Home Mix Magazine - Perspective of AEC 2017-2016 PERSPECTIVE OF AEC – สร้างคนแบบสิงคโปร์ เวียดนาม

PERSPECTIVE OF AEC – สร้างคนแบบสิงคโปร์ เวียดนาม

0
551
[smartslider3 slider="7"]

ผลการทดสอบความสามารถของเด็กซึ่งเขาจัดทำกันทุก 3 ปีจากเด็กอายุ 15 ปีจำนวน กว่าครึ่งล้านคนทั่วโลก ที่เรียกว่า PISA หรือ โครงการประเมินนักเรียนร่วมกับนานาชาติ (Programme for International Students Assessment) ของปีล่าสุดคือ ปีพ.ศ. 2558 ออกมาแล้ว ผมขอเลือกเฉพาะประเทศที่น่าสนใจมาให้ดูกันนะครับ

ประเทศ    วิทยาศาสตร์  การอ่าน     คณิตศาสตร์
1.สิงค์โปร์556535564
2.ญีุ่่น538516532
3.เอสโตเนีย534519520
4.ไต้หวัน532497542
5.ฟินแลนด์531526511
8.เวียตนาม525487495
9.ฮ่องกง 523527548
10.จีน518494531
11.เกาหลีใต้516517524
15.อังกฤษ509498492
16.เยอรมนี509509506
25.สหรัฐฯ 496497470
คะแนนเฉลี่ย493493490
54.ไทย421409415
62.อินโดนีเซีย403397386
ผลการทดสอบของ PISA 2558

                                              

เห็นแล้วน่าตกใจใช่มั้ยครับ เพราะผลการทดสอบของเด็กไทยเราตกทั้งสามวิชาอีกแล้ว ดูจากคะแนนย้อนหลัง ไปอีกสองครั้ง เด็กไทยเราก็ได้ประมาณนี้แหล่ะครับ คะแนนต่ำกว่าค่าเฉลี่ยหรือสอบตกทั้งสามวิชาตลอดเลย ต่างจากสิงคโปร์ซึ่งเคยได้ที่ 5 จากการทดสอบในปีพ.ศ.  2552 และ ที่ 2 ในปี 2555  มาปีนี้คว้าที่ 1 เลย แต่จะว่า ไปแล้วผลการทดสอบปีที่แล้วซึ่งสิงคโปร์ได้ที่ 2 แพ้เด็กเด็กจีนก็เพราะในปีนั้นจีนเขาทดสอบเฉพาะเด็กใน เซี่ยงไฮ้เท่านั้น พอปีล่าสุดจีนเขาเพิ่มเอาอีกสามเมืองคือ ปักกิ่ง เซียงจูและกวางตุ้งเข้ามา ทำเอาอันดับของจีน ร่วงลงไปอยู่ที่  10 เลยทีเดียว

แต่ที่ดีขึ้นผิดหูผิตาจนคนทั้งโลกต้องพูดถึงคือเวียดนามซึ่งเพิ่งเข้าร่วมทดสอบ PISA ครั้งแรกในการทดสอบครั้งที่ แล้วคือปีพ.ศ. 2555 ซึ่งปีนั้นเด็กเวียดนามสอบได้ที่ 17  ของโลกได้คะแนนวิชาวิทยาศาสตร์ 525 การอ่าน 487 คณิตศาสตร์ 495 สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยและสูงกว่าเมืองไทยซึ่งได้คะแนน 438 / 438 และ 427 ตามลำดับ แต่พอมาปี นี้เด็กเวียดนามสอบได้ที่ 8 ของโลก พุ่งแซงเด็กฮ่องกง จีน เกาหลีใต้ อังกฤษและเยอรมนีขึ้นมาอย่างน่าอะเมซิ่ง

มาลองดูกันครับว่าทำไมเด็กสิงคโปร์และเด็กเวียดนามถึงได้เก่งอย่างนี้

สิงคโปร์นั้นถือว่าการศึกษาคือหัวใจสำคัญในการพัฒนาประเทศตามแนวทางที่อดีตนายกฯ ลี กวนยิววางเอาไว้ให้

การเรียนการสอนแบบ Bilingual โดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักและให้เด็กเลือกเรียนอีก 3 ภาษา คือจีนกลาง หรือแมนดาริน มลายู และทมิฬนั้นทำให้คนสิงคโปร์กว่า 90% และสามารถพูดได้สองภาษาหรือมากกว่า ที่สำคัญ สิงคโปร์เขาเน้นให้เด็กเรียนรู้ในสิ่งที่ชอบและอยากศึกษา ให้ฝึกคิดวิเคราะห์มากกว่าท่องจำ เป็นการสอนแบบ Teach Less, Learn More

แต่เรื่องที่สำคัญที่สุดผมว่าเป็นยุทธศาสตร์ที่สิงคโปร์เขาเน้นมาโดยตลอดก็คือมาตรฐานการสอนซึ่งสิงคโปร์มอง ว่าเป็นเรื่องสำคัญที่สุดของระบบการศึกษา ดังนั้นตั้งแต่ก่อร่าง สร้างประเทศในปี พ.ศ. 2508 สิงคโปร์จึงได้ลงทุน อย่างมากและต่อเนื่องเพื่อสร้างมาตรฐานการสอนให้มีคุณภาพสูงที่สุดในโลกให้ได้ โดยเขาทำให้อาชีพครูเป็น อาชีพที่มีเกียรติมีศักดิ์ศรี ใช้เงินเดือนและเกียรติมาเป็นปัจจัยดึงดูดคนที่เรียนเก่งที่สุด 5% แรกของประเทศอยาก จะมาเป็นครูให้ได้ และกำหนดให้ครูทุกคนจะต้องผ่านการฝึกอบรมที่สถาบันการศึกษาแห่งชาติ เพื่อให้สามารถ ควบคุมคุณภาพของครูได้อย่างเต็มที่ และทำให้ครูใหม่ทุกคนมีสามารถในการสอน และสามารถเดินเข้าสู่ห้อง เรียนไปสอนได้ด้วยความมั่นอกมั่นใจ แต่ที่ต้องขีดเส้นใต้เอาไว้ก็คือสิงคโปร์เขาทำเรื่องทั้งหมดนี้อย่างต่อเนื่อง ครับ ถ้าไม่ทำอย่างต่อเนื่องก็จะไม่ประสบความสำเร็จแบบนี้

ส่วนเวียดนามนั้น นักการศึกษาทั่วโลกได้เข้าไปวิจัยและได้ข้อสรุปคล้ายกันว่าปัจจัย ที่ทำให้เขาประสบ ความสำเร็จในการปฏิรูปการศึกษาคือ วัฒนธรรมของเวียดนาม เช่นความขยันของนักเรียน การทำงานหนักของครู และบทบาทของพ่อแม่

ครูเวียดนามสอนภายใต้ระเบียบวินัยที่เคร่งครัด ทำงานหนัก รับผิดชอบงานสอนเป็นหลัก เน้นผลการเรียนรู้ของ นักเรียนอย่างมาก ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายของโรงเรียนที่ถูกส่วนกลางควบคุมอย่างเข้มงวด นักเรียนเวียดนาม เป็นคนขวนขวายมีความขยันเป็นพื้นฐาน และมีทัศนคติว่าความสำเร็จทางการศึกษาเป็นเป้าหมายสำคัญที่สุดของ ชีวิตเขา เด็กเวียดนามจึงทุ่มเทอย่างจริงจังและขยันเรียนมากกว่าเด็กชาติอื่นๆ ขณะที่พ่อแม่เวียดนามก็มีความคาด หวังสูงกับลูก จึงติดตามผลการเรียนอย่างใกล้ชิด และให้ความร่วมมือกับครูและยังช่วยระดมทุนให้โรงเรียน อีกด้วย

แม้ว่าจำนวนโรงเรียนของเวียดนามจะมีน้อยกว่าประเทศอื่นๆ แต่ทุกโรงเรียนกลับมีมาตรฐานสูงเทียบเท่าสากล เช่นเดียวกับคอมพิวเตอร์ แม้ว่าจะมีจำนวนน้อยกว่าประเทศอื่นๆแต่คอมพิวเตอร์แทบทุกเครื่องของโรงเรียน วิทยาลัยและมหาวิทยาลัยในเวียดนาม สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตผ่านเคเบิลใยแก้วซึ่งรัฐบาลร่วมกับเอกชนมา ช่วยกันวางรากฐานเอาไว้ให้ ธนาคารโลกเคยเข้ามาทำการศึกษาและพบว่านักเรียนมัธยมของเวียดนาม 99.9% สามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ต

เรื่องไอทีกับการศึกษานี้รัฐบาลเวียดนามไม่ได้หยุดอยู่แค่การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตให้สถาบันการศึกษาเท่านั้น แต่กลับมองไปไกลถึงโครงการมหาวิทยาลัยเสมือนหรือ Virtual University โดยไปขอความช่วยเหลือจาก เกาหลีใต้ ให้มาช่วยเหลือในโครงการมหาวิทยาลัยเสมือน Virtual University ที่มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีแห่งฮานอย และโปรแกรม e-Learning ของมหาวิทยาลัยเปิดแห่งฮานอย โดยรัฐบาลเวียดนามตั้งเป้า ที่จะใช้  ICT เพื่อการพัฒนานวัตกรรมและมาตรฐานของการเรียนการสอนให้สูงขึ้นไปอีก และยังมีนโยบายที่จะ ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของคนทั้งประเทศ โดยตั้งเป้าจะทำให้นักเรียน และประชาชนสามารถเรียนรู้ได้ ทุกที่และทุกเวลาที่ต้องการ

เรื่องสุดท้ายที่สะท้อนว่าเวียดนามเขาเอาจริงเอาจังกับเรื่องการศึกษาของประเทศก็คือเรื่องงบประมาณเพื่อการศึกษาครับ แม้ว่าเศรษฐกิจจะพัฒนาน้อยกว่าประเทศอื่นๆ แต่เขาจัดงบประมาณเพื่อการศึกษาสูงมาก คิดเป็น 24% ของงบประมาณของรัฐบาล หรือคิดเป็น 6.3% ของ GDP แม้ว่าเมื่อคิดเป็นเม็ดเงินจริงๆแล้วจะยังต่ำกว่างบ ประมาณเพื่อการศึกษาของประเทศอื่นๆ แต่การใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพรวมกับวัฒนธรรมและยุทธศาสตร์ ต่างๆที่ผมเขียนถึงไปข้างต้นของเวียดนามก็ยังเพียงพอที่จะทำให้เด็กเวียดนามเก่งติด 1 ใน 10 ของโลกได้อย่าง ไม่ยากเย็น

[smartslider3 slider="9"]

NO COMMENTS