเป็นมิตรมาเป็นเวลาหลายร้อยปีแล้ว มีสิ่งของและอาหารหลายอย่างของอินโดนีเซียมีคำว่า ไซมิสเป็นคุณศัพท์ รวมอยู่ด้วย คำว่าไซมิส มาจากคำว่า สยามอันเป็นชื่อเดิมของประเทศไทยในการเสด็จเยือนครั้งนั้นพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวฯได้พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงให้แก่ประธานาธิบดีซูการ์โน รัฐมนตรี และ เอกอัครราชทูต อินโดนีเซียประจำประเทศไทย  

มหาวิทยาลัยกัดจาห์มาดา มหาวิทยาลัยชื่อดังของเมืองยอร์กยาการ์ตา ซึ่งประธานาธิบดี โจโควี่เป็นศิษย์เก่า ได้ทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์แด่พระองค์ท่าน จากนั้นพระองค์เสด็จฯเยือน “บุโรพุทธโธ”  ซึ่งเป็นศาสนสถาน ของศาสนาพุทธนิกายมหายานและนับเป็นศาสนาสถานของศานาพุทธที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งองค์การยูเนสโกได้ประกาศ ให้เป็นมรดกโลกในปีพ.ศ. 2534

วันที่ 2–5 มีนาคมปีเดียวกันในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จฯเยือนสหภาพพม่า (ชื่อในขณะนั้น) ภาพน่าประทับใจในการเสด็จฯ ครั้งนั้นก็คือตลอดระยะทางกว่า  24 กิโลเมตรจากสนามบินไปยังทำเนียบที่ประทับมีประชาชนถือธงชาติไทยและธงชาติ พม่ายืนรอเฝ้ารับเสด็จกันเนืองแน่นเต็มทั้งสองข้างทาง ประธานาธิบดีอูวินหม่องได้ทูลเกล้าถวายเครื่องอิสริยาภรณ์ อัครมหาสิริธรรมะซึ่งเป็นเครื่องอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดของสหภาพพม่า และพระองค์ฯได้พระราชทานเครื่องราช อิสริยาภรณ์ปฐมจุลจอมเกล้าแก่ประธานาธิบดี ในการเสด็จครั้งนั้นในหลวงรัชกาลที่ 9 และพระราชินีได้เสด็จพระราช ดำเนินไปนมัสการเจดีย์ชเวดากองและทรงถวายเงินบำรุงเป็นพุทธบูชาจำนวน 2,503 จ๊าตเท่ากับอายุของพระพุทธศาสนา ตามปีพ.ศ.ของไทยซึ่งนับช้ากว่าปีพ.ศ.ของสหภาพพม่าอยู่ 1 ปีนั่นเอง

หลังจากสหภาพพม่าในช่วงวันที่ 14 มิถุนายนจนถึง 15 กรกฎาคม ปีพ.ศ. 2503  ในหลวงรัชกาลที่ 9 พระราชินีพร้อมด้วย สมเด็จพระเจ้าลูกเธอทั้ง 4 พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนสหรัฐอเมริกา ซึ่งในการเสด็จฯครั้งนั้นได้เสด็จฯโรง ถ่ายหนังของพาราเมาต์ซึ่งกำลังถ่ายทำหนังเรื่อง G.I.Blues อยู่ พระเอกของเรื่อง เอลวิส เพรสลีย์ได้เข้าเฝ้ารับเสด็จด้วย ในวันต่อมาได้เสด็จฯไปดิสนี่ย์แลนด์โดยนายวอลท์ ดิสนีย์เฝ้ารับเสด็จฯ ในหลวงรัชกาลที่ 9 และพระราชินีได้ทรงประทับ เครื่องเล่นพร้อมสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ (ฟ้าชาย) และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ (ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์) ซึ่งขณะนั้นทรง มีพระชนมายุ 8 และ 9 พรรษา

PERSPECTIVE OF AEC - การเสด็จพระราชดำเนินเยือน AEC
เสด็จพระราชดำเนินเยือนดิสนีย์แลนด์ ในสหรัฐฯ เมื่อปี 2503 พร้อมด้วยสมเด็จพระราชินี ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญาฯ และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ขณะยังทรงพระเยาว์

ในระหว่างวันที่ 4 ถึงวันที่ 7 กรกฎาคมเสด็จฯเยือนนครนิวยอร์คและทรงเข้าร่วมในขบวนแห่ทริกเกอร์เทป (Ticker Tape) ซึ่งเป็นพิธีต้อนรับแขกเมือง ขบวนแห่นำโดยขบวนดุริยางค์ ตามด้วยทหารสามเหล่าทัพและตำรวจ ระหว่างทางที่ขบวน เสด็จฯผ่านไปตามถนนบรอดเวย์ ประชาชนจำนวนมากต่างพากันโบกมือและเปล่งเสียงต้อนรับอย่างกึกก้องและพากัน โปรยกระดาษสายรุ้งลงมาจากหน้าต่างชั้นบนของอาคารทั้งสองฟากถนนอย่างน่าประทับใจยิ่ง หนังสือพิมพ์ในสหรัฐฯ รายงานข่าวว่ามีผู้เฝ้ารับเสด็จฯและชื่นชมพระบารมีมากถึง 7 แสนคน ในการเสด็จฯเยือนสหรัฐครั้งนั้นยังได้เสด็จฯไป ยังบอสตัน มหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ดและโรงพยาบาลเมาต์ออเบิร์นซึ่งเป็นสถานพยาบาลที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จพระราช สมภพอีกด้วย

หลังจากนั้นได้เสด็จฯเยือนอังกฤษ เยอรมัน โปรตุเกส สวิสเซอร์แลนด์ เดนมาร์ก นอร์เวย์ สวีเดน อิตาลี นครรัฐวาติกัน เบลเยี่ยม ฝรั่งเศส ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์และสเปน ในระหว่างเดือนกรกฎาคมจนถึงเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกัน ก่อนที่จะเสด็จฯเยือนสาธารณรัฐอิสลามปากีสถานในระหว่างวันที่ 11 จนถึงวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2505

ในระหว่างวันที่ 20 จนถึงวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2505 เสด็จพระราชดำเนินเยือนสหพันธรัฐมลายาหรือมาเลเซียในปัจจุบัน เมื่อเสด็จพระราชดำเนินถึงกรุงกัวลาลัมเปอร์ ยังดี เปอร์ตวน อากง กษัตริย์มลายา และประไหมสุหรี (พระราชินี) ได้มาเฝ้ารับเสด็จ ณ ท่าอากาศยานกัวลาลัมเปอร์ ในการเสด็จฯเยือนพระองค์ทรงรับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุด กษัตริย์มลายาทรงถวายพระนามพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯรัชกาลที่ 9 ว่า “Our Royal Brother and Friend” ในการเสด็จฯครั้งนั้นพระองค์ทรงเปิดระบบโทรศัพท์ติดต่อทางไกลระหว่างไทยกับสหพันธรัฐมลายาด้วย

ในระหว่างวันที่ 18 สิงหาคมจนถึงวันที่  26 สิงหาคม ปีเดียวกันนั้น พระองค์เสด็จฯเยือนนิวซีแลนด์ในฐานะพระราช อาคันตุกะของผู้สำเร็จราชการนิวซีแลนด์ โดยทรงเป็นพระมหากษัตริย์จากต่างประเทศพระองค์แรกที่เสด็จฯเยือน นิวซีแลนด์ หลังจากนั้นพระองค์เสด็จฯเยือนออสเตรเลียในระหว่างวันที่ 26 สิงหาคมจนถึงวันที่ 12 กันยายน ในการ เสด็จฯเยือนครั้งนั้นมหาวิทยาลัยเมลเบิร์นได้ทูลเกล้าฯถวายปริญญานิติศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์

ในปีถัดมาพ.ศ. 2506 ระหว่างวันที่ 27 พฤษภาคมจนถึงวันที่ 8 มิถุนายน ทั้งสองพระองค์เสด็จฯเยือนญี่ปุ่นและไต้หวัน ก่อนที่จะเสด็จฯเยือนสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ในช่วงวันที่ 9 ถึงวันที่ 14 กรกฎาคม ซึ่งทางการฟิลิปปินส์ได้ผลิตแสตมป์ ภาพทั้งสองพระองค์และประธานาธิบดีเฟอร์ดินานด์มาร์กอสและภริยาเป็นที่ระลึกการเสด็จพระราชดำเนินเยือนครั้งนั้นด้วย

แคนาดาเป็นประเทศสุดท้ายที่ทรงเสด็จฯในระหว่างวันที่ 21 ถึง 24 เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2510 หลังจากนั้นก็มิเคยเสด็จ พระราชดำเนินออกนอกพระราชอาณาจักรเพื่อทรงเยือนประเทศใดๆอีกเลย เพราะพระองค์ทรงเห็นว่าพระราชภารกิจใน การทรงงานเพื่อความผาสุกของประชาชนของพระองค์นั้นมีความสำคัญยิ่ง หากประเทศใดกราบบังคมทูลเชิญให้เสด็จฯ ไปทรงเยือนก็จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูงเช่นพระราชโอรสหรือพระราชธิดาเสด็จ พระราชดำเนินแทนพระองค์ จนกระทั่งถึงปี 2537 ระหว่างวันที่ 8 ถึง 9 เมษายน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรม ราชินีนาถและสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีได้เสด็จฯ เยือนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว อย่างเป็นทางการ ซึ่งนับเป็นการเสด็จฯเยือนต่างประเทศอีกครั้งหนึ่งหลังจากที่ทรงว่างเว้นจากการเสด็จฯ มาเป็นเวลานาน เกือบ 30 ปี  การเสด็จฯในครั้งนั้นพระองค์ทรงเสด็จฯไปเปิดสะพานมิตรภาพไทย-ลาว ซึ่งเป็นสะพานแรกที่สร้างเชื่อมดิน แดนของทั้งสองประเทศเข้าด้วยกันร่วมกับ ฯพณฯหนูฮัก พูมสะหวัน ประธานประเทศลาว  เมื่อทรงประกอบพิธีเปิดสะพาน แล้วได้เสด็จพระราชดำเนินต่อไปทรงงานยังโครงการพระราชดำริต่างๆที่ได้พระราชทานให้แก่ประชาชนลาวมาก่อนหน้า นั้น

[smartslider3 slider="9"]

NO COMMENTS