Home Mix Magazine - Perspective of AEC 2019-2018 PERSPECTIVE OF AEC – 4 ปีของไทยภายใต้ คสช.

PERSPECTIVE OF AEC – 4 ปีของไทยภายใต้ คสช.

0
557
[smartslider3 slider="7"]

วันที่ 22 พฤษภาคม 2561 ที่ผ่านมาเป็นวันครบรอบ 4 ปีของการยึดอำนาจการปกครองของคณะรักษาความสงบ แห่งชาติ (คสช.) ผมจึงขอประเมินการยึดอำนาจของคสช.ในรอบ 4 ปีว่าจะเป็นสับปะรดหรือจะเสียของหรือไม่? และเพื่อให้เป็นการประเมินที่ปราศจากอคติ ผมจึงจะใช้ดัชนีต่างๆซึ่งองค์กรระหว่างประเทศเป็นผู้จัดทำมาใช้เป็น เกณฑ์ในการประเมินครั้งนี้

เริ่มที่เรื่องแรกการคอรัปชั่นซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศมาโดยตลอด และเป็นหนึ่งในเหตุผลที่คสช.ใช้ตัดสิน ใจยึดอำนาจเมื่อ 4 ปีที่แล้ว องค์กรความโปร่งใสนานาชาติได้ให้คะแนนดัชนีภาพลักษณ์คอรัปชั่นประเทศไทย 38 คะแนน มีความโปร่งใสเป็นอันดับที่ 85 ของโลก เมื่อครบ 4 ปีของการยึดอำนาจคะแนนดัชนีฯของไทยเรากลับ ลดลงเหลือ 37 คะแนนโปร่งใสเป็นอันดับที่  96  แย่ลงทั้งคะแนนและอันดับ ใน AEC ไทยเรามีดัชนีฯเป็นอันดับ ที่ 4 ร่วมกับอินโดนีเซีย เป็นรองสิงคโปร์ บรูไนและมาเลเซีย ประเทศที่มีดัชนีฯดีขึ้นคือ อินโดนีเซีย เวียดนาม สปป.ลาวและเมียนมาร์ ส่วนที่แย่ลงก็คือมาเลเซียและฟิลิปปินส์

ขณะที่ประเทศไทยยังจมปลักอยู่กับปัญหาคอรัปชั่น กลับมีอยู่อย่างน้อย 11 ประเทศในโลกซึ่งเดิมเคยได้คะแนน ดัชนีฯน้อยกว่าประเทศไทย แต่ปัจจุบันประเทศเหล่านั้นกลับมีความโปร่งใสดีกว่าประเทศไทยไปแล้ว เช่น กรีซ เซเนกัล เบลารุส อินเดีย อาร์เจนตินา เบนิน โคโซโว แอลเบเนีย กายอานา ติมอร์ เลสเต แอลเบเนีย ประเทศซึ่งดู แล้วน่าจะคอรัปชั่นมากกว่าไทยยังสามารถแก้ปัญหาคอรัปชั่นกันได้แล้ว สะท้อนว่าขณะที่มีอำนาจเต็มในการ บริหารประเทศมาถึง 4 ปี คสช.ก็ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาเรื่องคอรัปชั่นให้ประชาชนได้เห็นอย่างเป็นรูปธรรม

เรื่องที่สองที่ผมอยากประเมินคือเรื่องเสรีภาพของสื่อมวลชน เพราะถ้ามีเสรีภาพมาก สื่อมวลชนก็ย่อมจะสามารถ ทำการแฉและขุดคุ้ยเรื่องคอรัปชั่นได้มากเช่นกัน ประเทศที่มีความโปร่งใสติดอันดับโลกเกือบทั้งหมดล้วนแต่ เป็นประเทศที่สื่อมวลชนมีเสรีภาพมากทั้งสิ้น ในปีที่คสช.ยึดอำนาจสื่อมวลชนไทยเรามีเสรีภาพเป็นอันดับที่ 130  ของโลก วันนี้อันดับดังกล่าวร่วงลงไปอยู่อันดับที่ 142  ซึ่งนั่นหมายถึง 4 ปีที่ผ่านมารัฐบาลคสช.ทำให้สื่อมวลชน ไทยมีเสรีภาพที่จะรายงานข่าวลดลง ซ้ำร้ายองค์กรนักข่าวไร้พรมแดนซึ่งผู้จัดอันดับเสรีภาพของสื่อมวลชนทั่ว โลกยังจัดอันดับให้พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาเป็น “ผู้นำที่ไล่ล่าเสรีภาพของสื่อ” เคียงข้างกับ คิม จองอึน ผู้นำ เกาหลีเหนือ สี จิ้นผิงผู้นำจีนและวลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย ส่วนผู้นำในอาเซียนที่ได้รับฉายานี้ก็คือลี เซียนลุง นายกฯสิงคโปร์และเหงียน พู้ ทจ๋อง เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ของเวียดนาม ใน AEC สื่อมวลชนไทยมี เสรีภาพเป็นอันดับที่ 5 เป็นรองอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เมียนมาร์และกัมพูชา ซึ่งในช่วง 4 ปีของคสช. สื่อมวลชน ในสี่ประเทศนี้มีเสรีภาพมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

เรื่องที่สามที่ผมสนใจคือเรื่องการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เพราะผมเตือนมาโดยตลอดในช่วง 6 – 7 ปีที่ผ่านมา ว่าระวังให้ดีเพราะไทยเรายังขาดยุทธศาสตร์ประเทศที่ถูกต้อง เศรษฐกิจไทยจะไม่สามารถเติบโตได้ ในปีที่คสช. เข้ายึดอำนาจนั้นเศรษฐกิจไทยขยายตัวเพียง 0.9 เปอร์เซ็นต์ แต่หลังจากนั้นเศรษฐกิจไทยก็ค่อยๆขยายตัวอย่างต่อ เนื่องพ.ศ. 2558  ขยายตัว 2.9  เปอร์เซ็นต์ พ.ศ. 2559 ขยายตัว 3.2  เปอร์เซ็นต์ พ.ศ. 2560 ขยายตัว 3.7 เปอร์เซ็นต์ และคาดการณ์ว่าปีหน้าพ.ศ. 2561 เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวเกิน 4 เปอร์เซ็นต์

แม้จะมีแนวโน้มดีขึ้น แต่อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจเฉลี่ยในช่วง 4 ปีของคสช.โตเพียง 2.7 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น เอง ยังห่างไกลจากอัตราการขยายตัวเฉลี่ย 4 ปีก่อนหน้าที่คสช.จะยึดอำนาจ ในช่วงปีพ.ศ. 2553 ถึงปีพ.ศ. 2556 ซึ่ง เศรษฐกิจไทยขยายตัวเฉลี่ยปีละ 4.6 เปอร์เซ็นต์ และยังต่ำกว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย ในรอบ 20 ปี ระหว่าง ปีพ.ศ. 2534 ถึงปีพ.ศ. 2553 ที่ผ่านมาซึ่งเศรษฐกิจไทยขยายตัวเฉลี่ยปีละ 4.5 เปอร์เซ็นต์ ที่น่ากังวลก็คือในขณะที่ ไทยเติบโตเฉลี่ยเพียง 2.7 เปอร์เซ็นต์ ประเทศเพื่อนบ้านใน AEC กลับเจริญเติบโตได้ดีในระดับ 5 ถึง 7 เปอร์เซ็นต์ กันเกือบทุกประเทศ เพราะฉะนั้นข้ออ้างที่ว่าเศรษฐกิจไทยไม่เติบโตเป็นเพราะเศรษฐกิจโลกไม่โตจึงฟังไม่ขึ้น

อีกเรื่องที่ต่างชาติให้ความสนใจคือ “ความง่ายในการเริ่มต้นทำธุรกิจ” เมื่อปลายปีพ.ศ. 2560 รัฐบาลคสช.ประกาศ ว่า “ความง่ายในการเริ่มต้นทำธุรกิจ” ของไทยปรับตัวดีขึ้นถึง 20 อันดับ พุ่งขึ้นจากอันดับที่ 46  มาอยู่อันดับที่ 26 ของโลก ซึ่งนั่นดูเหมือนจะเป็นข่าวดี แต่ความจริงก็คือไทยเรามี “ความง่ายในการเริ่มต้นทำธุรกิจ” อยู่ในอันดับต่ำ กว่าอันดับที่ 20 ของโลกมาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาอย่างน้อย 5 ปีก่อนคสช.จะยึดอำนาจ หลังจากนั้นความง่ายใน การเริ่มต้นทำธุรกิจของไทยก็ร่วงลงไปสู่อันดับที่ 49 และ 46 ในปีพ.ศ. 2559 และพ.ศ. 2560 แสดงว่าในช่วง 4 ปี ของรัฐบาล คสช. แม้จะมีอำนาจเต็มสามารถแก้ไขกฎระเบียบต่างๆที่เป็นอุปสรรคในการเริ่มต้นทำธุรกิจได้ง่าย และรวดเร็วกว่ารัฐบาลเลือกตั้ง แต่รัฐบาลคสช.ก็ยังไม่สามารถใช้อำนาจพิเศษดังกล่าวให้เกิดประโยชน์ขึ้นมาได้

เรื่องที่ห้าคือเรื่องความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ซึ่งวัดโดย World Economic Forum ในช่วง 4 ปีของ รัฐบาลคสช.ไทยเรามีความสามารถในการแข่งขันลดลงจากอันดับที่ 31 ของโลกไปอยู่อันดับที่ 32 ยังตามหลัง สิงคโปร์อันดับ 3 มาเลเซียอันดับ 23 ดูผิวเผินก็เหมือนว่าจะไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงมากนัก  แต่เมื่อเปรียบเทียบ ย้อนหลังไปถึงปีพ.ศ. 2550 – พ.ศ. 2551 ซึ่งไทยเคยมีความสามารถในการแข่งขันอยู่ในอันดับที่ 28 ของโลกแล้ว จะเห็นได้ว่ารัฐบาลคสช.ยังไม่สามารถที่จะยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศให้กลับไปเก่ง เหมือนเดิมได้

สอดคล้องกับดัชนีนวัตกรรมโลก ( Global Innovation Index)  ของไทย ในช่วง 4 ปีของคสช.ซึ่งลดลงจากอันดับที่ 48 ของโลกไปอยู่อันดับที่ 51 ตามหลังสิงคโปร์ มาเลเซียและเวียดนาม ซึ่งได้อันดับที่ 7  37 และ 47 ตามลำดับ เรื่องนวัตกรรมนี่เป็นเรื่องที่รัฐบาลไทยควรจะให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่งเพราะประเทศที่เจริญได้ทุกประเทศล้วนแต่ให้ความสำคัญกับเรื่องนวัตกรรมทั้งสิ้นเพราะโลกกำลังแข่งขันกันด้วยนวัตกรรม ในข่าวร้ายยังพอมีข่าวดีอยู่ บ้างเพราะความสามารถในการแข่งขัน ด้านดิจิทัลของไทย ( IMD World Digital Competiveness Ranking) ปรับตัวดีขึ้นจากอันดับที่ 44 มาอยู่อันดับที่ 41 ของโลก ดีกว่าฟิลิปปินส์อันดับที่ 46 และอินโดนีเซีย อันดับที่  59 แต่ยังตามหลังอันดับ 1 ของโลกเช่นสิงคโปร์และมาเลเซียซึ่งได้อันดับที่ 24

เรื่องที่หก เป็นเรื่องที่ไม่ค่อยมีใครพูดถึงเท่าไหร่ แต่ผมว่าเป็นเรื่องที่ควรให้ความสนใจ นั่นคือเรื่องการบังคับใช้ กฎหมาย ซึ่งการวัดการบังคับใช้กฎหมายในประเทศต่างๆทั่วโลกของ World Justice Project ชี้ให้เห็นว่าในปีพ.ศ. 2557 ปีแรกที่คสช.เข้ายึดอำนาจนั้นประเทศไทยสามารถบังคับใช้กฎหมายได้ดีเป็นอันดับที่  47 ของโลก หลังจาก นั้นการบังคับใช้กฎหมายในไทยกลับแย่ลง ร่วงลงไปสู่อันดับที่ 56 ในปีพ.ศ. 2558  และร่วงลงไปอีกสู่อันดับที่ 64 ในปีพ.ศ. 2559 ก่อนจะร่วงลงต่อเนื่องอีกไปสู่อันดับที่ 71 ในปีพ.ศ. 2560 จากทั้งหมด 113 ประเทศที่ถูกจัดอันดับ

เรื่องที่เจ็ด เป็นเรื่องที่คนไทยหลายคนให้ความสนใจนั่นคือเรื่อง “ความสุข”  ความสุขของคนไทยซึ่งวัดและ เปรียบเทียบกับความสุขของคนในประเทศต่างๆโดยองค์การสหประชาชาติ ในช่วงปีพ.ศ. 2555 ถึง 2557 ก่อนที่ คสช.จะยึดอำนาจ คนไทยมีความสุขเป็นอันดับที่ 34 ของโลก หลังจากนั้นคนไทยมีความสุขมากขึ้นเป็นอันดับที่ 33 และอันดับที่ 32 ของโลกในปีพ.ศ. 2558 และ 2559 สองปีแรกของการยึดอำนาจ ก่อนที่ความสุขของคนไทยจะ ลดลงอย่างฮวบฮาบลงไปอยู่อันดับที่ 46 ของโลกในปีพ.ศ. 2560 ปล่อยให้คนมาเลเซียซึ่งในช่วงปีพ.ศ. 2555 ถึง 2557 เคยมีความสุขน้อยกว่าคนไทยอย่างมากคือมีความสุขเป็นอันดับที่ 61 ของโลก กลับมีความสุขมากกว่าแซง ไทยไปอยู่ที่อันดับ 35 ได้สำเร็จ สรุปได้ว่าในช่วง 4 ปีของคสช.คนไทยเรามีความสุขลดลง คสช.ยังไม่สามารถที่ จะคืนความสุขให้คนไทยได้ตามคำสัญญา 4 ปีหลังการยึดอำนาจของคสช. การคอรัปชั่นก็ยังมีอยู่มาก กฎหมายยังไม่เป็นกฎหมาย สื่อมวลชนมีเสรีภาพลดลง ความสามารถในการแข่งขันของประเทศยังไม่ดีขึ้น อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจก็ยังต่ำอยู่มาก และคนไทย มีความสุขน้อยลง เป็นบทสรุปที่ไม่ค่อยจะสดใสเสียเลยสำหรับคนไทยภายใต้ 4 ปีของรัฐบาล คสช.

[smartslider3 slider="9"]

NO COMMENTS