Home Mix Magazine - Perspective of AEC 2017-2016 PERSPECTIVE OF AEC – จากสาวลาวถึงสาวกัมพูชา

PERSPECTIVE OF AEC – จากสาวลาวถึงสาวกัมพูชา

0
546
[smartslider3 slider="7"]

ฉบับนี้ผมจะพาท่านผู้อ่านไปรู้จักบางมุมที่น่าสนใจผู้หญิงของเพื่อนบ้านเราสองประเทศนะครับ คือสาวสปป.ลาว และสาวกัมพูชา

ไปที่สปป.ลาวก่อนเพราะเขาเพิ่งจัดประกวดนางสาวลาว 2016 เสร็จไป โดย นางบุดสะบา แสงปัน อายุ 18 ปีหมายเลขประจำตัวคือ  M19 เป็นผู้คว้ามงกุฎไปครองพร้อมกับอีกสองตำแหน่งคือขวัญใจช่างภาพ และ สาวมีสะเหน่ (พยายามสะกดให้เป็นภาษาลาวมากที่สุดครับ) ได้รับรางวัลไปทั้งมงกุฎเพชร เงินสด รถยนต์ และรางวัลอื่นๆรวมเป็นเงินกว่า 400 ล้านกีบหรือราวๆ 1,730,000  บาทครับ ส่วนคนที่ได้รองอันดับ 1 แถมควบ ตำแหน่งสาวมิดตะพาบ คือนางคิดสะไหม บุนตีวอละวง อายุ 20 ปี M20 รองอันดับ 2 คือนางพอนวิไล หลวงลาด อายุ 19  ปี M18 ซึ่งควบตำแหน่งสาวหน้าใสอีกด้วย ดูรูปประกอบกันเอาเองก็แล้วกันว่างามขนาดไหน

PERSPECTIVE OF AEC - จากสาวลาวถึงสาวกัมพูชา

สาวลาวนั้นส่วนใหญ่ยังมีรูปร่างไม่สูงเท่าไหร่แต่ว่าผิวพรรณสวยงาม ดังนั้นคนที่ชนะการประกวดส่วนใหญ่ จะเป็นสาวที่มีความสูงมากกว่าผู้สมัครคนอื่นๆ แต่ยังไม่สูงเท่าผู้สมัครนางสาวไทย การประกวดนางงามใน สปป. ลาว เขาก็มีหลายเวทีนะครับแต่เวทีนี้ถือเป็นเวทีใหญ่ที่สุดจึงมีสาวลาวที่เรียนสูงๆ เช่นเรียนหมอ หรือบางคนก็ไป เรียนต่างประเทศแล้วกลับมาร่วมประกวด การประกวดนางงามใน สปป.ลาวนั้นเขาจะมีการใส่ชุดประจำชาติ และชุดราตรีเหมือนบ้านเราแต่เขาไม่นิยมใส่ชุดว่ายน้ำประกวดกันนะครับ บางเวทีใช้ชุดกีฬาสั้นแทน บางเวทีใช้ เดรสสั้นแทน เพื่อรักษาประเพณีอันดีงามเอาไว้

พูดถึงการรักษาประเพณีอันดีงามเอาไว้นั้น ผมว่าคนไทยเราต้องดูเพื่อนสปป.ลาวให้ดีนะครับ เพราะเขายังรักษา วัฒนธรรมไว้ได้อย่างเหรียวแน่นกว่าเรา โดยฉพาะสาวๆ ที่นั่นเขาให้นุ่งซิ่นกันตั้งแต่เป็นนักเรียนจนเรียนจบ เมื่อทำงานไม่ว่าจะทำงานออฟฟิส งานธนาคารหรือจะทำงานเป็นวิศวกรก็ยังนุ่งซิ่นกันอยู่ ยิ่งไปงานบุญ งานแต่งงานที่คนสปป.ลาวเขาเรียกงานดองกันก็ยิ่งต้องนุ่งซิ่น ดูแล้วอดปลื้มใจแทนไม่ได้

ผู้เข้าประกวดนางสาวส่วนใหญ่จะอายุสิบปลายๆเสียส่วนเป็นส่วนใหญ่ เพราะสาวลาวนั้นถ้าอายุเกิน 25 ปีไป แล้วนี่เขาถือว่าเป็นคนอายุเยอะแล้วนะครับ ขนาด“น้องดา” ผู้จัดการกองประกวดคราวนี้ก็ยังมีอายุแค่ 26 ปี เท่านั้นเอง พอถามว่าทำไมผู้จัดการกองประกวดนี่อายุน้อยจัง? เธอตอบทันทีว่าไม่เด็กแล้วนะคะ อายุ 26 ปีสำหรับสาวลาวนี่แก่มากเลยนะคะ สาวไทยได้ยินมีหวังเดินหนีกันเป็นแถว

จะว่าไปก็แปลกดีนะครับ เพราะที่สปป.ลาวนี่เขาไม่มีนางสาวกัน เพราะผู้หญิงที่นี่พอเกิดขึ้นมาก็มีคำนำหน้าว่า “นาง” เลย ไม่มีเด็กหญิง นางสาวและนางเหมือนบ้านเรา ส่วนผู้ชายเกิดมาก็เป็น “ท้าว” กันตลอดชีวิตเลย เพราะฉะนั้นผู้เข้าประกวดใช้คำนำหน้าว่า “นาง” กันทุกคน ดังนั้นเวลาไปเที่ยว สปป.ลาว แล้วเจอคน ที่มีคำนำหน้าว่า “นาง” อย่าเพิ่งรีบคิดไปว่าเขาแต่งงานแล้วนะครับ อาจจะยังเป็นสาวโสดอยู่ก็ได้ อย่าเพิ่งหมดหวัง

สาวลาวนี่เขานิยมแต่งงานกันเร็วนะครับ พออายุถึง 16 ปีนี่ก็เริ่มแต่งงานกันแล้ว แม้จะยังเรียนหนังสืออยู่ก็ แต่งงานได้ถือเป็นเรื่องปรกติ พออายุเกิน 20 ปีแล้วยังไม่ได้แต่งงานนี่ถือว่าช้าไปแล้ว และถ้าเป็นสาวไม่ได้ แต่งงานหรือแต่งงานช้ามากจะโดนเรียกว่า “สาวค้างบ้าน” ดูน่ารักดีนะครับ น่ารักกว่าคำว่า “ขึ้นคาน” ของไทยเรา แถมให้หน่อยว่าเวลาอยากจะชมสาวลาวว่าสวยให้ชมว่า “งาม” แต่ถ้าจะชมผู้ชายว่าหล่อให้ชมว่า “เจ้าชู้ผู้งาม” คำว่าเจ้าชู้ผู้งามนี่แปลว่า “หล่อ” ถ้าจะบอกว่าคนนี้เจ้าชู้ตามความหมายของคนไทย เขาจะใช้คำว่า “คนมักเล่น” ซึ่งใช้ได้ทั้งผู้ชายเจ้าชู้และและผู้หญิงเจ้าชู้เลยครับ

ทีนี้มาทำความรู้จักสาวกัมพูชากันบ้าง ตอนเจอสาวลาวแล้วมีชื่อนำหน้าว่านาง แต่ยังบอกไม่ได้ว่าเป็นนางหรือ เป็นนางสาวก็ว่างงกันแล้ว ถ้าเจอสาวกัมพูชานี่ต่อให้เธอบอกชื่อบอกนามสกุลจนครบเรียบร้อยเราก็จะยังบอก ไม่ได้ว่าเธอเป็นภรรยาหรือลูกเต้าเหล่าใคร ต้องถามให้ชัดๆถึงจะรู้นะครับ

ทั้งนี้เพราะคนกัมพูชานั้นเขามีวิธีการตั้งชื่อที่แตกต่างไปจากคนไทยเรา ยกตัวอย่างชื่อคนดังอย่างภริยาสมเด็จ ฮุนเซน นายกรัฐมนตรีของกัมพูชาก็แล้วกันนะครับจะได้เข้าใจง่ายหน่อย ชื่อเต็มๆของท่านคือ “บุน รานี ฮุนเซน”  “บุน” นั้นเป็นนามสกุล คนกัมพูชาจะเอานามสกุลมานำหน้าชื่อทุกคนนะครับเช่นชื่อของสมเด็จฮุน เซน “ฮุน” ก็คือนามสกุล ส่วน “เซน” เป็นชื่อครับ เพราะฉะนั้น “รานี” ก็เลยเป็นชื่อของสุภาพสตรีหมายเลข  1  ส่วนสองคำ หลังสุดคือ “ฮุน เซน” นั้นเป็นการเอาสกุลและชื่อสามีมาต่อท้ายชื่อตัวเอง ซึ่งภรรยาที่มีสามีเป็นคนดังหรือเป็น คนใหญ่คนโตในกัมพูชามักนิยมที่จะเอาชื่อสามีมาต่อท้ายชื่อตัวเอง จะได้รู้ว่าเธอผู้นั้นเป็นภรรยาใคร ในกรณีนี้ นั้นท่านเอาทั้งนามสกุลและชื่อสามีมาใช้ครบเลย ซึ่งก็ไม่ผิดอะไร

ส่วนในคู่ที่ภรรยาเป็นคนที่มีชื่อเสียงมากกว่าสามี คนกัมพูชาก็จะเอาชื่อภรรยามาต่อท้ายชื่อตัวเองเป็นการ ประกาศเช่นกันว่าข้าพเจ้าเป็นสามีของใคร ภรรยาข้าพเจ้าดังนะ รู้จักไว้ซะ ประมาณนั้น

แต่ที่น่าสนุกก็คือผู้หญิงกัมพูชาแม้จะอยากให้คนอื่นๆรู้ว่าใครเป็นสามีด้วยการเอาชื่อสามีมาต่อท้ายชื่อตัวเอง แต่กลับนิยมที่จะใช้นามสกุลเดิมไม่ชอบเปลี่ยนไปใช้นามสกุลสามีแม้จะแต่งงานกันแล้ว อย่าง บุน รานี ฮุน เซน ก็ยังใช้นามสกุลเดิมของตัวเองคือ “บุน” อยู่เหมือนเดิม ดังนั้นเวลาไปเจอผู้ชายผู้หญิงกัมพูชาเดินมาด้วยกัน แล้วทั้งคู่แนะนำตัวเองว่ามีนามสกุลคนละนามสกุลกันก็ต้องคิดไว้ด้วยนะครับว่าเขาอาจจะเป็นสามีภรรยากันก็ได้

ที่น่าสนุกยิ่งขึ้นก็คือการตั้งนามสกุลของลูกนั้นมีวิธีให้เลือกได้หลายวิธีมากเลยนะครับ เช่นสามารถเอานามสกุล ของพ่อมาใช้หรือถ้าแม่ดังกว่าพ่อก็อาจจะเอานามสกุลของแม่มาใช้เป็นนามสกุลลูกก็ได้ หรือถ้าอยากให้รู้ว่าใคร เป็นพ่อแต่ไม่ชอบนามสกุลของพ่อ เขาก็จะเลือกเอาชื่อตัวของพ่อมาใช้เป็นนามสกุลลูกก็ได้ หรือถ้ารักพ่อ เสียดายแม่ ลูกก็สามารถเอาทั้งชื่อตัวของพ่อและชื่อตัวของแม่มารวมกันเป็นนามสกุลใหม่ของลูกก็ยังได้

เพราะฉะนั้นเวลาเจอคนกัมพูชาที่นามสกุลต่างกันเขาอาจเป็นสามีภรรยากัน หรือเขาอาจจะเป็นพ่อแม่ลูกกันหรือ เขาอาจจะเป็นพี่น้องกันก็ได้ มีโอกาสเป็นไปได้หมดเลย หรือบางทีไปเจอคนที่มีนามสกุลเดียวกันเขาอาจจะไม่ใช่ ญาติพี่น้องกันเลยก็เป็นไปได้อีก ทางที่ดีที่สุดก็คือให้ถามเขาตรงๆว่าเขาเป็นลูกเต้าเหล่าใคร แต่งงานหรือยังโสด อยู่ จะได้ไม่เข้าใจผิดกัน

สามกัมพูชาที่งามนั้นต้องมีลักษณะเหมือนนางอัปสราที่นครวัด หน้ามีเหลี่ยมหน่อยแต่รูปร่างนั้นงดงามสมบูรณ์ แบบชาติหนึ่งเลยทีเดียว แต่ถ้าหนุ่มไทยคิดจะไปจีบสาวกัมพูชาแล้วล่ะก็ควรจะเรียนรู้ก่อนนะครับว่า สังคม กัมพูชานั้นเป็นสังคมที่ให้ความสำคัญกับลูกสาวมากกว่าลูกชาย เพราะลูกสาวจะเป็นเลี้ยงดูพ่อแม่ไปตลอดชีวิต ในสังคมกัมพูชานั้นผู้หญิงเป็นคนนำผู้ชายเป็นคนตาม ผู้ชายเมื่อยังไม่ได้แต่งงานต้องเชื่อฟังและปฏิบัติตามคำสั่ง ของแม่ ต่อเมื่อแต่งงานแล้วต้องเชื่อฟังและปฏิบัติตามคำสั่งของเมีย เมียในภาษากัมพูชานั้นจะเรียกว่า ปรอปรวนหรือพะริเยียก็ได้ แต่ถ้าพูดว่า “เมีย” แปลว่าศัตรูหรือมารนะครับ เขียนไปเขียนมาชักสงสัยทำไมผู้ชายไทยเราเรียกภรรยาว่า “เมีย”? เอามาจากกัมพูชาหรือเปล่านะ?

[smartslider3 slider="9"]

NO COMMENTS