สองอาทิตย์ที่แล้วผมได้เก็บตกการเดินทางไปซัวเถากับอ.วินัย กุลกอบเกียรติ แห่งวิหารเซียน พัทยา อาทิตย์นี้ผมจะเขียน ถึงสุสานพระเจ้าตากในเมืองจีนให้อ่านต่อ
เจ้าสัวใหญ่มากที่สุดของเมืองไทยคนหนึ่งมีรากเหง้าอยู่ที่เมืองเถ่งไห้ มณฑลกวางตุ้ง จึงคิดกลับมาลงทุนในจีนและในบ้าน เกิดบรรพบุรุษ เมื่อมีการลงทุนก็ต้องทำเรื่องฮวงจุ้ยให้ดี จึงได้เชิญเซียนสง่า กุลกอบเกียรติแห่งวิหารเซียนมาช่วย กิจการก็ เจริญก้าวหน้าไปตามลำดับ วันหนึ่งในรายการโทรทัศน์ของรัฐบาลจีน ได้มีการนำเสนอสารคดีว่าในเมืองเถ่งไห้นี้มีสุสาน พระเจ้าตากซึ่งเป็นลูกหลาน คนจีนที่ได้ไปเป็นกษัตริย์ในเมืองไทย ซึ่งเป็นเรื่องที่คนไทยไม่เคยรู้มาก่อน การสืบหาสุสาน พระเจ้าตากจึงได้เริ่มต้นขึ้น
เมื่อคณะคนไทยไปพบสุสานพระเจ้าตากซึ่งคนในเมืองเถ่งไห้สร้างเอาไว้ให้ ด้วยความเคารพนับถือและภาคภูมิใจ แต่เนื่อง จากในสมัยนั้นคนในหมู่บ้านนั้นยังมีฐานะไม่ใคร่ดีนัก สุสานพระเจ้าตากจึงอยู่ในสภาพทรุดโทรมไม่ใคร่น่าดูนัก คณะคน ไทยนำโดยผู้หลักผู้ใหญ่หลายท่านที่เคารพนับถือเซียนสง่าและซินแสวินัย จึงได้ร่วมแรงร่วมใจร่วมทุนกัน ปรับปรุงและ พัฒนาสุสานพระเจ้าตากจนงดงาม สมพระเกียรติอย่างยิ่ง
ผมมีโอกาสได้ร่วมคณะไปกับซินแสวินัย เมื่อนั่งรถออกไปจากเมืองซัวเถาสัก 40 นาทีเพียงเห็นด้านหน้าของสุสานซึ่งเป็นที่บรรจบกันของแม่น้ำสามสายและเกิดวังน้ำวนตรงด้านหน้าและได้ยินซินแสวินัยอธิบายว่าที่อย่างนี้มีพลังสูงมากหากเป็นสุสานของคนธรรมดาจะไม่สามารถรับพลังอย่างนี้ได้ ต้องบอกว่าผมเริ่มขนลุก เมื่อเข้าไปถึงบริเวณสุสานซึ่งใหญ่โต สวยงามสมพระเกียรตินั้นก็ยิ่งขนลุกเพราะไม่ได้มีแต่คณะของเราที่มาสักการะ แต่มีคณะคนไทยที่เริ่มได้ข่าว และคณะ คนจีนมาสักการะกันอย่างต่อเนื่อง
เมื่อแรกไปพบสุสานพระเจ้าตากนั้น บริเวณสุสานมีเพียงสุสานที่ทรุดโทรม เมื่อบูรณะปรับปรุงสุสานให้สง่างามแล้ว คณะ จึงลงทุนปรับปรุงบริเวณรอบๆ รวมถึงสร้างพระบรมรูปปั้นสมเด็จพระเจ้าตากสินไว้ด้านหลังเพื่อให้สมพระเกียรติ ซึ่งถ้า ใครมีโอกาสได้เห็นรูปภาพเก่าๆสมัยยังไม่พัฒนากับสภาพตอนที่เสร็จสมบูรณ์แล้ว จะต้องทึ่งในจิตศรัทธาของคณะผู้ บุกเบิกยิ่งนัก
นอกจากสุสานพระเจ้าตากฯแล้ว คณะนี้ยังได้ไปลงทุนบูรณะบ้านซึ่งพระเจ้าตากเคยประทับ ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากสุสานเท่าไหร่ แต่ต้องเดินเข้าไปในหมู่บ้านซึ่งยังมีผู้คนอาศัยอยู่และต้องมีเจ้าหน้าที่พาไป มิเช่นนั้นจะไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าไป เมื่อเข้าไปถึงบ้านดังกล่าวก็จะเห็นแท่นบูชาบรรพบุรุษแซ่แต้ซึ่งเป็นต้นตระกูลของพระเจ้าตาก และพระบรมรูปของ พระเจ้าตากด้วย ผมมีโอกาสไปกราบมาแล้วรู้สึกเป็นบุญยิ่งนัก
การสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าตากนั้นในประวัติศาสตร์มีความเชื่ออยู่สองแนวทาง คือสิ้นพระชนม์ในเมืองไทยกับมาสิ้นพระชนม์ในเมืองจีน หากสิ้นพระชนม์จริงในเมืองจีนสุสานนี้ก็ย่อมจะเป็นสุสานของพระองค์ท่านโดยแท้จริง แต่หากสิ้นพระชนม์ในเมืองไทยแต่ในสุสานได้มีการบรรจุเครื่องทรงของท่านเอาไว้ครบถ้วน ธรรมเนียมจีนก็ถือว่าเป็นสุสานที่แท้จริงเช่นกัน หากท่านเคารพศรัทธาพระเจ้าตาก ควรหาโอกาสมาสักการะสุสานพระเจ้าตากในเถ่งไห้ สักครั้งหนึ่งในชีวิต
การเดินไปครั้งนี้ของคณะผู้บุกเบิกก็เพื่อจะไปเจรจากับหมู่บ้านขอซื้อพื้นที่ด้านหน้าสุสานซึ่งขณะนี้ยังเป็นพื้นที่เกษตรของชาวบ้านแถวนั้น เหตุที่ต้องไปเจรจาขอซื้อที่ดังกล่าวก็เพราะทางด่วนและความเจริญกำลังมุ่งหน้ามายังบริเวณนี้ คณะผู้มีจิต ศรัทธาก็เลยเกรงว่าถ้าเราไม่ซื้อที่เอาไว้ อาจจะมีเอกชนจีนมาซื้อและสร้างอาคารพาณิชย์ซึ่งจะบดบังความสง่างามของ สุสานพระเจ้าตากไปจนหมดสิ้น ถ้ามีความคืบหน้าเรื่องการระดมทุนครั้งนี้ ผมจะมาแจ้งรายละเอียดให้ทราบอีกครั้ง