Home Mix Magazine - Perspective of AEC 2017-2016 PERSPECTIVE OF AEC – พ่อลูกอองซาน

PERSPECTIVE OF AEC – พ่อลูกอองซาน

0
600
[smartslider3 slider="7"]

เมียนมานั้นเป็นประเทศที่ไม่ค่อยมีวีรบุรุษของประเทศ ตั้งแต่อดีตมาแต่ละชนเผ่าไม่ว่าจะเป็น บะหม่า ซึ่งเป็นชนเผ่าหลัก ที่มีมากที่สุดคือราวๆ 60 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั้งหมดแล้วก็ยังมีอีก 7 ชนเผ่าสำคัญคือ มอญ ไทยใหญ่ ยะไข่ คะหยิ่น หรือกระเหรี่ยง คะฉิ่น ชิน และคะยา ซึ่งในอดีตความสัมพันธ์ระหว่างชนเผ่าทั้ง 8 เหล่านี้ไม่ ต่างอะไรกับความสัมพันธ์ ของประเทศที่มีพื้นที่ติดกันที่จะรักกันบ้างรบกันบ้างแต่ส่วนมากจะรบกันเสียมากกว่า

แต่ละชนเผ่าในแต่ละช่วงเวลา อาจจะมีวีรบุรุษของเผ่าตัวเองบ้าง แต่ชนเผ่าอื่นๆก็ไม่นับถือถือเอาวีรบุรุษของเผ่าอื่นมาเป็น วีรบุรุษของตน ต่อเมื่ออังกฤษเข้ามาปกครองและรวมเอาชนเผ่าทั้ง 8 รวมเข้ากับอีกร้อยกว่าชนเผ่าเล็กๆที่กระจัดกระจายกัน อยู่ตามชายขอบแล้ว อังกฤษจึงเรียกชื่อกลุ่มคนทั้งหมดนี้ว่าบะหม่าเป็นภาษาอังกฤษว่า Berma ซึ่งไทยเราก็เรียกตามว่าพม่า ในช่วงนี้แหล่ะครับที่ “นายอองซาน” ซึ่งตอนนั้นยังเป็นเด็กหนุ่มขึงได้รวบรวมกำลังพรรคพวกรุ่นราวคราวเดียวกันไป ชวนเอาญี่ปุ่นเข้ามาไล่อังกฤษออกไปได้สำเร็จ เมื่อญี่ปุ่นเข้ามาปกครองขึงได้แต่งตั้งเขาให้เป็น “ปู่โช่ว์อองซานหรือ นายพลอองซาน” เพียงไม่นานปู่โช่ว์อองซานก็ได้ เรียนรู้ว่าญี่ปุ่นก็ไม่ได้แตกต่างจากอังกฤษในเรื่องการกดขี่ข่มเหง และ การดูดเอาทรัพยากรของพม่าไปใช้ เขาจึงวางแผน ชวนอังกฤษให้กลับเข้ามาขับไล่ญี่ปุ่นออกไปโดยมีเงื่อนไข ว่าเมื่อทำได้ สำเร็จอังกฤษจะต้องคืนเอกราชให้กับพม่า สุดท้ายเขาก็ทำได้สำเร็จตามแผน

เมื่อรู้ว่าจะได้เอกราช ปู่โชว์อองซานนั้นตั้งใจที่จะร่างรัฐธรรมนูญซึ่งจะให้ชนเผ่าทั้ง 8 จะมีความเป็นอิสระใน การบริหาร ตนเอง ผู้นำชนเผ่าจึงได้มาลงนามกันใน “สนธิสัญญาปางโหลง” ซึ่งมีสาระสำคัญที่จะให้อำนาจในการปกครองตนเองแก่ ชนเผ่าต่างๆ พร้อมกันนั้นก็ได้มีการร่างรัฐธรรมนูญเพื่อจะนำไปสู่การเลือกตั้งและการคืนอำนาจให้กับชนเผ่า แต่โชคร้ายที่ แกนนำของประเทศบางส่วนไม่เห็นด้วยกับแนวคิดนี้ จึงได้ส่งคนมาสังหารปู่โช่ว์อองซานเมื่อเขา เดินออกมาจากห้องประ ชุมจนเสียชีวิตพร้อมๆกับรัฐมนตรีอีกหลายคน ทำให้ผู้คนทุกชนเผ่ายังจดจำมาถึงทุกวันนี้ว่า ปู่โช่ว์อองซานนี่หล่ะที่เป็น วีรบุรุษของชาติที่แท้จริงเพียงคนเดียวและยังคงให้ความเคารพนับถือมาจนถึงวันนี้ ปีที่เขาโดนสังหารนั้นลูกสาวของเขา คืออองซานซูจิ เพิ่งจะมีอายุได้สองขวบหนึ่งเดือนเท่านั้น ต่อมามารดาของเธอ ด่อว์ขิ่นจี พาเธอไปศึกษาต่อที่อินเดียขณะที่ เธอ ต้องไปรับตำแหน่งทูตที่นั่นก่อนที่อองซานจะไปเรียนต่อในอังกฤษจนพบรักกับไมเคิล อริส นักศึกษารุ่นน้องใน มหาวิทยาลัยเดียวกัน เมื่อเรียนจบอองซานก็ได้ทำงานที่องค์การสหประชาชาติและมีชีวิต ครอบครัวที่มีความสุขกับไมเคิล และลูกชายสองคน อเล็กซานเดอร์และคิม กระทั่งเธอได้ข่าวว่ามารดาซึ่งอยู่ในย่างกุ้งป่วยหนัก เธอจึงกลับมาเยี่ยมในเดือน มีนาคม พ.ศ. 2531

เหมือนโชคชะตาจะกำหนดให้เธอต้องเกิดมาเป็น วีรสตรีของชาติคนที่สองต่อจากบิดาของเธอ รัฐบาลทหารของพม่าได้ ใช้ความรุนแรงจัดการกับนักศึกษาและประชาชน ในการชุมนุม 8888  ซึ่งหมายถึงการชุมนุมในวันที่  8 เดือน 8 ปีค.ศ. 1988 เมื่อเกิดความรุนแรงนักศึกษาและประชาชน ซึ่งยังไม่มีผู้นำก็เลยไปชวนอองซานซึ่งเป็นลูกสาววีรบุรุษของชาติมา ขึ้นเวทีปราศรัยด้วย 26 สิงหาคม พ.ศ. 2531 เป็นวันแรกของการขึ้นเวทีปราศรัยของด่อว์อองซานซูจิ ที่พระมหาเจดีย์ ชเวดากองต่อหน้าคนเมียนมาหลายแสนคนเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย ซึ่งเป็นแรงกระเพื่อมทางการเมืองครั้งใหญ่ที่สุด ของประเทศ จนทำให้อีกสามอาทิตย์ต่อมาทหารต้องตั้งสภาฟื้นฟูกฎระเบียบแห่งรัฐหรือที่เราคุ้นเคยในชื่อสล็อคร์ อาทิตย์ ต่อมาด่อว์อองซานกับคณะได้ร่วมกันก่อตั้งพรรคสันนิบาตเพื่อประชาธิปไตย (NLD) โดยเธอรับตำแหน่งเลขาธิการพรรค โดยตอนนั้เธอคิดเพียงว่าเมื่อจัดพรรคเสร็จเรียบร้อยจะกลับไปใช้ภูฏานเพื่อใช้ชีวิตกับครอบครัวต่อไป แต่ก่อนที่เธอจะได้ เดินทางออกนอกประเทศ รัฐบาลทหารก็ได้สั่งกักบริเวณเธอเป็นเวลา 3 ปี ก่อนที่จะขยายเวลากักบริเวณเธอเป็น 6 ปีโดย ไม่มีเหตุผล ด่อว์อองซานซึ่งชื่นชอบมหาตมคานธีจึงได้ใช้วิธีการต่อสู้แบบอหิงสาของเขามาเป็นแนวทางในการต่อสู้กับ รัฐบาลทหาร จนโลกได้รับรู้และทำให้เธอได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปี พ.ศ. 2534

หลังจากครบ 6 ปีในการโดนกักบริเวณครั้งแรก ด่อว์อองซานจึงมีโอกาสได้พบกับสามีและลูกทั้งสองที่มาเยี่ยมเธอใน เมียนมา โดยไม่มีใครคาดคิดว่านั่นจะเป็นการพบกันครั้งสุดท้ายอย่างพร้อมพร้อมตาของครอบครัวนี้ เพราะเมื่อไมเคิลและ ลูกๆกลับไป อีกสองปีต่อมาไมเคิลจึงพบว่าเขาเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก แต่เขาก็ไม่ได้รับวีซ่าอนุญาตให้เดินเข้าเมียนมา จนกระทั่งอีก 2 ปีต่อมาคือปีพ.ศ. 2542 ซึ่งรัฐบาลทหารเมียนมาได้อนุญาตให้ด่อว์อองซานซูจิเดินทางออกนอกเมียนมาได้ แต่ด่อว์อองซานตัดสินใจที่จะไม่เดินทางออกนอกประเทศเพราะรู้ดีว่าถ้าเธอเดินทางออกนอกประเทศเธอจะไม่มีวันได้ กลับมาช่วยพี่น้องประชาชนเรียกร้องประชาธิปไตยได้อีก  เมื่อตัดสินใจจะอยู่สู้ต่อ ด่อว์อองซานจึงได้เดินทางไปบันทึก วิดิโอเทป ที่สถานทูตอังกฤษในเมียนมาเพื่อส่งไปอำลาไมเคิล แต่เหมือนโชคชะตาจะกลั่นแกล้งเพราะวิดิโอเทปของเธอ ไปถึงมือสามีหลังจากที่เขาเสียชีวิตไปแล้วเพียงสองวัน

ต่อมาด่อว์อองซานก็ถูกสั่งกักบริเวณอีกสองครั้งคือในปี พ.ศ. 2543 และ 2546  ในปีพ.ศ. 2552  เมียนมามีการเลือกตั้งใหญ่ แต่พรรค  NLD ของเธอคว่ำบาตรการเลือกตั้งจนกระทั่งมีการเลือกตั้งซ่อมในเดือนเมษายนปี พ.ศ. 2555 ที่ พรรค NLD ได้ ส่งผู้สมัครลงแข่งขันและสามารถกวาดชัยชนะไปได้เกือบทุกเขต เป็นสัญญาณแรกที่คนเมียนมาส่ง ออกมาบอกรัฐบาลว่า พวกเขาต้องการประชาธิปไตยและด่อว์อองซานมาเป็นผู้นำของพวกเขา หลังจากได้ชัยชนะในการเลือกตั้งซ่อมครั้งนั้น ด่อว์อองซานได้รับอนุญาตให้เดินทางได้ ประเทศแรกที่เธอเดินทางมาก็คือไทยของเรานี่เอง โดยเข้ามาร่วมประชุมเวิร์ลด์ อีโคโนมิคฟอรั่มที่กรุงเทพ เมื่อโดนนักธุรกิจชาวตะวันตกถามว่าทำไมเธอจึงมาชวนนักธุรกิจไปลงทุนใน ประเทศที่เป็น เผด็จการไม่เป็นประชาธิปไตยและยังเต็มไปด้วยคอร์รัปชั่น เธอยิ้มๆและตอบว่าเพราะประเทศเรายังเป็น เผด็จการและยัง ไม่เป็นประชาธิปไตยและยังเต็มไปด้วยคอร์รัปชั่น การที่พวกคุณไปลงทุนในประเทศของเราจะทำให้ประเทศของเราก้าว หน้าไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้นและพวกคุณก็จะมาช่วยทำประเทศนี้ให้โปร่งใสมากขึ้น เมื่อวันนั้นมาถึงทั้งพวก ท่านและพม่าก็จะได้ประโยชน์ร่วมกันและนี่ไม่ใช่สิ่งที่พวกท่านต้องการหรอกหรือ? วินาทีนั้นเธอสามารถจะตอบแบบ เอาดีเข้าตัวเอาชั่วให้รัฐบาลก็ได้เพราะ CNN ถ่ายทอดสดอยู่ แต่เธอเลือกที่จะตอบช่วยประเทศ ใจของเธอใหญ่ไม่ธรรมดา เลยใช่มั้ยครับ

เมื่อพรรค NLD ของเธอชนะการเลือกตั้งครั้งล่าสุดอย่างถล่มทลายจนพรรค USDP  ของทหารต้องยอมแพ้และถอยกับ เข้ากรมกองอย่างสงบนั้น แทนที่ด่อว์อองซานจะใช้ไม้แข็งเดินหน้าลุยกับทหาร เธอกลับใช้ไม้อ่อนเดินเข้าหาและพูดคุยกับ กองทัพถึงการถ่ายโอนอำนาจอย่างนุ่มนวล ไม่แข็งกร้าวเสมือนหนึ่งว่าเธอไม่เคยโดนกองทัพกักบริเวณและกดขี่ข่มเหงเธอ มาโดยตลอดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 แม้ว่าลึกๆแล้วกองทัพอาจจะยังไม่สบายใจนักกับการก้าวขึ้นมามีอำนาจของเธอ แต่เมื่อ ด่อว์อองซานใช้ความนุ่มนวลและการเจรจาเป็นตัวนำ กองทัพจึงยอมรับกับสภาพในปัจจุบันได้ แม้ว่าในความเป็นจริง กองทัพจะยังมีอำนาจเต็มอยู่เหมือนเดิมและสามารถจะทำอะไรก็ได้ แต่กองทัพก็เลือกที่จะอยู่นิ่งๆปล่อยให้ด่อว์อองซาน บริหารประเทศต่อไปได้ การเสนอชื่อประธานและรองประธานทั้งสภาสูงและสภาล่างของด่อว์อองซานที่ได้คนจากหลาย ชนเผ่ามาดำรงตำแหน่งรวมถึงรัฐมนตรีหลายคนที่มาจากหลายชนเผ่าก็เป็นก้าวย่างที่สำคัญที่ทำให้เธอได้ใจชนเผ่าทั้งหมดที่ลึกๆแล้วยังคงมีความต้องการที่จะเป็นรัฐอิสระ มีอำนาจปกครองตนเอง ซึ่งพ่อของเธอเคยพยายามจะผลักดันแต่ไม่ สำเร็จ  ดังนั้นการรื้อฟื้นหยิบเอา “สนธิสัญญาปางโหลง” กลับขึ้นมาเจรจากับชนเผ่าต่างๆของด่อซ์อองซานก็ยิ่งทำให้เธอ ชนะใจคนทุกชนเผ่าในประเทศได้มากยิ่งขึ้น

เพียงไม่กี่เดือนจากการก้าวเข้าสู่อำนาจ ด่อว์อองซานได้แสดงให้เห็นแล้วว่าเธอสามารถบริหารจัดการความสัมพันธ์กับ กองทัพและชนเผ่าต่างๆได้อย่างดีชนิดที่เรียกว่าเซียนการเมืองเมียนมายังต้องยอมยกนิ้วให้ว่าเธอนั้นไม่ธรรมดาอย่างน่า อะเมซิ่งจริงๆ ทั้งหมดนี้ยิ่งทำให้คนเมียนมาที่อยู่ทั้งในและนอกประเทศยิ่งรู้สึกรักและศรัทธาเธอมากยิ่งขึ้น ดังนั้นทุกครั้ง เมื่อเธอมีโอกาสมาเยี่ยมเยือนแรงงานเมียนมาในไทย จึงไม่น่าแปลกใจที่แรงงานเหล่านี้จะดีใจ และอยากจะเข้าไปเห็นเธอ ใกล้ๆสักครั้งในชีวิต ทุกวันนี้หากได้ไปเที่ยวเมียนมา เราจะได้เห็นภาพปู่ว์โช่ว์อองซานและด่อว์อองซานพิมพ์หรือวาดคู่กันวางขายเต็มไปหมด เป็นการบอกเราว่าคนเมียนมานั้นยังคงรักและเทิดทูนพ่อลูกคู่นี้อย่างไม่เสื่อมคลาย

[smartslider3 slider="9"]

NO COMMENTS