PERSPECTIVE OF AEC – ทิศทางเศรษฐกิจ AEC

0
540

บรูไนซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจ 371,000 ล้านบาทใหญ่เป็นอันดับที่ 134 ของโลก ในปี 2559 ที่ผ่านไปเศรษฐกิจกลับมาเติบ โตได้ 1 เปอร์เซ็นต์หลังจากที่ในช่วง 2554 ถึง 2558 เศรษฐกิจหดตัวเฉลี่ยปีละ 0.2  เปอร์เซ็นต์ ส่วนปีนี้คาดว่าจะโต ต่อเนื่องอีกราว 2.5 เปอร์เซ็นต์ ค่าเฉลี่ยการเจริญเติบโตในช่วงปี 2559 ถึง 2563 ของบรูไนคาดว่าจะอยู่ที่ 1.8 เปอร์เซ็นต์

ส่วนสิงคโปร์ที่ในช่วงปี 2554 ถึง 2558 เติบโตเฉลี่ย 3.5  เปอร์เซ็นต์ซึ่งต้องถือว่าดีสำหรับประเทศพัฒนาแล้วเช่นสิงคโปร์ แต่ในปีที่แล้วกลับทำได้ไม่ค่อยดีนักคือเติบโตได้แค่ 1.8 เปอร์เซ็นต์ส่วนปีนี้น่าจะโตได้ราว 2.0 เปอร์เซ็นต์ ส่วนค่าเฉลี่ย การเติบโตในช่วงปี 2559 ถึง 2563 คาดว่าจะอยู่ที่ 2.6 เปอร์เซ็นต์ต่ำกว่ามาตรฐานที่เคยทำเอาไว้ในอดีต

อินโดนีเซียประเทศที่มีคนมากถึง 263  ล้านคนเศษเยอะที่สุดใน AEC และมากเป็นอันดับ 4 ของโลกตามหลังจีน อินเดีย และสหรัฐ นั้นปี 2559 เติบโตได้แค่ 5.0 เปอร์เซ็นต์ลดลงจากช่วงปี 2554 ถึง 2558 ซึ่งเศรษฐกิจเติบโตเฉลี่ยค่อนข้างดีที่ 5.7 เปอร์เซ็นต์ ส่วนปีนี้คาดว่าอินโดนีเซียจะโตต่อเนื่องในอัตราใกล้เคียงปีที่แล้วที่ 5.1 เปอร์เซ็นต์และคาดว่าในช่วงปี 2559 ถึง 2563 อินโดนีเซียจะเติบโตเฉลี่ยราว 5.5 เปอร์เซ็นต์

มาเลเซียซึ่งในช่วง 2554 ถึง 2558 เติบโตเฉลี่ย 5.2 เปอร์เซ็นต์สูงเป็น 2 เท่าของเมืองไทยพอดีในช่วงเดียวกัน พอมาถึงปี 2559 ซึ่งการเมืองวุ่นวาย ราคาน้ำมันตกเศรษฐกิจมาเลเซียเลยโตได้แค่ 4.1 เปอร์เซ็นต์และคาดว่าจะโตได้แค่ 4.4 เปอร์เซ็นต์ ในปีนี้ การเติบโตโดยเฉลี่ยในช่วงปี 2559 ถึง 2563 คาดว่าจะอยู่ที่ 5.0 เปอร์เซ็นต์

ฟิลิปปินส์ซึ่งเคยเป็นคนป่วยของเอเชียนั้นฟื้นไข้กลับมาเติบโตเฉลี่ยได้สูงถึง 5.9  เปอร์เซ็นต์ในช่วงปี  2554 ถึง 2558 สูงที่ สุดใน AEC ที่ไม่ใช่กลุ่ม CLMV ปีที่แล้วฟิลิปปินส์ก็ยังเติบโตต่อเนื่องได้สูงถึง 6.4 เปอร์เซ็นต์และจะเติบโตต่อเนื่องอีก ราว 6.2 เปอร์เซ็นต์ในปีนี้ แต่อาจจะแผ่วลงไปบ้างในช่วงต่อไปจนทำให้คาดว่าในช่วง 2559 ถึง 2563 เศรษฐกิจฟิลิปปินส์ จะโตเฉลี่ยราวๆ 5.7 เปอร์เซ็นต์

สปป.ลาว ซึ่งในช่วงปี 2554 ถึง 2558 เศรษฐกิจเติบโตได้สูงสุดในกลุ่มที่อัตราเฉลี่ย 7.7 เปอร์เซ็นต์ และแม้ว่า ในช่วง  2559 จนถึง 2563 เศรษฐกิจสปป.ลาวจะชะลอการเติบโตลงเหลือ 7.3 เปอร์เซ็นต์แต่ก็ยังจะเป็นการเติบโตที่สูงมาก และสูงเป็นที่ สองของเออีซี เติบโตพอๆกับกัมพูชาแต่เป็นรองเมียนมา ทำเอาหลายคนที่เคยมองว่าจุดอ่อนของสปป. ลาวที่มีขนาดตลาด เล็กเพราะมีประชากรน้อยเพียง  7 ล้านคนต้องหันกลับมามองใหม่ ที่เศรษฐกิจสปป.ลาวเติบโตได้ต่อ เนื่องนั้นเป็นเพราะ รัฐบาลมีแนวทางชัดเจนในการขับเคลื่อนประเทศไม่ว่าการจะเป็นแบตเตอรี่ของเอเชีย การใช้เขต เศรษฐกิจพิเศษซึ่งทำได้ดี และแซงหน้าไทยไปแล้ว คาดกันว่าภายในปี  2563 สปป.ลาวน่าจะหลุดพ้นจากความเป็นประเทศ ยากจน

แต่ที่น่าสนใจก็คือแม้ว่าประเทศนี้จะบริหารด้วยพรรคประชาชนปฎิวัติลาวซึ่งเป็นองค์กรที่มีอำนาจสูงสุดเบ็ดเสร็จเด็ดขาดในรูปแบบของพรรคคอมมิวนิสต์ แต่เมื่อถึงเรื่องทุจริตคอร์รัปชั่นแล้วพรรคประชาชนปฎิวัติ ลาวกลับไม่ปล่อยให้ผู้ บริหารประเทศที่คอร์รัปชั่นรอดไปได้ ทั้งๆที่ไม่มีใครกล้าขุดคุ้ย การเปลี่ยนตัวนายกฯครั้งล่าสุดเป็นการลงดาบของพรรคฯ ที่คนสปป.ลาวต่างส่งเสียงชื่นชม ที่น่าสนใจก็คือเขา ไม่ได้ลงดาบเฉพาะตัวอดีตนายกฯแต่ลงดาบรัฐมนตรีมือสกปรกอีก บางคน แถมยังไล่ล่าวงศาคณาญาติคนพวกนี้ที่มีส่วนร่วมในการโกงกินอีกด้วย ส่งผลให้คะแนนภาพลักษณ์คอร์รัปชั่นของ ประเทศเพิ่มขึ้นอีก 5 คะแนนเป็น 30 คะแนนและอันดับดีขึ้นถึง 16 ตำแหน่งเป็นอันดับที่  123

PERSPECTIVE OF AEC - ทิศทางเศรษฐกิจ AEC

เหตุการณ์แบบเดียวกันก็เกิดขึ้นในเวียดนามประเทศที่ปกครองด้วยพรรคคอมมิวนิสต์ซึ่งมีความใกล้ชิดกับพรรคประชาชนปฎิวัติลาวและพรรคคอมมิวนิสต์จีน เพราะการเปลี่ยนตัวนายกฯครั้งล่าสุดก็ด้วยเหตุผลของการคอร์รัปชั่นนั่นเอง ปรับ เปลี่ยนออกไม่พอยังตามไล่ล่าพรรคพวกที่มาร่วมโกงด้วยเหมือนๆกับที่ สปป.ลาวทำ คะแนนภาพลักษณ์คอร์รัปชั่นของ เวียดนามก็เลยขยับเพิ่มขึ้นอีก 2  คะแนนมาอยู่ที่ 33 คะแนนตามหลังไทยเพียง 2 คะแนนเท่านั้นเอง ส่วนด้านเศรษฐกิจนั้น แม้ว่าในช่วง 5  ปีที่ผ่านมาในช่วง 2554 ถึง 2558 เวียดนามจะโตเฉลี่ยแค่ 5.8 เปอร์เซ็นต์ แต่ในระยะ 5 ปีข้างหน้าคาดว่า เวียดนามจะโตต่อเนื่องได้ดีขึ้นที่อัตราเฉลี่ย 6 เปอร์เซ็นต์ โดยเฉพาะในปีนี้คาดกันว่าเวียดนามน่าจะโต ได้ราวๆ  6.3  เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว การมียุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศที่ชัดเจน การส่งเสริมการลงทุนที่ชาญฉลาดที่ เลือกเฉพาะ อุตสาหกรรมไฮเทคที่โลกต้องการ และอุตสาหกรรมสีเขียว ความสำเร็จของการปฎิรูปการศึกษาที่ทำให้เด็ก เวียดนาม ฉลาดติดท็อปเทนของโลก รวมถึงขนาดของตลาดที่มีประชากร  95 ล้านคน ทำให้เวียดนามเจริญไล่ตามไทยเรามาได้ติดๆ

ทั้งสปป.ลาวและเวียดนามยังปกครองด้วยพรรคคอมมิวนิสต์เหมือนๆกับจีน ทำให้พรรคคอมมิวนิสต์ทั้งสามประเทศมี การประสานงานกันอย่างแนบแน่น เท่ากับว่าสองประเทศนี้มีจีนซึ่งมีพลังมากมายมหาศาลเป็นพี่เลี้ยงใหญ่ช่วยเอาเงินมา ลงทุนและช่วยคัดท้ายหางเสือประเทศอย่างน่าสนใจ

กัมพูชาซึ่งในช่วงปี 2554 ถึง 2558 นั้นเติบโตเฉลี่ยสูงเป็นอันดับ 3 ของเออีซีโดยเติบโตเฉลี่ย 7.2  เปอร์เซ็นต์ และในปีที่ ผ่านมาก็ยังเติบโตได้ต่อเนื่องที่ 7.0  เปอร์เซ็นต์และปีนี้คาดว่าจะโตต่อเนื่องอีกที่ราวๆ 7.1 เปอร์เซ็นต์ คาดว่าในช่วงปี 2559 ถึง 2563 กัมพูชาจะเติบโตต่อเนื่องเฉลี่ยที่ 7.3  เปอร์เซ็นต์ ซึ่งนั่นหมายความว่าในช่วงสามปีท้ายช่วง 2561 ถึง 2563 กัมพูชา จะเติบโตเฉลี่ยมากกว่า  7.3 เปอร์เซ็นต์ ผมซึ่งเดินทางไปกัมพูชาปีละหลายครั้งยังต้องยอมรับเลยว่าทุกครั้งที่ไปจะเห็นการ เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นตลอดเวลา

ความเสี่ยงของกัมพูชาคือการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2561 เพราะทุกครั้งที่มีการเลือกตั้ง ความร้อนแรงของการเมืองก็จะพุ่งสูง ขึ้นอย่างมาก แม้หลายฝ่ายจะคาดว่านายกฯ ฮุนเซ็นคงจะคว้าชัยชนะและได้เป็นนายกฯต่ออีกหนึ่งสมัยสร้างสถิติการเป็น นายกฯที่ยาวนานที่สุดในโลกต่อไปอีก ซึ่งต้องจับตาดูว่าการเลือกตั้งครั้งนี้จะสร้างความวุ่นวายจนส่งผลกระทบต่อการ เติบ โตทางเศรษฐกิจหรือไม่? ส่วนเรื่องที่เป็นจุดด้อยที่สุดของประเทศก็คือการคอร์รัปชั่นนั้นสถานการณ์ยังไม่ค่อยดีนัก เพราะคะแนนดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชั่นของ กัมพูชานั้นสองปีที่ผ่านมาได้เท่าเดิมคือได้เพียง 21 คะแนนต่ำที่สุดในเออีซี และอยู่ในกลุ่มท้ายๆของโลกเลยทีเดียว

เมียนมาซึ่งในช่วงปี  2554 ถึง 2558 เติบโตเฉลี่ยสูงเป็นอันดับ 2 ของเออีซีที่ 7.3  เปอร์เซ็นต์นั้นก็ว่าทำได้ดียอดเยี่ยม อยู่แล้ว แต่ในช่วงปี 2559 จนถึงปี 2563 นั้นเศรษฐกิจเมียนมาจะเติบโตต่อเนื่องดียิ่งขึ้นไปอีกจนทะลุไปอยู่ที่ระดับ 8.3 เปอร์เซ็นต์สูงสุดในเออีซีและสูงติดอันดับโลกเลยทีเดียว ทั้งนี้ต้องขอบคุณอดีตประธานาธิบดี อูเต็งเส่ง ที่วางรากฐาน เศรษฐกิจไว้ให้อย่างดี รวมถึงการวางรากฐานประชาธิปไตยส่งไม้ต่อไปยังด่อว์อองซานซูจิประธานาธิบดีตัวจริงได้เป็น อย่างดีเซอร์ไพรส์คนทั้งโลก ดังนั้นเมียนมาที่มีทรัพยากร ธรรมชาติมากมายรวมถึงก๊าซธรรมชาติและจำนวนประชากร ที่มีอยู่เกือบ 55 ล้านคนจึงดึงดูดให้นักลงทุนต่างชาติหลั่งไหลมาลงทุนในเมียนมาจนทำให้เศรษฐกิจเติบโตต่อเนื่อง ได้อย่างโดดเด่น

อีกเรื่องที่น่าจับตาก็คือจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามาเที่ยวเมียนมานั้นเติบโตขึ้นมากที่สุดในภูมิภาค ในปี  2555 เมียนมามีนักท่องเที่ยวต่างชาติไปเที่ยวเพียง 1 ล้าน 1 แสนคนน้อยกว่าสปป.ลาวและกัมพูชาที่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติ สามล้านต้นๆและสามล้านกลางๆตามลำดับ แต่พอมาถึงปี  2559 เมียนมากลับแซวหน้ากัมพูชาซึ่งมีนักท่องเที่ยวต่างชาติ 4 ล้าน 4 แสนคนคนและสปป.ลาวที่มีนักท่องเที่ยวราว 5 ล้านคนไปแล้วด้วยจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติราว  6 ล้านคน

จุดอ่อนของเมียนมาที่เด่นชัดที่สุดก็คือการขาดความชัดเจนของนโยบายเศรษฐกิจ  การบริหารประเทศแบบรวมศูนย์ อำนาจเอาไว้ที่ด่อว์อองซานซูจิซึ่งการตัดสินใจแทบจะทุกเรื่องต้องให้เธอเป็นคนเคาะเพียงคนเดียว ทำให้งานทั้งหลาย รวมถึงนโยบายด้านเศรษฐกิจจึงไปกระจุกเป็นคอขวดที่เธอ ทำให้ยังไม่มีอะไรที่ชัดเจนออกมาจนกระทั่งบัดนี้ ความไม่ชัดเจนด้านนโยบายเศรษฐกิจนี้ทำให้ตัวเลขการลงทุนจากต่างชาติในเมียนมาชะลอตัวลงอย่างชัดเจนในปี 2559 ซึ่งถ้าหากยังไม่สามารถแก้ปัญหาการรวมศูนย์อำนาจนี้ให้ได้ เมียนมาอาจจะเติบโตน้อยลงกว่าที่หลายฝ่าย คาดการณ์เอาไว้ ทั้ง 9 ประเทศที่เขียนถึงไปแล้วนั้นน่าจะรอดและไปได้ดีในปีนี้ มีเพียงประเทศเดียวซึ่งไม่ได้เขียนถึงที่น่าเป็นห่วง

[smartslider3 slider="9"]