Home Mix Magazine - Perspective of AEC 2017-2016 PERSPECTIVE OF AEC – PANAMA PAPERS

PERSPECTIVE OF AEC – PANAMA PAPERS

0
382
[smartslider3 slider="7"]

ทันทีที่ปานามาเปเปอร์หลุดออกมาสู่สายตาของโลก ประเทศทั้งหลายก็มีปฏิกริยาตอบสนองแตกต่างกันออกไป อย่างน่าสนใจนะครับ ถ้าเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วเกือบทั้งหมดจะเห็นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่โตและร้ายแรงมาก ส่วนกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนาก็จะออกมาบอกคล้ายๆกันว่าเรื่องนี้ต้องหาข้อเท็จจริง เสียก่อน อย่าเพิ่งรีบตัดสิน อะไร และในประเทศเผด็จการบางประเทศตัดบททันที บอกเรื่องพวกนี้ไร้สาระ เป็นการดิสเครดิตผู้นำของ

ขณะที่ในประเทศพัฒนาแล้ว คนระดับนายกรัฐมนตรีต้องลาออกภายในเวลาไม่กี่วันหลังจากชื่อของเขาปรากฎ อยู่ในปานามาเปเปอร์  นายกฯบางคนก็โดนซักฟอกในสภา ต้องหาทางแก้ตัวเป็นพัลวัน และผู้นำระดับโลกอีก หลายคนก็กำลังโดนโจมตี โดนขุดคุ้ยอย่างหนัก แต่ในประเทศไทยของเรา คนที่มีรายชื่ออยู่ในปานามาเปเปอร์ บางคนกลายเป็นทองไปแล้วอย่างไม่น่าเชื่อ เป็นทองนี่ไม่ได้แปลว่าเป็นคนดีขึ้นนะครับแต่เป็นทองเพราะ “ทองไม่รู้ร้อน” ไม่ปฏิเสธไม่ต้องแก้ข่าว

คนหลายคนซึ่งก็ล้วนแต่เป็นคนดีคนใหญ่คนโตในบ้านเมืองเราทั้งสิ้น คงจะคิดว่าฉันจะมีชื่ออยู่ที่ไหนจะไปลงทุน ทำอะไรที่ไหนอย่างไรก็เรื่องของฉัน ใครจะทำไม ผู้มีรายชื่อบางคนก็ ออกมาแก้ต่างว่าไม่รู้ว่าชื่อตัวเองไปอยู่ได้ อย่างไร  บางคนก็บอกว่าอ่านเอกสารกันดีหรือยัง เขาเขียนเอาไว้ด้วยนะ ว่าคนที่มีชื่อไม่ได้แปลว่าเขาทำอะไรผิด กฎหมาย แน่นอนล่ะครับจะมีเอกสารที่ไหนที่เขียนกันตรงๆโต้งๆว่า รายชื่อต่อไปนี้เป็นรายชื่อของคนทำผิด กฎหมาย ขนาดเอกสารเกี่ยวกับเงินกองทุน 1MDB  ของมาเลเซียที่วันนี้รู้กันทั้งโลกแล้วว่าน่าจะเป็นใครที่โกง ยังไม่มีเอกสารไหนกล้าเขียนชัดๆว่าใครทำ

ที่น่าเศร้าใจก็คือหน่วยงานของไทยสองสามหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการฟอกเงิน การเก็บภาษี ก็ออกมาบอกกับ สาธารณชนว่าขอเวลาตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อน อย่าเพิ่งรีบด่วนสรุปว่าใครทำอะไรผิด แต่สุ้มเสียงที่แถลงๆ กันนั้นผมว่าดูเกรงอกเกรงใจอย่างไรก็ไม่รู้ ไม่ค่อยมีความสง่างามเลย

ผมขออนุญาตขีดเส้นใต้ไว้ตรงนี้ก่อนนะครับเพื่อจะได้เข้าใจให้ตรงกันก่อนว่าที่ประเทศพัฒนาแล้วเขาเป็นเดือด เป็นแค้น ออกมาเดินชบวนขับไล่หรือซักฟอกคนที่มีรายชื่อในปานามาเปเปอร์นี่ ไม่ใช่เรื่องของ “การทำผิด กฎหมาย” นะครับเพราะคนพวกนี้เขาทำตามกฎหมายของหมู่เกาะเลี่ยงภาษีเหล่านั้นทุกอย่าง ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่อง ของการทำผิดกฎหมาย แต่ที่เขารับไม่ได้ก็เพราะเรื่องนี้นั้นเป็นเรื่องของ “การเลี่ยงกฎหมาย เลี่ยงภาษี” และ “การมีพฤติกรรมอำพราง” เพราะการไปตั้งบริษัทในบรรดาหมู่เกาะเลี่ยงภาษีเหล่านี้นั้นเท่ากับเป็นการปิดบังว่า บุคคลผู้นั้นเป็นเจ้าของบริษัทหรือทรัพย์สินอะไรบ้าง เพราะเมื่อไปตั้งบริษัทในหมู่เกาะเหล่านั้น พวกเขาไม่จำเป็น ต้องเปิดเผยตัวตน การไปลงทุนในหมู่เกาะเหล่านี้จึงเท่ากับเป็นการปิดบังว่า เขามีทรัพย์สินอะไรเท่าไหร่ และเมื่อ บริษัทเหล่านั้นไปลงทุนที่ประเทศไหนก็จะไม่มีใครรู้ว่าเป็นใครกันแน่ที่มาลงทุน แถมเมื่อมีกำไรก็ยังสามารถส่ง กลับไปยังบริษัทในหมู่เกาะเหล่านั้นเท่ากับเป็นการหลบเลี่ยงไม่ต้องเสียภาษีแพงๆในประเทศตัวเองได้อีกด้วย

คนในประเทศพัฒนาแล้วที่เขา “ถือ” เรื่อง “จริยธรรมและความเท่าเทียมกัน” เพราะเขาคิดว่าพฤติกรรมแบบนี้ เป็นสิ่งที่ “ไม่ถูกต้องและรับไม่ได้” เพราะมันสะท้อนถึง “จริยธรรมอันเลวร้าย” ของคนที่กระทำเช่นนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ถ้าบุคคลผู้นั้นเป็นบุคคลสาธารณะ เป็นผู้บริหารบ้านเมือง หรือเป็นผู้นำขององค์กรธุรกิจ เพราะคนในประเทศพัฒนาแล้วเขาถูกปลูกฝังความคิดมาตั้งแต่เด็กๆแล้วว่า “จริยธรรม” เป็นเรื่องสำคัญ เกิดมา เป็นคนไม่ว่าจะเป็นคนจนหรือคนรวยทุกคนต้องอยู่ภายใต้กฎกติกาเดียวกัน คนรวยกว่าหรือชนชั้นสูงกว่าไม่มี สิทธิที่จะทำอะไรมากกว่าหรือภายใต้กติกาพิเศษที่คนฐานะต่ำกว่าไม่มีสิทธิทำ

เรื่องปานามาเปเปอร์สำหรับสำหรับคนไทยแล้ว ผมเชื่อว่าคนชั้นกลางและคนชั้นล่างส่วนมากก็รู้สึก “รับไม่ได้” กับพฤติกรรมแบบนี้แต่ก็คงไม่รู้จะทำอย่างไร เพราะนี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่เราเห็นชนชั้นนำมีพฤติกรรมเอาเปรียบ หรือไม่โปร่งใสเช่นนี้ ส่วนชนชั้นสูงที่เขาสนิทกัน อบรมคอร์สพิเศษด้วยกัน หรือลงทุนทำธุรกิจด้วยกันก็คงคิด คล้ายๆกันว่าไม่เห็นจะแปลก เป็นเรื่องธรรมดาทางธุรกิจแท้ๆใครๆเขาก็ทำกันไม่เห็นจะมีอะไรผิดตรงไหน

ลองดู สิครับในปานามาเปเปอร์มีรายชื่อผู้นำภาคธุรกิจอยู่หลายคนหลายตระกูล แล้วเราได้เห็นพวกที่ออกมา ยกมือไขว้ เป็นเครื่องหมายกากบาทต่อต้านคอร์รัปชั่นคนไหนออกมาเรียกร้องผู้นำภาคธุรกิจที่มีรายชื่อให้เปิดเผย ข้อมูลการลงทุนการเลี่ยงภาษีบ้างหรือไม่ หรือยังเงียบๆเฉยๆเจอหน้าก็ยังยกมือไหว้กันแบบเคารพนับถือกันต่อไป เหมือนเดิม เหมือนไม่เกิดอะไรขึ้น

การที่ผู้บริหารผู้นำองค์กรธุรกิจและชนชั้นสูงของไทยเรามีจริยธรรมต่ำกว่าชนชั้นอื่นๆในสังคม และชอบทำอะไร บนกติกาที่ได้เปรียบชนชั้นที่ด้อยกว่า เป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ประเทศไทยเราปราบคอร์รัปชั่นไม่สำเร็จเสียที ก็ลองดูสิครับ คนที่มีส่วนโกงบ้านโกงเมืองกินกันคำโตๆที่ผ่านๆมาก็ล้วนแต่เป็นนักการเมืองตัวใหญ่ ร่วมมือกับ ข้าราชการตัวเป้งและนักธุรกิจตัวใหญ่ๆทั้งนั้น พวกนี้ล้วนแต่เป็นชนชั้นสูงในสังคมไทย ส่วนคนที่เป็นผู้นำใน การรณรงค์และปราบปรามคอร์รัปชั่นไม่ว่าจะเป็นองค์กรอิสระหรือภาคประชาชนก็ล้วนแต่เป็นคนที่เรา “หลงคิด” ว่าเป็นคนดีคนเก่งทั้งสิ้น แต่เคยคิดกันบ้างมั้ยครับว่าทำไมคนเหล่านี้เขาถึงปราบคอร์รัปชั่นไม่ได้ซักที

ผมคิดว่าที่ชนชั้นสูงปราบคอร์รัปชั่นที่คนชั้นเดียวกับเขาร่วมกันกระทำไม่ได้ก็เพราะพวกเขามี “จริยธรรม” ระดับเดียวกัน คิดคล้ายๆกัน การกระทำที่ชาวบ้านมองเห็นว่า “โกง” หรือ “ไม่ถูกต้อง” พวกเขาอาจจะมองว่า “ไม่โกง” หรือ “ถูกต้องแล้ว” คะแนนความโปร่งใสที่องค์กรความโปร่งใสนานาชาติวัด และให้คะแนน ที่ไทยเรา ได้รับมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 ที่ไทยเราได้สูงสุดไม่เคยเกิน 38 คะแนนจากคะแนนเต็ม 100 คะแนนนั้นคงเป็น หลักฐานอย่างดีว่าไทยเราล้มเหลวในการปราบคอร์รัปชั่นมาโดยตลอด

ถึงเวลาหรือยังครับที่เราจะไม่ยอมให้การปราบคอร์รัปชั่นอยู่ในมือของคนชนชั้นสูงเพียงกลุ่มเดียวเหมือนในอดีต ถึงเวลาหรือยังครับที่เราจะต้องเรียกร้องให้การปราบปรามคอร์รัปชั่นนั้นต้องให้ความสำคัญที่ “ระบบ” และ “ยุทธศาสตร์” แทนการที่เราจะไปฝากให้คนที่เรา “หลงคิดว่าเป็นคนดี” มาปราบคอร์รัปชั่น เราต้องเลิกหวังกับคนเหล่านั้นกันได้แล้ว ขนาดปานามาเปเปอร์ที่เขย่าโลกทั้งใบจนสะเทือนไปหมด พอมาถึงเมืองไทยก็เป็นได้แค่กระดาษหรือ “เปเปอร์” ซึ่งคนไทยเราไม่นิยมแต่เราชื่นชม “กระเบื้องอย่างหนา”

หลายประเทศที่ปราบคอร์รัปชั่นได้สำเร็จเขาพึ่ง “ระบบ” ในการปราบคอร์รัปชั่น ทั้งระบบวิธีคิดและระบบ ไอทีเข้ามาประสานกันเพื่อให้คนทุกภาคส่วนเข้าถึงข้อมูลให้ได้ดีที่สุดและง่ายที่สุด และเมื่อรวมเข้ากับ “ยุทธศาสตร์” ที่ดี คอร์รัปชั่นจึงโดนปราบและปรามลงไปได้ เดือนหน้าจะขออนุญาตเขียนเรื่องนี้ ให้อ่านกันต่อนะครับ เรื่องมันยาว

[smartslider3 slider="9"]

NO COMMENTS