PERSPECTIVE OF AEC – อ่านสร้างชาติ

0
564

เริ่มมาตั้งแต่ 15 ธันวาคมปีนี้และจะยาวไปจนถึง 16 มกราคม พ.ศ. 2562 แล้วสำหรับเทศกาลช้อปช่วยชาติของ รัฐบาลที่ส่งเสริมให้คนซื้อหนังสือทั้งแบบเป็นเล่มๆและ e-book ยางรถยนต์ และสินค้าโอท็อป ให้สามารถนำใบ เสร็จมาหักภาษีเงินได้ในวงเงิน 15,000  บาทในช่วง 2 ปีภาษีคือของปีภาษี 2561 และปีภาษี 2562

นับเป็นครั้งแรกที่ผมเห็นรัฐบาลไทยส่งเสริมวงการหนังสืออย่างเป็นรูปธรรม และถือเป็นข่าวดีของคนรักการอ่าน โดยเฉพาะคุณพ่อคุณแม่ที่ต้องการให้ลูกรักอ่านหนังสือให้มากขึ้น เพราะปัจจุบันต้องยอมรับว่าหนังสือต่างๆ ราคาแพงขึ้นไปมาก

สิงคโปร์ซึ่งเป็นชาติที่เก่งที่สุดชาติหนึ่งในโลก เพราะคนของเขามีคุณภาพสูงมีศักยภาพสูงมาก สามารถแข่งกับคน ชาติใดๆในโลกนี้ก็ได้ เป็นเพราะระบบการศึกษาสิงคโปร์เขาดีติดอันดับโลกและคนสิงคโปร์รักการอ่านซึ่งเกิด ขึ้นได้ก็เพราะรัฐบาลส่งเสริมอย่างจริงจัง การที่รัฐบาลไทยได้เลือกเอาหนังสือให้เป็นส่วนหนึ่งของมาตรการ ช้อปช่วยชาติจึงเป็นการมาถูกทางแล้ว แม้จะเป็นการเริ่มต้นเพียงก้าวเล็กๆก็ตามที

นักการศึกษาล้วนทราบดีว่า การอ่านเป็นพื้นฐานเบื้องต้นในการเรียนรู้ของมนุษย์ การส่งเสริมให้คนรักการอ่าน โดยเฉพาะการอ่านแบบจับใจความให้ได้นั้น จะทำให้คนของประเทศมีความสามารถทำความเข้าใจกับสิ่งที่สลับ ซับซ้อนได้ง่ายและดียิ่งขึ้น และมีความสามารถเชื่อมโยงเรื่องราวต่างๆได้ดีและเก่งขึ้นซึ่งเป็นความสามารถที่ สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งของคนในโลกยุคสมัยใหม่ ซึ่งกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทุกมิติ

ดังนั้นการปฏิรูปการอ่านของคนไทยให้มีความสามารถในการอ่านเพื่อจับใจความให้ได้นั้นจึงเป็นก้าวแรกที่ไทย จะต้องทำให้สำเร็จให้ได้เสียก่อนที่จะก้าวไปปฏิรูปการศึกษา ปฏิรูปเศรษฐกิจและปฏิรูปประเทศในท้ายที่สุด หากคนไทยโดยเฉพาะผู้นำขาดความสามารถในการอ่านเพื่อจับใจความให้ได้นั้น การปฏิรูปประเทศย่อมจะ ไม่สำเร็จอย่างแน่นอน

PISA (Programme for Internatioanl Student Assessment) ซึ่งเป็นองค์กรที่วัดความสามารถของเด็กทั่วโลกทุกๆ 3 ปีว่าเก่งมากหรือน้อยแค่ไหน จึงได้เลือกทดสอบเด็กในด้านการอ่านเพื่อการทำความเข้าใจให้เป็นหนึ่งในสามการ ทดสอบร่วมกับคณิตศาสตร์และ วิทยาศาสตร์เพราะ PISA บอกว่าทั้งสามวิชานี้เป็นสามวิชาที่จำเป็นอย่างยิ่ง สำหรับโลกและสำหรับเด็กในการที่จะอยู่ให้รอดและประสบความสำเร็จในอนาคตข้างหน้า

คะแนนการอ่านเพื่อทำความเข้าใจของเด็กไทยโดยการวัดของ PISA  ในปีล่าสุดที่มีการวัดคือของปีพ.ศ. 2558 นั้นได้เพียง 409  คะแนนลดลงจากปีพ.ศ. 2555 ซึ่งเคยได้ 441 คะแนน และต่ำกว่าปีพ.ศ. 2552 ที่ได้ 421 คะแนน

ขณะที่เด็กสิงคโปร์ซึ่งเป็นเด็กที่เก่งที่สุดในโลกโดยการวัดของ  PISA นั้นในปีพ.ศ. 2558 ได้คะแนนการอ่าน 535 คะแนน  ส่วนเด็กเวียดนามซึ่งเก่งเป็นที่  8 ของโลกได้คะแนนการอ่าน 487 คะแนนในปีเดียวกัน คะแนน เฉลี่ยการอ่านของเด็กในองค์กรระหว่างประเทศของกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วอย่าง OECD คือ 493 คะแนน

เมื่อรวมคะแนนของเด็กไทยในด้านการอ่านเพื่อทำความเข้าใจเข้ากับคะแนนของคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ซึ่ง เราได้คะแนนต่ำกว่าคะแนนเฉลี่ยของ OECD ทั้งสามวิชาหรือสอบตกทั้งสามวิชานั่นเอง โดยเฉพาะวิชาการอ่าน เพื่อทำความเข้าใจนั้นคะแนนของเด็กไทยต่ำที่สุดในสามวิชา เด็กไทยจึงเก่งแค่เป็นที่ 55 ของโลกห่างชั้นจากเด็ก สิงคโปร์และเด็กเวียดนามมาก มาถึงจุดนี้คงเห็นได้ ชัดเจนแล้วว่าจำเป็นขนาดไหนที่รัฐบาลไทยจะต้องเร่งส่ง เสริมการอ่านให้กับเด็กไทย เพราะถ้าเด็กไทยเรายังไม่สามารถอ่านเพื่อทำความเข้าใจได้ เด็กเราก็จะเก่งสู้โลก ไม่ได้ นั่นหมายความว่าในอนาคตเด็กไทยและเมืองไทยลำบากแน่ๆ

อยากรู้ว่ารัฐบาลไทยส่งเสริมการอ่านขนาดไหน ลองไปดูการจัดสรรงบประมาณกัน แม้ว่างบประมาณด้าน การศึกษาของไทยเมือ่เปรียบเทียบกับงบประมาณรวมของรัฐบาลแล้ว สัดส่วนดังกล่าวของไทยจะสูงมากๆจน ติดอันดับโลก แต่งบประมาณด้านหอสมุดกลับน้อยจนน่าตกใจ

งบประมาณหอสมุดแห่งชาติของไทยของปีพ.ศ. 2556 ล่าสุดเท่าที่มีข้อมูลได้จากวิกิพีเดีย คือ 86.8 ล้านบาท มี หนังสือ 3.2 ล้านเล่มและมีบุคคลากร  197 คน ขณะที่งบประมาณของหอสมุดแห่งชาติของสิงคโปร์ของปี 2553 นั้นสูงถึง 182  ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ ถ้าเอา 24 บาทคูณก็จะคิดเป็นเงินไทยได้ 4,368 ถึง 50 เท่า สะท้อนชัดเจน เลยว่ารัฐบาลสิงคโปร์ส่งเสริมการอ่านมากกว่าไทยเรามากขนาดไหน

เข้าไปดูเว็บไซต์ของหอสมุดแห่งชาติสิงคโปร์ก็จะพบสถิติที่น่าสนใจของปีพ.ศ. 2560 ว่าจำนวนสมาชิกของ หอสมุดแห่งชาติของเขามีจำนวน 2.4 ล้านคน มีหนังสือ นิตยสาร หนังสือภาพและเสียงรวมกัน 7.5 ล้านเล่ม มี

e-book 7 แสนเล่ม มีคนเข้าห้องสมุดปีที่แล้ว 26 ล้านคน มีคนเข้าไปดาว์นโหลดเว็บไซต์ สมัครเป็นสมาชิกเพื่อ ค้นหาข้อมูล 78.7 ล้านครั้งและมีการยืมหนังสือทั้งที่เป็นหนังสือเล่มและ e-book  รวม 30.9 ล้านเล่ม

สถิติของสิงคโปร์นั้นดูน่าอะเมซิ่งมากเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนประชากรทั้งหมดของประเทศเขาซึ่งมีเพียง 5.64 ล้านคน นั่นหมายความว่าคนของเขายืมหนังสือจากห้องสมุดแห่งชาติเกือบ 6 เล่มต่อคนต่อปีไม่รวมกับหนังสือที่ ซื้อเองอีกไม่รู้กี่เล่มต่อปี ส่วนข้อมูลเหล่านี้ของไทย เสียดายที่ผมยังหาไม่เจอ เลยไม่สามารถเอามาเปรียบเทียบ กันได้ แต่คิดว่าตัวเลขทุกด้านของเราคงต่ำกว่าสิงคโปร์มากแม้ว่าจำนวนประชากรเราจะมีมากเกือบๆ  68 ล้านคน มากกว่าเขา 13 เท่าก็ตาม

งบประมาณที่มีมากกว่า หอสมุดแห่งชาติที่ทันสมัยกว่าไม่ใช่ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เด็กไทยและคนสิงคโปร์รักการ อ่านกว่าเด็กไทยและคนไทย แต่มันเป็นเพียงภาพสะท้อนความสำเร็จของนโยบายส่งเสริมการอ่านของประเทศ ต่างหาก

ทุกๆปีในช่วงเดือนพฤษภาคม สิงคโปร์จะจัดกิจกรรม Read Singapore ซึ่งจะรณรงค์ให้คนอ่านหนังสือเล่มเดียว กันแต่แปลให้อ่านทั้งสี่ภาษา จีนกลาง มลายู ทมิฬและอังกฤษ ตามภาษาราชการของคนทั้งสามกลุ่มของประเทศ เมื่อคนทั้งประเทศอ่านหนังสือเล่มเดียวกัน การจัดกิจกรรมต่อเนื่องก็จัดได้ง่ายและเกิดพลัง เช่นจัดแข่งขันวิจารณ์ หนังสือเล่มนั้นทั้งระดับผู้ใหญ่และเด็ก แปลงจากหนังสือเป็นละครให้คนดู ฯลฯ

มีการจัดกิจกรรมค่ายอ่านหนังสือมาราธอน 6 วัน 6 คืน มีกิจกรรมรณรงค์ให้คุณพ่ออ่านหนังสือให้ลูกฟัง มีการ รณรงค์หาคนจิตอาสามาช่วยกันผลิตหนังสือเสียงเพื่อผู้มีปัญหาทางสายตา มีการแจกถุงหนังสือที่เหมาะสม สำหรับเด็กอายุ 4 ถึง 8 ขวบที่ครอบครัวมีรายได้น้อย

มีการจัดตั้งชมรมการอ่านของคนในอาชีพต่างๆ เช่นขับแท็กซี่ พนักงานขายของ โดยสนับสนุนหนังสือ ส่งเสริม ให้จัดกิจกรรมวิพากษ์วิจารณ์หนังสือ เพื่อกระตุ้นให้คนเหล่านั้นใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และเกิดนิสัยรักการ อ่านในที่สุด สายการบินบางสายก็มาร่วมจัดกิจกรรมคนรักการอ่านบนเครื่องบิน โดยจัดหนังสือให้คนสามารถยืม ไปอ่านได้ระหว่างอยู่บนเครื่อง

กิจกรรมส่งเสริมการอ่านแบบนี้ทั้งญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ต่างก็ทำมายาวนาน ระยะหลังเวียดนามก็เริ่มทำบ้าง ทั้งสาม ประเทศที่สามารถปฏิรูปพลิกฟื้นและพัฒนาประเทศได้อย่างรวดเร็ว ปัจจัยสำคัญอันหนึ่งก็เพราะคนของเขารัก การอ่านนั่นเอง ดังนั้นหากไทยเราอยากปฏิรูปประเทศให้ได้ก็ต้องเริ่มจากการปฏิรูปการอ่านให้สำเร็จเสียก่อน

คำถามปิดท้ายบทความที่อยากให้ลองตอบกันดู  อยากให้ลองเดาดูก่อนจะกลับหัวหนังสือดูเฉลยนะครับ หน่วยงานใดดูแลหอสมุดแห่งชาติของไทย?

ตอบ : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม

[smartslider3 slider="9"]